รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่าง (Lower motor neuron lesion) | |
---|---|
เซลล์ประสาทสั่งการล่างมีสีแดง |
รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่าง (อังกฤษ: lower motor neuron lesion) เป็นรอยโรคที่มีผลต่อใยประสาทที่ส่งไปจากเซลล์ประสาทสั่งการล่างที่ปีกหน้า (anterior horn, anterior grey column) ของไขสันหลัง หรือที่นิวเคลียสประสาทสั่งการ (motor nuclei) ของประสาทสมองไปยังกล้ามเนื้อ[1] อาการหลักอย่างหนึ่งที่ใช้ระบุโรคนี้ก็คือ อัมพาตอ่อนเปียก (flaccid paralysis) เป็นอัมพาตที่เกิดพร้อมกับกล้ามเนื้อที่ปวกเปียก (คือไม่รักษาความตึง) นี้เทียบกับรอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron lesion) ซึ่งบ่อยครั้งมีอาการเป็นอัมพาตหดเกร็ง (spastic paralysis) คือ อัมพาตที่เกิดพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมาก (hypertonia)
รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้าของกล้ามเนื้อยืดไม่ทำการ กล้ามเนื้ออัมพฤกษ์/อัมพาต ตึงตัวน้อยหรือไม่ตึงตัว และรีเฟล็กซ์น้อยเกินหรือไม่มี ปกติจะเกิดทันทีหลังจากบาดเจ็บ กล้ามเนื้อฝ่อ กล้ามเนื้อกระตุก และกล้ามเนื้อระริก เป็นอาการในระยะสุดท้ายของกล้ามเนื้อซึ่งเสียเส้นประสาทที่ส่งไปเลี้ยง จึงเห็นเป็นระยะนานกว่า ลักษณะอีกอย่างก็คือการจำกัดอาการที่เฉพาะระดับไขสันหลัง คือเฉพาะกล้ามเนื้อที่ได้เส้นประสาทอันเสียหายจะเกิดอาการ
เหตุสามัญที่สุดของความเสียหายที่เซลล์ประสาทสั่งการล่างก็คือประสาทส่วนปลายได้รับบาดเจ็บ หรือติดเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์ประสาทในปีกหน้าของไขสันหลังโดยเฉพาะ ๆ กล้ามเนื้อจะฝ่อเพราะไม่ได้ใช้การ คือเส้นใยกล้ามเนื้อจะหดแล้วในที่สุดก็จะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อเส้นใย เหตุอื่น ๆ รวมทั้งกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร, แบคทีเรียที่ก่อโรคโบทูลิซึมคือ Clostridium botulinum, โรคโปลิโอ และ cauda equina syndrome เหตุสามัญอีกอย่างสำหรับการเสื่อมเซลล์ประสาทสั่งการล่างก็คือ อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส
การจำแนกโรค |
---|