ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2559
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว7 มกราคม พ.ศ. 2559 (สถิติก่อตัวเร็วที่สุด)
ระบบสุดท้ายสลายตัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อซีมอร์
 • ลมแรงสูงสุด150 ไมล์/ชม. (240 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด943 มิลลิบาร์ (hPa; 27.85 inHg)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด23 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด22 ลูก
พายุเฮอริเคน13 ลูก
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
(ระดับ 3 ขึ้นไป)
6 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด11 คน
ความเสียหายทั้งหมด96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2016)
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก
2557, 2558, 2559, 2560, 2561

ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ในวันที่ 7 มกราคม พายุเฮอริเคนปาลี ก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง และถูกบันทึกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดภายในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง[1] โดยฤดูกาลนี้จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายน ในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และไปจบลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน นี่เป็นขอบเขตระยะเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอธิบายได้โดยพายุโซนร้อนปาลี

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2558#พายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้าซีSaffir-Simpson Hurricane Scale

พายุ

[แก้]

พายุเฮอริเคนปาลี

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 15 มกราคม
ความรุนแรง 100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (1 นาที)
977 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.85 นิ้วปรอท)

ฤดูกาล พ.ศ. 2559 นี้ เริ่มต้นด้วยเศษที่หลงเหลือของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้าซี ซึ่งถูกทิ้งไว้เป็นบริเวณชื้นขนาดใหญ่เบื้องหลัง ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร การเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกอย่างฉับพลันที่มีประสิทธิภาพ เป็นคุณลักษณะทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง ซึ่งกระตุ้นการก่อกำเนิดของพายุหมุนภายในการแปรปรวน ผลที่ได้คือการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ สาเหตุมาจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ที่ประมาณ 29.5°ซ (85.1°ฟ)

  • วันที่ 7 มกราคม ระบบรวมตัวกันก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน นี่แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของพายุลูกแรกที่เร็วที่สุดที่เคยบันทึกได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งเร็วกว่าพายุโซนร้อนวิโนนาในฤดูกาลปี พ.ศ. 2532 เพียง 6 วัน[2] ในไม่ช้า ระบบก็ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ปาลี กลายเป็นระบบพายุลูกที่ก่อตัวเร็วที่สุดเท่า ที่เคยบันทึกได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ[3]
  • วันที่ 11 มกราคม พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 และกลายเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่ก่อตัวเร็วที่สุด เท่าที่เคยบันทึกไว้ในแอ่งแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก่อนหน้านี้ตำแหน่งนี้เป็นของ พายุเฮอริเคนเอเกกา เมื่อ พ.ศ. 2535[4] ปาลีเคลื่อนตัวลงมาต่ำที่สุดที่ละติจูด 2.0°น ทำให้ถูกบันทึกเป็นพายุในซีกโลกตะวันตกที่อยู่ในละติจูดต่ำสุด ต่ำกว่าที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้าซีเคยทำไว้ที่ 2.2°น ในช่วงสองสัปดาห์ก่อน[5][6]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อี

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 8 มิถุนายน
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 มิถุนายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ เริ่มเฝ้าระวังพื้นที่ที่เป็นไปได้ของการพัฒนา[7] อีกไม่กี่วันถัดมา ความน่าจะเป็นของการก่อตัวของพายุลดลงในระดับต่ำ
  • วันที่ 6 มิถุนายน เหนือความคาดหมาย พายุดีเปรสชันหนึ่ง-อีก่อตัวขึ้น และเริ่มมีการออกการเฝ้าระวัง[8][9] นำให้รัฐบาลของเม็กซิโกได้ออกประกาศการเฝ้าระวังพายุโซนร้อนกับชายฝั่งทะเล[10]
  • วันที่ 7 มิถุนายน พายุอ่อนกำลังลง ดังนั้นทำให้การเฝ้าระวังถูกยกเลิก[11]
  • วันที่ 8 มิถุนายน ในช่วงต้นของวันพายุได้ขึ้นฝั่งเม็กซิโกใกล้กับอ่าวเตฮวนเตเปคและสลายตัวไป[12]

ขณะที่มาตรการป้องกัน มีการเปิดสถานที่อพยพชั่วคราวทั่วรัฐเชียปัส[13] พายุดีเปรสชันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยทั่วรัฐวาฮากา โดยแรกเริ่มภายในเทศบาลซาลีนากรูซ ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในถนนบางสาย และหลุมยุบทำให้บ้านเรือนเสียหายหนึ่งหลังคาเรือน[14]

