รายการธงในประเทศไทย

ธงชาติไทย

หน้านี้คือรายชื่อธงต่างๆ ในประเทศไทย

ธงชาติและธงที่มีความหมายถึงชาติ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
ธงไตรรงค์ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งเป็นแถบริ้วห้าแถบ แถบกลางสีน้ำเงินกว้าง 2 ส่วน แถบสีแดงและสีขาวชั้นนอกกว้างแถบละ 1 ส่วน
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
ธงราชนาวี ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ ตรงกลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา

ธงพระอิสริยยศและธงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงมหาราช เป็นรูปสี่เหลี่ยมสีเหลืองเข้ม ตรงกลางมีตราแผ่นดิน ใช้สำหรับองค์พระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ธงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า​ กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตรงกลางตอนต้น 2 ใน 3 ส่วนของผืนธง เป็นรูปครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง ตอนปลายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง และมีพระนามาภิไธย สก
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงราชินี คล้ายธงมหาราช แต่ตอนปลายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง ใช้สำหรับสมเด็จพระราชินี
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงบรมราชวงศ์ ตอนปลายเป็นสีขาบตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธงสีเหลือง ตรงกลางเป็นสีน้ำเงินแก่ และในสีน้ำเงินแก่มีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว 5 ชั้น อยู่สองข้าง ซึ่งเป็นสีเหลืองเข้ม ใช้สำหรับสมเด็จพระบรมราชชนนี
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงเยาวราชฝ่ายหน้า คล้ายธงมหาราช แต่ความกว้างไม่เกิน 60 เซนติเมตร อยู่บนสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงินเข้ม ใช้สำหรับสมเด็จพระยุพราช
ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ธงสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีขาบ ปลายธงตัดแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น 2 ใน 3 ส่วนของผืนธง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเหลือง มีรูปครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง และมีพระนามาภิไธย สธ ประดิษฐานที่มุมบน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ธงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีขาบ ปลายธงตัดแฉกรูปหางนกแซงแซวลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น 2 ใน 3 ส่วนของผืนธง เป็นรูปวงกลมสีเหลือง มีรูปครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง และมีพระนาม จภ ประดิษฐานที่มุมบน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงเยาวราชฝ่ายใน คล้ายธงเยาวราชฝ่ายหน้า แต่ตอนปลายเป็นสีขาบตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง ใช้สำหรับพระวรชายาแห่งสมเด็จพระยุพราช
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงราชวงศ์ฝ่ายหน้า คล้ายธงเยาวราชใหญ่ แต่มีลักษณะเป็นวงกลม ใช้สำหรับพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอหรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ แห่งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล
ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ธงราชวงศ์ฝ่ายใน คล้ายธงราชวงค์ฝ่ายหน้า แต่ตอนปลายเป็นสีขาบตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง ใช้สำหรับพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอหรือสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ แห่งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีอาร์มสีเหลือง กว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในอาร์มสีเหลืองมีอาร์มสีธงชาติกว้าง 3 ใน 5 ส่วนของความกว้างของอาร์มสีเหลือง เหนืออาร์มมีตราแผ่นดินขนาดเท่าอาร์มสีเหลือง ใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ธงประจำพระองค์

[แก้]
ภาพธง ใช้สำหรับ ลักษณะ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. มีอุณาโลมเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ภายใต้พระมหามงกุฎ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ. ภายใต้พระชฎาไม่มีกรรเจียกจอน
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ จ.ภ. ภายใต้พระจุลมงกุฎ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ธงสีแสดแดง ตราพระนามาภิไภยย่อ อ.ร.
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ส. ยอดพระนามาภิไธยย่อเป็นรูปอุณาโลม
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. ภายใต้พระจุลมงกุฎ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ร. ภายใต้พระจุลมงกุฎ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ท.ป. ภายใต้พระจุลมงกุฎ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ภ. ภายใต้รัดเกล้าเปล่งแสง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ อ.ก.

