ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว26 กันยายน พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อวิรอนิกา
 • ลมแรงสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด939 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด25 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน11 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง6 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด14 คน
ความเสียหายทั้งหมด1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย
2559–60, 2560–61, 2561–62, 2562–63, 2563–64

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–2562 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในอัตราใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ซึ่งในฤดูกาลนี้มีกรณีของกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อนก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ คือ ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลีอูอา ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และพายุไซโคลนแอนน์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
ภูมิภาค จำนวน
เฉลี่ย
โอกาสมีพายุ
มากกว่า
โอกาสมีพายุ
น้อยกว่า
เกิดขึ้น
จริง
ทั้งแอ่ง 11 37% 63% 11
ตะวันตก 7 44% 56% 6
ตะวันตกด้านเหนือ 5 41% 59% 4
เหนือ 3 46% 54% 5
ตะวันออก 4 40% 60% 5
แหล่งข้อมูล: คาดหมายฤดูกาลสำหรับพายุหมุนเขตร้อนของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย[1]

ในช่วงเดือนตุลาคม ก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้นขึ้น สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ออกประกาศการคาดหมายฤดูกาลสำหรับพายุหมุนเขตร้อนในฤดูกาล พ.ศ. 2561–2562 โดยระบุว่าฤดูอย่างเป็นทางการจะมีช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ไปจนถึง 30 เมษายน 2562 การคาดหมายดังกล่าวเป็นการคาดหมายแบบรวมทั้งแอ่ง ประกอบด้วย ภูมิภาคตะวันออก เหนือ และตะวันตก รวมถึงภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ[1] การพยากรณ์คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงสภาวะเอลนิโญล่าสุดที่มีกำลังอ่อนถึงเป็นกลางในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก[1] การคาดหมายแสดงถึงกิจกรรมโดยรวมภายในแอ่ง รวมถึงในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งระบุว่ามีกิจกรรมของพายุใกล้เคียงถึงน้อยกว่าค่าเฉลี่ย[1] สำหรับภูมิภาคตะวันตก คือบริเวณระหว่าง เส้นเมริเดียน 90 องศาตะวันออก ถึง 125 องศาตะวันออกนั้น สำนักอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (7 ลูก) โดยมีโอกาสถึง 56% ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ย[1] ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนเพิร์ท ยังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนสองลูก โดยอย่างน้อยหนึ่งลูกที่เป็นพายุโซโคลนกำลังแรงส่งผลกระทบต่อรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[2] สำหรับภูมิภาคย่อยตะวันตกด้านเหนือ บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 125 องศาตะวันออก ถึง 142.5 องศาตะวันออก มีโอกาสที่จะมีพายุมากกว่าค่าเฉลี่ย 54%[1] ส่วนภูมิภาคตะวันออก บริเวณระหว่างเส้นเมริเดียน 142.5 องศาตะวันออกถึง 160 องศาตะวันออก พยากรณ์ว่ามีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนใกล้เคียงค่าปกติ โดยมีโอกาส 60% ที่จะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย[1]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคออสเตรเลีย
  หย่อมความกดอากาศต่ำ (≤63 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 (118–159 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 (160–200 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 2 (89–117 กม./ชม.)   พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 5 (≥200 กม./ชม.)

พายุ

[แก้]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลีอูอา

[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 (เข้ามาในแอ่ง) – 29 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อนบูชรา

[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 (เข้ามาในแอ่ง) – 16 พฤศจิกายน
(ออกนอกแอ่งไปเมื่อวันที่ 10 และกลับเข้ามาอีกครั้งในวันที่ 14
และออกนอกแอ่งไปอีกครั้งในวันที่ 16)
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)