พายุโซนร้อนแอทากา

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 5 กรกฎาคม
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 1 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) เริ่มเฝ้าติดตามพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ของการก่อตัว ซึ่งมีการจัดระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[15]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม อีกเจ็ดชั่วโมงต่อมา หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสอง-อี ระบบมีการจัดระบบที่รวดเร็วมาก ซึ่งต่อมา NHC ได้เพิ่มความรุนแรงของสอง-อีเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ แอทากา[16]
  • วันที่ 3 กรกฎาคม แอทากามีกำลังแรงสูงสุด[17] ที่ความเร็วลม 45 ไมล์/ชั่วโมง หลังจากนั้นไม่นาน แอทากาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ขณะที่ยังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 5 กรกฎาคม แอทากากลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[18]

พายุเฮอริเคนบลัส

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง 140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (1 นาที)
947 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.96 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 27 มิถุนายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) ได้จับเฝ้าติดตามคลื่นอากาศในเขตร้อน เหนือทวีปอเมริกากลางสำหรับความเป็นไปได้ในการพัฒนา[19]
  • วันที่ 30 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางใต้ของเม็กซิโก[20]
  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุมีความได้เปรียบเพียงพอในการจัดระบบ และกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสาม-อี[21] หกชั่วโมงถัดมา ท่ามกลางภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่สูง และลมเฉือนแนวตั้งที่น้อยลง ทำให้มันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ บลัส[22]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม พายุยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างคงตัว เป็นผลให้บลัสทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน[23] ต่อมาการทวีกำลังแรงชะงักลงในส่วนที่เหลือของวัน เนื่องจากอากาศแห้งได้ไหลเข้าสู่การหมุนเวียน[24]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม บลัสเริ่มแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกแรงของฤดูกาลในช่วงเย็นของวัน[25]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม บลัส มีกำลังแรงสูงสุดในความรุนแรงพายุเฮอริเคนระดับ 4[26] ต่อมาบลัส ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 ก่อนจะเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนเขตร้อนรูปวงแหวน และมีความรุนแรงต่อไป[27] อย่างไรก็ตาม บลัสได้เคลื่อนผ่านเหนือพื้นที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลลดลง
  • วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นผลให้มันมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ ซึ่งบลัสได้อ่อนกำลังลงจนมีสถานะต่ำกว่าพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ในช่วงสายของวัน[28]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม บลัสอ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1[29]
  • วันที่ 9 กรกฎาคม บลัสอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน[30] การอ่อนกำลังลงถูกเร่งท่ามกลางมวลอากาศที่เสถียรและการเพิ่มขึ้นของลมเฉือนแนวตะวันตกเฉียงใต้[31]
  • วันที่ 10 กรกฎาคม เหนือทะเลที่มีอุณหภูมิพื้นผิวที่ 24 °ซ (75 °ฟ)[32] บลัส อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และเสื่อมลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจากนั้นอย่างรวดเร็ว[33]

ความชื้นที่เกี่ยวข้องกับเศษที่เหลือของบลัสทำให้เกิดฝนตกในฮาวาย[34]

พายุเฮอริเคนซีเลีย

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง 100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (1 นาที)
972 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.7 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มเฝ้าระวังพื้นที่ความเป็นไปได้ในการก่อตัว[35]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม ทางศูนย์ ฯ บันทึกว่า "พายุดีเปรสชันเขตร้อนดูเหมือนจะก่อตัวภายในอีกสองวัน"[36]
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสี่-อีกก่อตัว[37]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม มันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้ชื่อ ซีเลีย
  • วันที่ 10 กรกฎาคม ซีเลียได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน[38]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม ซีเลียทวีกำลังแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 และยังคงความรุนแรงต่อไปอีกสองวัน[39]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ซีเลียเริ่มอ่อนกำลังลงที่ความรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ซีเลียเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกกลางและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ซีเลียสลายตัวลง[40]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง บันทึกว่า ความกดอากาศต่ำมีโอกาสที่จะฟื้นฟูเป็นพายุหมุนเขตร้อน[41] ซึ่งต่อมา ซีเลียล้มเหลวในการก่อตัวอีกครั้ง และล้มเหลวในการฟื้นฟูเป็นพายุหมุนเขตร้อน

