ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสม

ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสม (อังกฤษ: Mixed single vote, ย่อ: MSV) เป็นประเภทหนึ่งของระบบการลงคะแนนแบบผสม โดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงบวก (อังกฤษ: positive vote transfer system, ย่อ: PVT)[1] โดยมีลักษณะคือสมาชิกนั้นมาจากการเลือกตั้งในระดับล่างคือแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนเขตละคน (single-member districts) และสมาชิกอีกกลุ่มหนึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยการชดเชยจากระดับบน (ระดับชาติ) จากบัญชีรายชื่อ โดยผู้ลงคะแนนออกเสียงเพียงเสียงเดียวและคะแนนที่เหลือจากระดับล่างจะถูกโอนไปให้ระดับบน ซึ่งจุดนี้แตกต่างจากระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (MMP) และระบบคู่ขนานซึ่งผู้ลงคะแนนออกเสียงคนละสองคะแนนซึ่งแยกจากกัน โดยคะแนนหนึ่งสำหรับผู้สมัครท้องถิ่นในแบบแบ่งเขต และอีกคะแนนหนึ่งสำหรับบัญชีรายชื่อระดับชาติ ด้านผลลัพธ์ของความเป็นสัดส่วนในระบบนี้นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ กฎเกณฑ์ (เช่น การตีความ "คะแนนเหลือ") และพารามิเตอร์ต่างๆ (เช่น จำนวนที่นั่งชดเชย) ที่นำมาใช้ ระบบนี้แรกเริ่มเคยใช้ในประเทศเยอรมนีในทั้งระดับสหพันธ์และระดับรัฐ และในปัจจุบันยังใช้ในประเทศฮังการีสำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในเขตเทศบาลที่มีขนาดใหญ่

ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสมอาจใช้การชดเชยโดยผ่านการเชื่อมโยงกับการโอนคะแนนเสียง (บางส่วน) แต่ยังสามารถใช้การเชื่อมโยงกับการชดเชยที่นั่ง ซึ่งหมายความว่าคะแนนเสียงทั้งหมดจะถูกถ่ายโอนเพื่อให้ผลลัพธ์มีความเป็นสัดส่วน แต่ใช้ในลักษณะการเพิ่มที่นั่งซึ่งเป็นขั้นตอนเดียวกับที่ใช้ในระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (MMP)

(ผสม) เสียงเดียว (ผสม) สองเสียง
แบบที่เชื่อมโยงกับจำนวนคะแนนเสียง ระบบเสียงเดียวผสม (MSV) เพิ่มที่นั่ง (top-up) ระบบสัดส่วนผสม (MMP)

ระบบสมาชิกเพิ่มเติม (AMS)

ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือกเพิ่ม (AV+)

แบบที่เชื่อมโยงกับจำนวนที่นั่ง ระบบเสียงเดียวผสม (MSV) ถ่ายโอนคะแนนบวก (positive vote transfer)

ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (DMP)

สกอร์โปโร (ลูกผสม: MSV กับระบบคู่ขนาน)

ระบบบัตรผสมถ่ายโอนคะแนนได้ (MBTV)


การใช้งานในปัจจุบัน

[แก้]

ฮังการี

[แก้]

ใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นสำหรับเทศบาลและเขตในเมืองหลวงที่มีประชากรเกินกว่า 10,000 คน ในแบบถ่ายโอนคะแนนบวก ซึ่งใช้เฉพาะคะแนนเสียงของผู้สมัครที่แพ้ถ่ายโอนไปให้กับผู้สมัครในระดับชดเชย[2] โดยการถ่ายโอนคะแนนนั้นจะอยู่ในพื้นฐานของการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครท้องถิ่น โดยจะได้รับการจัดสรรที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับจากคะแนนที่โอนมา[3]

  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 25,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 8 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 3 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 50,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 10 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 4 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 75,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 12 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 5 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรไม่เกิน 100,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขต 14 คน และแบบชดเชยที่นั่ง 6 คน
  • พื้นที่ที่มีประชากรเกินกว่า 100,000 คน มีผู้แทนแบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1 คนต่อประชากร 10,000 คน ในขณะที่แบบชดเชยที่นั่งเพิ่มขึ้นทุก 1 คนต่อประชากร 25,000 คน

ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปีค.ศ. 2014 เป็นต้นมา สภาใหญ่แห่งบูดาเปสต์ได้ใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งผู้ว่าการโดยตรงใน 23 เขต และมีอีก 9 คนมาจากการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อชดเชยของแต่ละพรรคการเมืองตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ผู้สมัครของพรรคนั้นได้รับ (ผู้สมัครตำแหน่งผู้ว่าการกรุงบูดาเปสต์ และผู้ว่าเขตนั้นสามารถอยู่ในบัญชีรายชื่อชดเชยได้)

เนื่องจากจำนวนที่นั่งชดเชยมีน้อย ระบบนี้จึงไม่สามารถรับรองผลลัพธ์ให้มีความเป็นสัดส่วนได้ และส่วนใหญ่มักจะทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีผู้แทนน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งทางทฤษฎีอาจให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันกับพรรคการเมืองใหญ่ได้เช่นเดียวกับกรณีของระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ

ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาก็ใช้ระบบลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนบวกอีกระบบหนึ่ง[4] ซึ่งสามารถใช้กลไกชดเชยที่นั่งได้จำนวนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ไม่ใช่ระบบเสียงเดียวผสมเต็มรูปแบบเพราะยังมีส่วนประกอบที่เป็นระบบคู่ขนานอยู่

ระบบสัดส่วน

[แก้]

ระบบลงคะแนนแบบเสียงเดียวผสมสามารถใช้ควบคู่กับวิธีการปรับที่นั่งเพื่อให้ได้ลักษณะเหมือนระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อซึ่งมีผู้แทนในแบบแบ่งเขต (มาจากระบบคะแนนนำหรือเสียงข้างมากก็ได้) ซึ่งในกรณีนี้จะเข้าเกณฑ์เดียวกับระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (MMP) แต่ต่างตรงที่ไม่สามารถเลือกออกเสียงต่างพรรคการเมืองได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bochsler, D (2014). "Which mixed-member proportional electoral formula fits you best? Assessing the proportionality principle of positive vote transfer systems". Representation.
  2. "2010. évi L. törvény a helyi önkormányzati képviselők és polgármesterek választásáról" [Act L. of 2010. on the election of local government representatives and mayors] (ภาษาฮังการี).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Nemzeti Választási Iroda" [National Bureau of Elections] (ภาษาฮังการี).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "2011. évi CCIII. törvény az országgyűlési képviselők választásáról" [Act CCIII. of 2011. on the election of members of the National Assembly] (ภาษาฮังการี).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)