หย่อมความกดอากาศกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นแถบศูนย์สูตรในมหาสมุทรอินเดีย ภายในพื้นที่รับผิดชอบของเมเตโอ-ฟร็องส์ในวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยระบบหย่อมความกดอากาศต่ำได้ค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันออก และแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการทวีกำลังแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย[3] ในช่วงปลายของวันที่ 9 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันลูกก่อนหน้าในอ่าวเบงกอลได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว บีโอบี 09 และเริ่มเคลื่อนตัวห่างออกไปและพบกับการบรรจบกันของการไหลของอากาศระดับต่ำที่สัมพันธ์กับการอ่อนกำลังของมัน[4] โครงสร้างของระบบเริ่มจัดระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมเตโอฟร็องส์ได้จัดให้ระบบเป็นการแปรปรวนของลมในเขตร้อน[5] ไม่นานหลังจากนั้นระบบได้เคลื่อนตัวผ่านเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก และเข้าสู่แอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย โดยได้รับการจัดความรุนแรงของศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนจาการ์ตาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น[6] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าการพัฒนาของหย่อมความกดอากาศต่ำนั้น อยู่ในระดับพายุโซนร้อนแล้วตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และจึงได้ออกรหัสเรียกอย่างไม่เป็นทางการกับระบบว่า 04S[7] ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ในเวลา 10:00 UTC (17:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ระบบได้เคลื่อนตัวย้อนกลับไปทางตะวันตก และกลับเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ตามเดิม[8] และมีการทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง โดยได้รับชื่อจากเมเตโอ-ฟร็องส์ว่า บูชรา (Bouchra)[9]

หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกของเส้นขอบมหาสมุทรอินเดียตะวันตกด้านใต้อยู่เป็นเวลาหลายวัน ระบบได้เคลื่อนตัวกลับเข้ามาในภูมิภาคออสเตรเลียอีกครั้งในวันที่ 12 พฤศจิกายน[10] โดยกลับเข้ามาในฐานะของพายุที่อ่อนกำลังลงอย่างมาก จากกำลังสูงสุดของตัวมันเอง และเหลือเพียงแค่เป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนเท่านั้น[11] โดยหย่อมนี้จะอยู่ภายในแอ่งออสเตรเลียเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อีกครั้ง เนื่องจากเมเตโอ-ฟร็องส์ชี้ว่าระบบพายุไซโคลนบูชราเก่านี้ จะเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับเข้าไปในด้านตะวันออกสุดของพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานในวันที่ 13 พฤศจิกายน[10] อีกหลายวันต่อมา สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้บันทึกว่า ระบบได้เคลื่อนตัวเลี้ยวกลับเข้าไปในแอ่งออสเตรเลียอีกครั้ง โดยมีระยะห่างจากหมู่เกาะโคโคสไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 1,000 กม. ทำให้มันกลายเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าและออกจากแอ่งออสเตรเลียถึงสามครั้ง ภายในเวลาเพียงห้าวัน[12]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 14 – 18 พฤศจิกายน
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

วันที่ 14 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในบริเวณพายุฝนฟ้าคะนอง ห่างจากเกาะคริสต์มาสไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 490 กม.[12] ซึ่งอยู่เหนือบริเวณที่มีน้ำทะเลที่อบอุ่นของเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งของเกาะชวา มีการพยากรณ์ว่าระบบจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และมีโอกาสปานกลางในการก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อน[12]