พายุเฮอริเคนดาร์บี

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง 115 ไมล์/ชม. (185 กม./ชม.) (1 นาที)
962 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.41 นิ้วปรอท)

ในสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคม มีระบบหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวถึง 5 หย่อมในแปซิฟิกตะวันออก โดยหย่อมที่ 4 จากทั้งหมดถูกบันทึกโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ

  • วันที่ 9 กรกฎาคม หย่อมนั้นตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวย อาจก่อตัวและกลายเป็นพายุโซนร้อนได้[42]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศทวีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนห้า-อี[43]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม ห้า-อี ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ดาร์บี
  • วันที่ 13 กรกฎาคม ดาร์บีบรรลุความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ถึงอย่างไรก็ตามแม้ระบบเคลื่อนไปเหนือน้ำเย็น ดาร์บียังทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 อย่างไรก็ตาม 6 ชั่วโมงหลังจากนั้น ดาร์บีอ่อนกำลังลงกลับไปเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2[44] อีกสี่วัดถัดไป ดาร์บีอ่อนกำลังลงอีกเหนือน้ำเย็นเป็นพายุโซนร้อนโดยเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก มุ่งสู่รัฐฮาวาย ขณะที่มันเข้าใกล้พื้นที่ มันได้ทวีกำลังอีกครั้ง ทำให้มีการใช้การเฝ้าระวังและเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนโดยทันทีบนหมู่เกาะฮาวาย[45]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม เวลา 00:00 UTC มันได้ขึ้นฝั่งเข้าใกล้ปาฮาลาบนเกาะใหญ๋[46] และเคลื่อนผ่านเกาะไปเกาะในระดับพายุโซนร้อนกำลังอ่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนอิซเซลในฤดูกาล 2557

พายุโซนร้อนเอสเทลล์

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 22 กรกฎาคม
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
990 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.23 นิ้วปรอท)

ในแนวต่อเนื่องของพายุหมุนเขตร้อนด้วยเส้นทางที่เหมือนกัน หย่อมความกดอากาศต่ำได้กลายเป็นพายุโซนร้อนเอสเทลล์

  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนหก-อี[47]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม พายุโซนร้อนลูกที่ห้าแห่งฤดูกาลแปซิฟิกตะวันออกก่อตัวขึ้น และได้ชื่อว่า เอสเทลล์[48]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม เอสเทลล์มีความรุนแรงขึ้นโดยมีความเร็วลม 70 ไมล์/ชม. (115 กม./ชม.) โดยมีสถานะล่างกว่าพายุเฮอริเคน อย่างไรก็ตามมันได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อย[49]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม เอสเทลล์ยังคงความรุนแรงอยู่ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ไม่ได้บอกว่ามันจะทวีกำลังแรงเป็นพายุเฮอริเคน และเริ่มอ่อนกำลังเหนือน้ำเย็นทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮาวาย[50]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม เอสเทลล์อ่อนกำลังลงโดยมีความเร็วลมที่ 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) และสลายตัวไปในที่สุด[51]

พายุเฮอริเคนแฟรงก์

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 21 – 28 กรกฎาคม
ความรุนแรง 85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) (1 นาที)
979 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.91 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำใกล้กับชายฝั่งเม็กซิโกจัดระบบเป็นพายุโซนร้อน[52] โดย NHC เพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนโดยตรงในการเฝ้าระวังฉบับแรก โดยใช้ชื่อ แฟรงก์ โดยข้ามขั้นตอนการเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนไป[53] หลังจากวันนั้นแฟรงก์ได้เคลื่อนตัวออกห่างจากคาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย ถึงอย่างไรก็ตามการคาดการณ์การทวีกำลังแรงขึ้น แฟรงก์จะเอื้อมไม่ถึงสถานะพายุเฮอริเคน
  • วันที่ 26 กรกฎาคม กระทั่งวันที่ 26 กรกฎาคม ใกล้กับที่พายุจอร์เจตต์อ่อนกำลังลง ถึงอย่างไรก็ตาม แฟรงก์ก็กลายเป็นพายุลูกที่ห้าในการบันทึกซึ่งก่อตัวในเดือนกรกฎาคมของเฮอริเคนแปซิฟิก โดยครั้งก่อนหน้าถูกบันทึกไว้าที่ 4 และถูกตั้งเป็น 5 ในฤดูกาลก่อนหน้า[54]

