รัฐบัญญัติโรคระบาด ค.ศ. 1897

รัฐบัญญัติโรคระบาด ค.ศ. 1897
Epidemic Diseases Act, 1897
ราชสภานิติบัญญัติ
(ปัจจุบันอำนาจตามรัฐบัญญัตินี้เป็นของรัฐสภาอินเดีย)
  • รัฐบัญญัติเพื่อจัดให้มีการป้องกันที่ดีกว่าสำหรับการแพร่กระจายของโรคติดต่ออันตราย (An Act to provide for the better prevention of the spread of Dangerous Epidemic Diseases)
การอ้างถึงรัฐบัญญัติ ฉบับที่ 3 ค.ศ. 1897 (Act No. 3 of 1897)
เขตที่ครอบคลุม อินเดีย
ผู้ตราราชสภานิติบัญญัติ
(ปัจจุบันอำนาจตามรัฐบัญญัตินี้เป็นของรัฐสภาอินเดีย)
การแก้ไขเพิ่มเติม
กฤษฎีกาโรคติดต่อ (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2020 (Epidemic Diseases (Amendment) Ordinance, 2020)[1][2]
รัฐบัญญัตินี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำไปใช้บังคับในภูมิภาคและรัฐหลายแห่ง เช่น โดยรัฐบัญญัติโรคติดต่อ (แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับปัญจาบ) ค.ศ. 1944 (Epidemic Diseases (Punjab Amendment) Act, 1944) และขยายไปสู่ดินแดนดาดราและนครหเวลีด้วยกฎ ฉบับที่ 6 ค.ศ. 1963 ส่วนที่ 2 กับบัญชีแนบท้าย (Reg. 6 of 1963, s. 2 and Sch.) เป็นต้น
คำสำคัญ
การระบาด (epidemic), โรค (disease)
สถานะ: ยังมีผลอยู่

รัฐบัญญัติโรคระบาด ค.ศ. 1897 (อังกฤษ: Epidemic Diseases Act, 1897) เป็นกฎหมายที่เดิมตราขึ้นเพื่อจัดการกับการระบาดของกาฬโรคชนิดหนองฝีในมุมไบ (ขณะนั้นคือบอมเบย์) ในอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ[3] กฎหมายนี้มุ่งหมายไว้ใช้จำกัดการแพร่ระบาดของโรค โดยให้อำนาจพิเศษที่จำเป็นต่อการดำเนินมาตรการทั้งหลายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค[4][5]

รัฐบัญญัตินี้ได้ใช้ควบคุมโรคในประเทศอินเดียอยู่เสมอ เช่น กรณีไข้หวัดเม็กซิโก, อหิวาตกโรค, มาลาเรีย และไข้เด็งกี[6] ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบัญญัตินี้ได้นำออกใช้เมื่ออหิวาตกโรคเริ่มระบาดในท้องที่รัฐคุชราต ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ได้ใช้จัดการไข้เด็งกีและมาลาเรียในจัณฑีครห์ และในปี พ.ศ. 2552 ได้ใช้กับไข้หวัดเม็กซิโกในปูเน นอกจากนี้ มีการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ทั่วอินเดียตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระบาดทั่วประเทศ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ministry of Law and Justice (22 April 2020), The Epidemic Diseases (Amendment) Ordinance, 2020 (PDF), The Gazette of India, Government of India
  2. "Epidemic Act amended: Penalty for any violence against health care workers increased to 7 years in Jail". 23 April 2020.
  3. Tiwari, Manish (19 March 2020). "The legal hole in battling Covid-19". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
  4. "The 123-year-old law that India may invoke to counter coronavirus". The Economic Times. 2020-03-12. สืบค้นเมื่อ 2020-03-12.
  5. Awasthi, Prashasti. "Centre invokes 'Epidemic Act' and 'Disaster Management Act' to prevent spread of coronavirus". @businessline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-15.
  6. 6.0 6.1 "A 123-yr-old Act to combat coronavirus in India; experts say nothing wrong". Livemint (ภาษาอังกฤษ). IANS. 2020-03-14. สืบค้นเมื่อ 2020-03-15.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)