พายุไซโคลนกำลังแรงโอเวน

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 29 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
956 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน สำนักอุตุนิยมวิทยาได้บันทึกว่ามีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นเหนือหมู่เกาะโซโลมอน และระบบได้พัฒนาขึ้นเป็นบริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน[13]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน ระบบได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะทากูลาของประเทศปาปัวนิวกินีจากการเคลื่อนตัวไปทางแนวตะวันตก-ใต้ โดยศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่นได้มีการประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ เนื่องจากระบบมีการปรับปรุงโครงสร้างของมันให้ดีขึ้น[14] โดยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นในทะเลคอรัลเป็นตัวเติมเชื้อเพลิงให้กับระบบ และมีช่องอากาศไหลออกด้านบนเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยม ทำให้บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง[15]
  • วันที่ 2 ธันวาคม เวลา 06:00 UTC สำนักอุตุนิยมวิทยาได้ปรับให้ระบบเป็นพายุระดับ 1 ตามมาตราของออสเตรเลีย และให้ชื่อกับพายุว่า โอเวน (Owen) ทำให้พายุลูกนี้เป็นพายุไซโคลนเขตร้อนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในแอ่ง ในฤดูกาลภูมิภาคออสเตรเลีย 2561–2562[16]
  • วันที่ 4 ธันวาคม โอเวนอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และถูกปรับลงเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อน[16]
  • วันที่ 10 ธันวาคม หลังจากที่โอเวนเคลื่อนตัวอยู่ด้านตะวันตกของทะเลคอรัลในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โอเวนได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณตอนเหนือของเมืองคาร์ดเวลล์ จากนั้นจึงเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวคาร์เพนแทเรีย และเริ่มมีการจัดระบบใหม่อีกครั้ง
  • วันที่ 11 ธันวาคม โอเวนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 อีกครั้ง และพายุได้เข้าสู่วงวนแอนไทไซโคลนโดยสมบูรณ์ และเคลื่อนตัวย้อนกลับไปทางทิศตะวันออก และได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้ง จนมีความรุนแรงที่สุดเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรงระดับ 3 โดยมีความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องใน 10 นาที ที่ 150 กม./ชม.
  • วันที่ 15 ธันวาคม ไซโคลนโอเวนพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองโควันยามา และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีปฏิสัมพันธ์กับแผ่นดิน[17] จนในช่วงบ่าย โอเวนถูกปรับลดเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนอีกครั้ง

ในระหว่างที่พายุไซโคลนโอเวนพัดผ่านตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 คน และมีปริมาณน้ำฝนทั่วทั้งภูมิภาคสูงที่สุดอยู่ในชายฝั่งตะวันออก เมื่อเทียบกับชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ส่วนที่เหลือของรัฐ[18] ที่เมืองอินนิสเฟล วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายวันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมได้ที่ 149 มิลลิเมตร (5.9 นิ้ว) ขณะที่เมืองคาวลีย์บีชวัดได้ 135 มิลลิเมตร (5.3 นิ้ว) เขื่อนคอปเปอร์โลดฟอลส์ที่อยู่ทางตะวันตกของเมืองแคนส์วัดได้ 130 มิลลิเมตร (5.1 นิ้ว) และที่เมืองมิชชันบีชวัดได้ 98 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว)[19]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 05U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 9 – 12 ธันวาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 9 ธันวาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาประกาศว่ามีการพัฒนาของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังอ่อนขึ้น โดยระบบเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ผ่านตอนกลางฝั่งตะวันออกของทะเลคอรัล โดยมีระยะห่างจากเมืองทาวน์วิลล์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเฉตะวันออกประมาณ 1000 กม.[20]

พายุไซโคลนเกอนางา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 16 ธันวาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 27 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 27 ธันวาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาระบุว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลติมอร์ ห่างจากเมืองดาร์วิน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 490 กม.[21]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (โมนา)

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 28 – 31 ธันวาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 28 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุม ที่ทอดตัวยาวในตอนเหนือของทะเลคอรัล ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของภูมิภาค ใกล้กับแอ่งแปซิฟิกใต้[22]