พายุเฮอริเคนจอร์เจตต์

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที)
952 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.11 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ระหว่างพายุเอสเทลล์ และ พายุแฟรงก์ มีพายุดีเปรสชันก่อตัวอีกลูกหนึ่ง และอีกสองชั่วโมงถัดมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ จอร์เจตต์ และเป็นพายุโซนร้อนลูกที่เจ็ดที่ก่อตัวในเดือนกรกฎาคม[55][56] และถูกบันทึกร่วมกับฤดู 2528 และ 2558
  • วันที่ 24 กรกฎาคม จอร์เจตต์กลายเป็นพายุเฮอริเคน และกลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจอร์เจตต์อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเพราะน้ำเย็น และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันถัดมา

พายุโซนร้อนฮาวเวิร์ด

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนอีเวตต์

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนฆาบิเอร์

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเคย์

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเลสเตอร์

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 สิงหาคม – 7 กันยายน
ความรุนแรง 145 ไมล์/ชม. (230 กม./ชม.) (1 นาที)
944 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.88 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนแมเดลิน

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 สิงหาคม – 3 กันยายน
ความรุนแรง 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที)
950 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.05 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนนิวตัน

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 7 กันยายน
ความรุนแรง 90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (1 นาที)
977 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.85 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนออร์ลีน

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 110 ไมล์/ชม. (175 กม./ชม.) (1 นาที)
967 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.56 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเพน

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (1 นาที)
979 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.91 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนรอสลิน

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 29 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
999 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.5 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนอูลีกา

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที)
992 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.29 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนซีมอร์

[แก้]
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 28 ตุลาคม
ความรุนแรง 150 ไมล์/ชม. (240 กม./ชม.) (1 นาที)
940 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.76 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนทีนา

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 14 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนออตโต

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 (เข้ามาในแอ่ง) – 26 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
993 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.32 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

รายชื่อต่อไปนี้ ใช้สำหรับการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2559 สำหรับการปลดชื่อ ถ้ามีจะได้รับการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2560 ซึ่งชื่อที่ไม่ถูกปลด จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปีฤดูกาล พ.ศ. 2565[57]และนี่ก็เป็นรายการชื่อเดียวกันกับที่เคยใช้ไปในฤดูกาล พ.ศ. 2553

  • แอทากา
  • บลัส
  • ซีเลีย
  • ดาร์บี
  • เอสเทลล์
  • แฟรงก์
  • จอร์เจตต์
  • ฮาวเวิร์ด
  • อีเวตต์
  • ฆาบิเอร์
  • เคย์
  • เลสเตอร์
  • แมเดลิน
  • นิวตัน
  • ออร์ลีน
  • เพน
  • รอสลิน
  • ซีมอร์
  • ทีนา
  • เวอร์จิล (ยังไม่ใช้)
  • วินิฟริด (ยังไม่ใช้)
  • แซเวียร์ (ยังไม่ใช้)
  • โยลันดา (ยังไม่ใช้)
  • ซี้ก (ยังไม่ใช้)


สำหรับพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นเขตรับผิดชอบของศูนย์เฮอริเคนมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง 140 องศาตะวันตกถึงเส้นแบ่งวันสากล โดยชื่อทั้งหมดจะถูกใช้หมุนวนสี่รายการ อีกสี่ชื่อจะถูกแสดงด้านล่าง

  • ปาลี
  • อูลีกา
  • วาลากา (ยังไม่ใช้)
  • อาโกนี (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อตัวในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งรวมระยะเวลาการก่อตัว, ชื่อ, บนบก–แสดงชื่อสถานที่เป็นตัวหนา– , ความเสียหาย และจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ส่วนการเสียชีวิตในวงเล็บคือการเสียชีวิตเพิ่มเติมและทางอ้อม (เช่นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน) แต่ที่เกี่ยวข้องกับพายุโดยตรงยังคงที่ ความเสียหายและการเสียชีวิตรวมถึงขณะที่พายุกลายเป็นเอ็กซ์ตราทรอปิคอล, คลื่น ความเสียหายทั้งหมดนับเป็นดอร์ล่าสหรัฐ ค่าเงินปี ค.ศ. 2016

สถิติของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก พ.ศ. 2559
ชื่อ
พายุ
วันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีความรุนแรงสูงสุด
ลมสูงสุด
1-นาที
ไมล์/ชม. (กม./ชม.)
ความกดอากาศ
(มิลลิบาร์)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(ดอลลาร์สหรัฐ)
เสียชีวิต อ้างอิง