ธงในตำแหน่งราชการ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ธงราชทูต คล้ายธงไตรรงค์ แต่ตรงกลางมีวงกลมสีขาบขนาดกว้าง 4 ส่วนของธง (วงกลมจดสีเหลี่ยมสีแดงพอดี) ตรงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสา
ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ธงกงสุล คล้ายธงราชทูต แต่ช้างเผือกตรงกลางไม่ทรงเครื่องต้น
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงนายกรัฐมนตรี ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีรูปวงกลมมีเส้นรอบวงเป็นเส้นคู่ ตรงกลางของวงกลมมีตราราชสีห์กับคชสีห์ประคองพานรัฐธรรมนูญภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีแดงยกเว้นพระมหามงกุฎเป็นสีเหลือง กำหนดให้ใช้ครั้งแรก พ.ศ. 2479 แบบที่ใช้ในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2482 - 2522 ธงนายกรัฐมนตรี ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีตราราชสีห์กับคชสีห์ประคองพานรัฐธรรมนูญภายใต้พระมหามงกุฎ
พ.ศ. 2479 - 2482 ธงนายกรัฐมนตรี ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีตราราชสีห์กับคชสีห์ประคองโล่ธงไตรรงค์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักรสีแดง 8 แฉก และมีสมอสีขาบสอดวงจักร ด้านซ้ายและด้านขวาของรูปจักรมีรูปปีกนกกางเป็นสีฟ้า อยู่ภายใต้พระมหามงกุฎสีเหลือง

ธงทหาร

[แก้]

ธงชัยเฉลิมพล*

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงชัยเฉลิมพลทหารบก ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีอุณาโลมทหารบกและมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลือง เป็นแถวโค้งโอบใต้อุณาโลมทหารบก ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้า ขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง กว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งก่อนหน้า พ.ศ. 2500 ใช้ตราอุณาโลมทหารบกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีคำขวัญจารึกไว้ว่า "สละชีพเพื่อชาติ" แบบธงปัจจุบันเป็นแบบตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงชัยเฉลิมพลทหารเรือ ลักษณะเหมือนกันเกือบทุกประการกับธงฉานของกองทัพเรือไทยแต่มีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง กว้าง 2 เซนติเมตร
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงชัยเฉลิมพลทหารอากาศ ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีฟ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในดวงกลมมีอุณาโลมทหารอากาศ และมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้ดวงกลมสีฟ้า ผืนธงมุมด้านบนที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้า และมีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งแบบธงปัจจุบันเป็นแบบตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ธงชัยเฉลิมพลทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่กว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 105 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 52.5 เซนติเมตร ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาคันธง ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีเหลือง และมีชื่อหน่วยทหารสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้พระปรมาภิไธยย่อ และมีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งใช้พระราชทานครั้งแรกแก่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในวันราชวัลลภ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 รับรองเป็นธงในพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. 2522
หมายเหตุ
  • ธงเหล่านี้มีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงเป็นสีแดงเข้ม และมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน
  • ธงชัยประจำหน่วยตำรวจ เป็นธงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแก่หน่วยตำรวจต่างๆ 13 หน่วย โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยฯ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยพระองค์เอง มีลักษณะของธงและส่วนประกอบต่างๆของธงเช่นเดียวกับธงชัยเฉลิมพลของทหาร แต่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย พ.ร.บ.ธง พ.ศ. 2522

ธงในราชการทหารเรือ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ธงราชนาวี คล้ายธงราชทูต แต่ดวงกลมหลังรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็นสีแดง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ธงฉาน คล้ายธงไตรรงค์ แต่ตรงกลางมีเครื่องหมายกองทัพเรือไทยเป็นสีเหลือง

ธงในราชการทหารอากาศ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงแสดงหน่วยที่เป็นส่วนกำลังรบตั้งแต่ระดับฝูงบินหรือกองพันขึ้นไป มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีฟ้า ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพอากาศเป็นสีเหลือง และมีชื่อหน่วยทหารนั้น ๆ เป็นสีขาวเป็นแถวโค้งโอบใต้รูปเครื่องหมายกองทัพอากาศ
ธงแสดงหน่วยแยกอิสระที่เป็นส่วนกำลังรบ มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงแสดงหน่วยที่เป็นส่วนกำลังรบตั้งแต่ระดับฝูงบินหรือกองพันขึ้นไป

ธงประจำกองทัพ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองทัพบก ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีแดง ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพบกเป็นสีเหลือง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองทัพเรือ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน พื้นธงสีขาบ ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีขาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 4 ใน 6 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในวงกลมมีรูปเครื่องหมายกองทัพเรือไทย ซึ่งเดิมเรียกชื่อว่า "ธงประจำกระทรวงทหารเรือ" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธงประจำกองทัพเรือ หลังมีการยุบกระทรวงทหารเรือและแปรสภาพหน่วยเป็น "กองทัพเรือ"
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองทัพอากาศ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีฟ้า ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพอากาศเป็นสีเหลือง