พายุไซโคลนเพนนี

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 ธันวาคม – 9 มกราคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
987 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.15 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 28 ธันวาคม มีความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นอีกลูก ทำให้เดือนธันวาคมฤดูกาลนี้ มีกิจกรรมเยอะในแง่ของการก่อตัวของความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาระบุว่านี่เป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นลูกที่สาม[22] ในร่องมรสุม ที่ทอดตัวยื่นออกมาจากทะเลเขตร้อนของทะเลคอรัลในฝั่งตะวันออก ไปยังทะเลติมอร์ในฝั่งตะวันตก[23] การฟื้นคืนของมรสุมและกิจกรรมการพาความร้อนในภูมิภาค มีความเกี่ยวเนื่องกับการมีกำลังปานกลาง-กำลังแรงเป็นจังหวะ (moderate-strength pulse) ของการแกว่งไปมาของแมดเดน–จูเลียน ที่เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกผ่านทวีปทะเล[24] ความกดอากาศต่ำ 09U ตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเคปยอร์ก และถูกประเมินโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาให้มีโอกาสสูง ที่จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายในสามวัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย[22]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 29 – 30 ธันวาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1007 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.74 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 29 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนลูกที่สี่ก่อตัวขึ้นเขตตะวันออก ทางใต้ของเกาะทากูลา ประเทศปาปัวนิวกินี[22]
  • วันที่ 30 ธันวาคม ระบบความกดอากาศต่ำเขตร้อนสลายตัวไป[25]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 30 ธันวาคม – 2 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 30 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทางตอนใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย[26]
  • วันที่ 2 มกราคม เนื่องจากสภาพของบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของระบบ ทำให้ความกดอากาศต่ำเขตร้อนไม่ทวีกำลังแรงขึ้น ท้ายสุดระบบคดเคี้ยวไปมาอยู่ทางใต้ของประเทศอินโดนีเซีย ก่อนจะสลายตัวไป[27]

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 11U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 15 – 23 มกราคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงไรลีย์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
974 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.76 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 13U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 21 – 25 มกราคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
999 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.5 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 6 – 9 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนโอมา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 กุมภาพันธ์ – 22 กุมภาพันธ์
(ออกนอกแอ่งไปเมื่อวันที่ 11 และกลับเข้ามาอีกครั้งในวันที่ 21 และออกนอกแอ่งอีกครั้งในวันที่ 22)
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
977 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.85 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 15U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 6 – 11 มีนาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1007 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.74 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงซะแวนนาห์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 17 มีนาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
951 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.08 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 13 – 14 มีนาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงเทรเวอร์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 26 มีนาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 28 มีนาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
938 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.7 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงวอลลิซ

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 16 เมษายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

สืบเนื่องจากการหยุดลงของร่องมรสุมที่มีมีพลัง ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เกิดการก่อตัวของพายุไซโคลนกำลังแรงเทรเวอร์และเวรอนิกาในสองสัปดาห์ก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นของกระแสพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรจากมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจึงนำไปสู่การพัฒนาขึ้นอีกครั้งของร่องมรสุมกำลังอ่อน ในทะเลเขตร้อนทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย[28] การกลับมาของลักษณะแบบนี้มีส่วนรับผิดชอบในการสร้างสภาพบรรยากาศที่มีส่วนสนับสนุนการก่อตัวของความกดอากาศต่ำเขตร้อน[28]

  • วันที่ 1 เมษายน สำนักงานดาร์วิน สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ระบุว่ามีความกดอากาศต่ำเขตร้อนกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลอาราฟูรา และเคลื่อนตัวอยู่ภายในร่องมรสุมกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นใหม่ ต่อมาสำนักอุตุนิยมวิทยาให้รหัสกับพายุนี้ว่า 21U[29]
  • วันที่ 6 เมษายน เวลา 02.00 AWST (หรือ 18.00 UTC ของวันที่ 5 เมษายน) ความกดอากาศต่ำเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 ตามมาตราของออสเตรเลีย และได้รับชื่อ วอลลิซ (Wallace) จากสำนักอุตุนิยมวิทยา
  • วันที่ 7 เมษายน เวลา 00.00 UTC วอลลิซได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 หลังจากที่ทวีกำลังแรงอย่างช้า ๆ มาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการถูกลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงขัดขวางการพัฒนา[30]
  • วันที่ 8 เมษายน เวลา 18.00 UTC วอลลิซทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 โดยได้รับการยืนยันว่าวอลลิซเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอยู่เพียงหกชั่วโมง ก่อนจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรง[31]
  • วันที่ 10 เมษายน เวลา 00.00 UTC วอลลิซอ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่มีแรงของพายุเกล ซึ่งมีกำลังอ่อนกว่าระดับพายุไซโคลนตามมาตราของออสเตรเลีย

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 22U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 15 เมษายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 23U

[แก้]
บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 26 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนลีลี

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 11 พฤษภาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนแอนน์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 (เข้ามาในแอ่ง) – 18 พฤษภาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