ปาลี 7 – 15 มกราคม พายุเฮอริเคนระดับ 2 100 (155) 977 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
หนึ่ง-อี 6 – 8 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35 (55) 1006 เม็กซิโก เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้ ไม่มี ไม่มี
แอกาทา 2 – 5 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 45 (75) 1003 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
บลัส 3 – 10 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 4 140 (220) 947 สหรัฐ รัฐฮาวาย ไม่มี ไม่มี
ซีเลีย 6 – 16 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 2 100 (155) 972 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ดาร์บี 11 – 26 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 3 115 (185) 962 สหรัฐ รัฐฮาวาย ไม่มี ไม่มี
อิสเทลล์ 15 – 22 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 70 (110) 990 เม็กซิโก หมู่เกาะเรบียาคีเคโด ไม่มี ไม่มี
แฟรงก์ 21 – 28 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 1 85 (140) 979 เม็กซิโก คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย,
หมู่เกาะเรบียาคีเคโด
ไม่มี ไม่มี
จอร์เจตต์ 21 – 27 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 4 130 (215) 952 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ฮาวเวิร์ด 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พายุโซนร้อน 60 (95) 998 รัฐฮาวาย ไม่มี ไม่มี
อีเวตต์ 2 – 8 สิงหาคม พายุโซนร้อน 60 (95) 1000 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ฆาบิเอร์ 7 – 9 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 (100) 997 เม็กซิโกตะวันตก, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ, คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย เล็กน้อย ไม่มี
เคย์ 18 – 23 สิงหาคม พายุโซนร้อน 50 (85) 1000 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เลสเตอร์ 24 สิงหาคม – 7 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 4 145 (230) 944 รัฐฮาวาย ไม่มี ไม่มี
แมเดลิน 26 สิงหาคม – 3 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 4 130 (215) 950 รัฐฮาวาย เล็กน้อย ไม่มี
นิวตัน 4 – 7 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 1 90 (150) 977 คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ 96 ล้าน 9
ออร์ลีน 11 – 17 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 2 110 (175) 967 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เพน 18 – 21 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 1 90 (150) 979 คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ ไม่ทราบ ไม่มี
รอสลิน 25 – 29 กันยายน พายุโซนร้อน 50 (85) 999 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
อูลีกา 26 – 30 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 1 75 (120) 992 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ซีมอร์ 23 – 28 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 4 150 (240) 940 คาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย ไม่มี ไม่มี
ทีนา 13 – 14 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 40 (65) 1004 เม็กซิโกตะวันตก ไม่มี ไม่มี
ออตโต 25 – 26 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 70 (110) 993 ไม่มี (หลังจากข้ามแอ่งมาแล้ว) ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
9 ลูก 7 มกราคม – 26 พฤศจิกายน   150 (240) 940 96 ล้าน 11  

