ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือกเพิ่ม

ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือกเพิ่ม (อังกฤษ: Alternative vote plus, ย่อ: AV+) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือกแบบเพิ่ม (อังกฤษ: Alternative vote top-up) คือระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน ซึ่งได้รับการคิดค้นโดยคณะกรรมาธิการเจนกินส์ของสหราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1998 เพื่อใช้เป็นตัวเลือกของระบบการลงคะแนนสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักร[1]

ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือกเพิ่ม (AV+) นำคุณลักษณะของระบบสมาชิกเพิ่มเติม (AMS) แต่เพิ่มเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็น "ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก" และส่วน "สมาชิกเพิ่มเติม" เข้าด้วยกัน โดยในระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก (AV) ผู้สมัครจะถูกจัดลำดับเป็นตัวเลขตามลำดับความชอบ โดยความแตกต่างคือส่วนของสมาชิกเพิ่มที่จะได้รับเลือกผ่านบัญชีรายชื่อของท้องถิ่นเพื่อที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นสัดส่วนของผลลัพธ์ ซึ่งในการเสนอแผนนี้คิดจำนวนของสมาชิกประเภทบัญชีรายชื่อไว้ที่ร้อยละ 15-20 ของสมาชิกทั้งหมด นอกจากนี้ผู้ลงคะแนนแต่ละคนจะได้รับคะแนนเสียงที่สองสำหรับลงคะแนนเพื่อเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่น/เคาน์ตี/ภูมิภาคจากบัญชีรายชื่อซึ่งสามารถมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนต่อพรรคได้ โดยจำนวนคะแนนเสียงจากการลงคะแนนนี้จะเป็นตัวตัดสินถึงจำนวนผู้แทนจากท้องถิ่น/เคาน์ตี/ภูมิภาคนั้นในรัฐสภา ในระบบที่ใช้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในส่วนของจำนวนที่นั่งท้องถิ่นนี้ คะแนนเสียงสามารถถ่ายโอนตามลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนจนกว่าคะแนนเสียงของพรรคการเมืองนั้นจะถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ

ข้อได้เปรียบ

[แก้]
  • จะต้องมีการปรับปรุงระบบที่ใช้อยู่เพียงเล็กน้อย และสามารถคงไว้ซึ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนคนเดียวได้
  • ผลลัพธ์จะมีความเป็นสัดส่วนมากขึ้นกว่าระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FTFP) หรือระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก (AV) แต่ยังคงให้เหลือข้อได้เปรียบสำหรับพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด และยังยอมให้มีการปกครองโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวในกรณีที่มีผลการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย
  • ลดปัญหาเสียงแตก (Split voting) และการใช้กลยุทธิ์ในการลงคะแนน
  • สนับสนุนการมีรัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งจะมีผลดีด้านความหลากหลายจากหลายกลุ่มความคิดและนโยบาย
  • ลดปัญหาด้านการสงวนที่นั่ง (Safe seats) ซึ่งทำให้สมาชิกรัฐสภาเป็นของบุคคลเดียวตลอดชีวิต
  • สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อยร้อยละ 50 ในเขตเลือกตั้ง จึงทำให้ผู้สมัครจะต้องทำงานเชิงนโยบายและหาเสียงอย่างหนักเพื่อที่จะชนะใจประชากรในเขตเลือกตั้งของตนเกินครึ่งหนึ่ง
  • จำกัดโอกาสที่ฝ่ายนโยบายสุดโต่งจะเข้ามามีตัวแทนในสภาได้ โดยระบบ AV+ นี้ปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงน้อยเข้ามามีส่วนร่วมในสภา

ข้อวิจารณ์

[แก้]

โดยผู้สนับสนุนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FTFP) หรือระบบที่ใช้อยู่เดิม

  • มีความซับซ้อนต่อผู้ลงคะแนนมากกว่าระบบเดิม
  • มีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดรัฐบาลพรรคร่วม
  • ทำให้เกิดสมาชิกรัฐสภาสองประเภทขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ยึดโยงกับเขตเลือกตั้งและอีกส่วนหนึ่งจากบัญชีรายชื่อซึ่งคือผู้แทนของเขตภูมิภาคในระดับที่ใหญ่กว่าแต่เหมือนทับซ้อนกันกับแบบแรก
  • ทำให้ลดการยึดโยงทางจิตใจระหว่างผู้ลงคะแนนกับผู้แทนของตน
  • ทำให้ใช้งบประมาณสูงกว่าเดิมในการนับคะแนน

โดยผู้สนับสนุนระบบสัดส่วน (PR) และระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV)

  • ระบบที่เสนอยังเป็นสัดส่วนไม่เพียงพอ
  • ยังมีโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียวในสภาครองเสียงข้างมากได้
  • ทำให้เกิดสมาชิกรัฐสภาสองประเภท
  • การแบ่งเขตเลือกตั้งยังคงไม่เป็นไปตาม "ขอบเขตธรรมชาติ" (ถึงแม้ว่าที่นั่งเพิ่มจากภูมิภาคจะถือว่าเป็นตามขอบเขตธรรมชาติ)
  • ไม่ช่วยกำจัดปัญหาการสงวนที่นั่ง (Safe seats)
  • ส่วนที่เป็นคะแนนเสริมนั้นซับซ้อนไปซึ่งระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก (AV) และระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) จะมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Report of the Independent Commission on the Voting System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]