สำนักอุตุนิยมวิทยา

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[32] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย โดยในฤดูกาล 2561–2562 นี้มีชื่อของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียถูกใช้ทั้งสิ้น 8 ชื่อ ดังตาราง

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียในฤดูกาล 2561–2562
โอเวน
(Owen)
เพนนี
(Penny)
ไรลีย์
(Riley)
ซะแวนนาห์
(Savannah)
เทรเวอร์
(Trevor)
วิรอนิกา
(Veronica)
วอลลิซ
(Wallace)
แอนน์
(Ann)

TCWC จาการ์ตา

[แก้]

ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[32] โดยในฤดูกาล 2561–2562 มีพายุหมุนเขตร้อนที่ได้รับจาก JTWC จาการ์ตาทั้งสิ้น 2 ชื่อ ดังตาราง

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของ JTWC จาการ์ตา
ในฤดูกาล 2561–2562
เกอนางา (Kenanga) ลีลี (Lili)

TCWC พอร์ตมอร์สบี

[แก้]

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[33] โดยฤดูกาล 2561–2562 ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนใดได้รับชื่อจาก TCWC พอร์ตมอร์สบี

ผลกระทบ

[แก้]
ชื่อ ระหว่างวันที่ ความรุนแรงสูงสุด ความเร็วลม
เฉลี่ย
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(AUD)
ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ลีอูอา 26 – 29 กันยายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 55 กม./ชม. 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน ไม่มี ไม่มี ไม่มี
บูชรา 9 – 16 พฤศจิกายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TL 14 – 18 พฤศจิกายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โอเวน 29 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 150 กม./ชม. 956 hPa (28.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์,
นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
&000000003476000000000034.8 ล้าน &000000002500000000000025 ล้าน 1 [18][34]
TL 9 – 12 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เกอนางา 14 – 16 ธันวาคม พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เพนนี 26 ธันวาคม – 9 มกราคม พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 95 กม./ชม. 989 hPa (29.15 นิ้วปรอท) ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์ เล็กน้อย เล็กน้อย ไม่มี
TL 27 – 28 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1001 hPa (29.56 นิ้วปรอท) เกาะติมอร์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โมนา 28 – 31 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TL 30 ธันวาคม – 2 มกราคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
11U 15 – 29 มกราคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ไรลีย์ 19 – 30 มกราคม พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 120 กม./ชม. 974 hPa (28.76 นิ้วปรอท) รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ไม่มี ไม่มี ไม่มี
13U 21 – 25 มกราคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 55 กม./ชม. 999 hPa (29.50 นิ้วปรอท) รัฐควีนส์แลนด์ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
โอมา 7 – 22 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 100 กม./ชม. 979 hPa (28.91 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์ &0000000000700000000000700 พัน &0000000000500000000000500 พัน 1
15U 6 – 11 มีนาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1007 hPa (29.74 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาลูกู ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ซะแวนนาห์ 7 – 17 มีนาคม พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 175 กม./ชม. 951 hPa (28.08 นิ้วปรอท) เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) &00000000068700000000006.87 ล้าน &00000000048400000000004.84 ล้าน 12 [35][36]
18U 13 – 14 มีนาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เทรเวอร์ 15 – 26 มีนาคม พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 175 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี &00000000010000000000001 ล้าน &0000000000710000000000710 พัน ไม่มี
วิรอนิกา 18 – 31 มีนาคม พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 195 กม./ชม. 938 hPa (27.70 นิ้วปรอท) เกาะติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย &00000022000000000000002.2 พันล้าน &00000016000000000000001.6 พันล้าน ไม่มี [37]
TL 31 มีนาคม – 3 เมษายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของปาปัวนิวกินี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
วอลลิซ 1 – 16 เมษายน พายุโซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 120 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, หมู่เกาะมาลูกู, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย,
เกาะติมอร์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
22U 5 – 15 เมษายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 65 กม./ชม. 1005 hPa (29.68 นิ้วปรอท) เกาะนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี,
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TL 21 – 26 เมษายน ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ลีลี 4 – 11 พฤษภาคม พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 75 กม./ชม. 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) อินโดนีเซียตะวันออก, ติมอร์ตะวันออก, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่มี
แอนน์ 9 – 18 พฤษภาคม พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 95 กม./ชม. 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย, รัฐควีนส์แลนด์ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
25 ลูก 26 กันยายน – 18 พฤษภาคม 195 กม./ชม. 938 hPa (27.70 นิ้วปรอท) &00000022430000000000002.24 พันล้าน &00000016310000000000001.63 พันล้าน 14