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pali Becomes Earliest Central Pacific Tropical Storm on Record
  2. Bob Henson (January 7, 2016). "Rare January Depression in Central Pacific; Atlantic Subtropical Storm Next Week?". Weather Underground. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-25. สืบค้นเมื่อ January 9, 2016.
  3. Bob Henson (January 8, 2016). "Warm, Wet Year for U.S.; Record Heat in South Africa; Tropical Storm Pali Intensifies". Weather Underground. สืบค้นเมื่อ January 9, 2016.
  4. "Hurricane Pali Discussion Number 19". 12 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-22.
  5. Erdman, John. "Tropical Depression Nine-C Dissipates; Caps Off a Record Central Pacific Hurricane Season". The Weather Channel. The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
  6. Ballard, R. "TROPICAL DEPRESSION PALI DISCUSSION NUMBER 30". National Weather Service. Central Pacific Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 14 January 2016.
  7. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201606041745&basin=epac&fdays=2
  8. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201606061745&basin=epac&fdays=2
  9. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201606062035&basin=epac&fdays=2
  10. http://www.nhc.noaa.gov/archive/2016/ep01/ep012016.public.001.shtml?
  11. http://www.nhc.noaa.gov/archive/2016/ep01/ep012016.public.006.shtml?
  12. http://www.nhc.noaa.gov/text/refresh/MIATCPEP1+shtml/081434.shtml?
  13. Tuxtla Gutiérrez (9 มิถุนายน 2559). "Sin daños ni pérdidas humanas por depresión tropical en Chiapas" (ภาษาสเปน). Uno TV. Notimex. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Depresión tropical 1-E provoca daños menores en Oaxaca" (ภาษาสเปน). Noticias MVS. Notimex. 8 มิถุนายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-01. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. Robbie J. Berg; Michael J. Brennan (July 1, 2016). "NHC Graphical Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 2, 2016.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ agathaupgrade
  17. Stacy R. Stewart (July 3, 2016). "Tropical Storm Agatha Discussion Number 6". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  18. Daniel Brown (July 4, 2016). "Tropical Storm Agatha Discussion Number 13". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  19. Stacy R. Stewart (June 27, 2016). "Tropical Weather Outlook 1100 am PDT Mon Jun 27 2016". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  20. Stacy R. Stewart (June 30, 2016). "Tropical Weather Outlook 1100 am PDT Thu Jun 30 2016". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  21. Michael J. Brennan (July 3, 2016). "Tropical Depression Three-E Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  22. Stacy R. Stewart (July 3, 2016). "Tropical Storm Blas Discussion Number 2". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  23. Todd B. Kimberlain (July 4, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  24. Todd B. Kimberlain (July 4, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 8". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  25. Stacy R. Stewart (July 5, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 12". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  26. Cangialosi, John (July 6, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 13". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 10, 2016.
  27. Daniel P. Brown (July 6, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 15". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 10, 2016.
  28. David P. Roberts (July 7, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 21". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  29. Daniel P. Brown (July 8, 2016). "Hurricane Blas Discussion Number 24". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  30. Michael J. Brennan (July 9, 2016). "Tropical Storm Blas Discussion Number 26". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  31. John P. Cangialosi (July 9, 2016). "Tropical Storm Blas Discussion Number 27". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  32. Michael J. Brennan (July 10, 2016). "Tropical Depression Blas Discussion Number 30". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  33. John P. Cangialosi (July 10, 2016). "Post-Tropical Cyclone Blas Discussion Number 31". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  34. Dudley, Malika (July 15, 2016). "Increased Windward Showers From Remnants of Blas". mauinow.com. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  35. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201606301159&basin=epac&fdays=2
  36. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201607061441&basin=epac&fdays=2
  37. "National Hurricane Center-TROPICAL DEPRESSION FOUR-E ADVISORY NUMBER 1". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  38. http://www.nhc.noaa.gov/archive/2016/refresh/BLAS+shtml/144405.shtml?
  39. "Honolulu Star-Advertiser-Celia becomes category 2 hurricane as Tropical Depression Five-E forms". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  40. "West Hawaii Today-Celia weakens to tropical depression". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  41. http://www.prh.noaa.gov/cphc/
  42. http://www.nhc.noaa.gov/archive/xgtwo/gtwo_archive.php?current_issuance=201607100233&basin=epac&fdays=2
  43. "National Hurricane Center-TROPICAL DEPRESSION FIVE-E ADVISORY NUMBER 1". สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
  44. "Hurricane DARBY Advisory Archive".
  45. "Hawaii News Now-Big Island, Maui, Oahu under Tropical Storm Warning; watch issued for Kauai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-14. สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  46. "Central Pacific Hurricane Center-TROPICAL STORM DARBY DISCUSSION NUMBER 50". สืบค้นเมื่อ 24 July 2016.
  47. "National Hurricane Center-TROPICAL DEPRESSION SIX-E ADVISORY NUMBER 1". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  48. "National Hurricane Center-TROPICAL STORM ESTELLE ADVISORY NUMBER 3". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  49. "National Hurricane Center-TROPICAL STORM ESTELLE ADVISORY NUMBER 13". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  50. "National Hurricane Center-TROPICAL STORM ESTELLE ADVISORY NUMBER 18". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  51. "National Hurricane Center-POST-TROPICAL CYCLONE ESTELLE ADVISORY NUMBER 29". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  52. "National Hurricane Center-TROPICAL STORM FRANK DISCUSSION NUMBER 1". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  53. Robbie Berg (July 21, 2016). "Tropical Storm Frank Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 21, 2016.
  54. Blake, Eric (July 26, 2016). "Hurricane Frank Discussion Number 20". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 27, 2016.
  55. "National Hurricane Center-TROPICAL DEPRESSION EIGHT-E ADVISORY NUMBER 1". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  56. "National Hurricane Center-TROPICAL STORM GEORGETTE ADVISORY NUMBER 4". สืบค้นเมื่อ 23 July 2016.
  57. "Tropical Cyclone Names". National Hurricane Center. National Oceanic and Atmospheric Administration. 2013-04-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ May 8, 2013.