ธงแสดงตำแหน่ง

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงผู้บัญชาการทหารบก ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพบก แต่มีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงโค้งอยู่ข้างล่าง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2440 ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพเรือ แต่ภายนอกตราของกองทัพเรือไม่มีวงกลม ซึ่งเดิมเรียกชื่อว่า "ธงเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธงผู้บัญชาการทหารเรือ หลังมีการยุบกระทรวงทหารเรือและแปรสภาพหน่วยเป็น "กองทัพเรือ"
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงผู้บัญชาการทหารอากาศ ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพอากาศ แต่ระหว่างหัวปีกมีรูปธงชาติเฉียงอยู่ในอาร์มและตัวเลข ๙ ไทยที่อยู่ในพระมหามงกุฏสีเหลืองเป็นสีขาว

ธงตำรวจ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ธงชัยประจำหน่วยตำรวจ ลักษณะเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหาร โดยผืนธงมีลักษณะเป็นธงชาติรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางผืนธงมีตราแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชื่อหน่วยตำรวจที่ได้รับพระราชทานธงเป็นไหมสีแดงริมสีขาวเป็นแถวโค้งโอบใต้ตราแผ่นดิน เช่น "โรงเรียนนายร้อยตำรวจ" ผืนธงมุมด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร สีแดงขลิบริมสีขาว

ยอดคันธงเป็นรูปช้างสามเศียรภายใต้พระมหามงกุฎทำด้วยโลหะสีเงิน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่ทำพิธีแล้ว เรียกว่า "พระยอดธง" และบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงพิทักษ์สันติราษฎร์ ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ที่ตรงกลางของผืนธงมีรูปตราแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยข้อความว่า พิทักษ์สันติราษฎร์ ปักด้วยดิ้นเงินโอบใต้ตราแผ่นดิน ใช้เป็นธงเกียรติยศสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ธงศาสนา

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2501
ธงธรรมจักร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง เป็นธงองค์กรพระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2531
ธงกางเขน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว ตรงกลางเป็นรูปกางเขนละตินสีแดง เป็นธงองค์กรคริสตจักรคริสต์ศาสนา และคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2540
ธงญิฮาด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำหรือเขียว ตรงกลางเป็นอักษรภาษาอาหรับสีขาว ละอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ มุหัมมะดัร รอซูลลุลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุหัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ เป็นธงองค์กรคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และชาวมุสลิมในประเทศไทย

ธงในอดีต

[แก้]

ธงชาติ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
สมัยอยุธยา - สมัยรัตนโกสินทร์
ธงค้าขาย, ธงเรือหลวง (ถึงสมัยรัตนโกสินทร์) ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงเกลี้ยง
สมัยรัชกาลที่ 1
ธงเรือหลวง ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปจักรวงใหญ่สีขาว ซึ่งรัชกาลที่ 1 ใส่วงจักรของพระนารายณ์
สมัยรัตนโกสินทร์ - พ.ศ. 2375
ธงเรือหลวง ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกในวงจักรสีขาว
พ.ศ. 2375 - 2459
ธงชาติ ธงค้าขาย และธงราชการ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง
ธงนี้มักมีการเข้าใจผิดว่าเริ่มใช้ในรัชกาลที่ 4 แต่จริง ๆ แล้วเริ่มใช้ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 [1]
พ.ศ. 2459 - 2460
ธงราชการ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธง
พ.ศ. 2459 - 2460
ธงค้าขาย ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งเป็นแถบสีขาวสลับแดงห้าแถบ แถบสีแดงและสีขาวชั้นนอกกว้างแถบละ 1 ส่วน แถบสีแดงตรงกลางกว้าง 2 ส่วน

ธงราชการทหาร

[แก้]

ธงชัยเฉลิมพล

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย


พ.ศ. 2460 ธงชัยเฉลิมพลกองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 ธงนี้เป็นธงสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เพราะเป็นธงไตรรงค์ผืนแรกที่ได้ไปอวดสายตาชาวโลก ในการร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาพบนคือธงด้านหน้า ภาพล่างคือธงด้านหลัง (ตามหลักสากล)

ธงในตำแหน่งราชการ

[แก้]
ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2455 - 2460 ธงราชทูต ธงแดงมีรูปช้างเผือกยืนแท่นทรงเครื่องหันหน้าเข้าหาเสา ที่มุมซ้ายบนมีวงกลมสีขาบบรรจุรูปครุฑกางกรชูพระมหามงกุฎ
พ.ศ. 2455 - 2460 ธงกงสุล คล้ายธงราชทูตด้านบน แต่ที่เหนือครุฑไม่มีมงกุฎ
พ.ศ. 2460 - 2470 ธงสถานทูต ธงไตรรงค์ ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
เอกชน