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 National Climate Centre (8 October 2018). "Australian Tropical Cyclone Outlook for 2018 to 2019: Lower number of cyclones likely for Australia". Australian Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
  2. Perth Tropical Cyclone Warning Centre (10 October 2016). "Western Australia Seasonal Tropical Cyclone Outlook 2016–17". Australian Bureau of Meteorology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 10 October 2016.
  3. "12 UTC Gradient Level Wind Analysis Chart". Bureau of Meteorology. 1 November 2018.
  4. "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 9 November 2018.
  5. "Moderate Tropical Storm Bouchra Forecast Track Map". Météo-France La Réunion. 10 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2018.
  6. "Current Tropical Cyclone Basin Activity". Meteorology, Climatology and Geophysical Agency. 10 พฤศจิกายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2018.
  7. "Tropical Cyclone 04S Warning #1". Joint Typhoon Warning Center. 10 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2018.
  8. "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 10 November 2018.
  9. "Bouchra Analysis Bulletin #2" (PDF). Météo-France La Réunion. 11 November 2018.
  10. 10.0 10.1 "Tropical Activity Bulletin" (PDF). Météo-France La Réunion. 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  11. "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 13 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 14 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  13. "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 29 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  14. "Tropical Cyclone Formation Alert (Owen)". Joint Typhoon Warning Center. 30 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.
  15. "Tropical Cyclone 05P (Owen) Warning #1". Joint Typhoon Warning Center. 2 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  16. 16.0 16.1 "Tropical Cyclone Owen Forecast Track Map #3". Bureau of Meteorology. 2 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  17. "Tropical Cyclone Owen Advice 39". Bureau of Meteorology. 15 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-15. สืบค้นเมื่อ 15 December 2018.
  18. 18.0 18.1 "Man swept to his death after ex-cyclone Owen's record rain, as crocs let loose". The New Daily. 16 December 2018. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
  19. "Ex-Cyclone Owen downgraded to tropical low half a day after crossing Queensland coast". Australian Broadcasting Corporation. 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 15 December 2018.
  20. "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 9 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2018.
  21. "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 27 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 28 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2018.
  23. "12 UTC Australian Region MSLP Analysis" (PDF). Bureau of Meteorology. 28 ธันวาคม 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2018.
  24. "Weekly Tropical Climate Note". Bureau of Meteorology. 18 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2018.
  25. "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 31 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  26. "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 30 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 December 2018.
  27. "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 3 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
  28. 28.0 28.1 "Weekly Tropical Climate Note". Bureau of Meteorology. 26 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  29. "Northern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 1 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  30. "Tropical Cyclone Technical Bulletin #13 (Wallace)". Bureau of Meteorology. 7 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  31. "Tropical Cyclone 23S (Wallace) Warning #16". www.webcitation.org. 2019-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  32. 32.0 32.1 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast Indian Ocean, 2014 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.
  33. Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
  34. Weather, Climate & Catastrophe Insight: 2018 Annual Report (PDF) (Report). AON Benfield. January 22, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ January 24, 2019.
  35. Bagus, Rahadian (7 March 2019). "Kecelakaan Mobil di Jalan Tol Madiun-Surabaya, Bocah 5 Tahun Tewas" (ภาษาอินโดนีเซีย). Tribunnews. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  36. Muryanto, Bambang (18 March 2019). "Five dead, one missing after flooding, landslides in Yogyakarta". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
  37. Dyer, Glenn (2 April 2019). "Rio Confirms Cyclone Veronica Damage". ShareCafe. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]