ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564 |
---|
 แผนที่สรุปฤดูกาล |
ขอบเขตฤดูกาล |
---|
ระบบแรกก่อตัว | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 |
---|
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 24 เมษายน พ.ศ. 2564 |
---|
พายุมีกำลังมากที่สุด |
---|
|
ชื่อ | นิรัน |
---|
• ลมแรงสูงสุด | 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที) |
---|
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 931 hPa (มิลลิบาร์) |
---|
|
สถิติฤดูกาล |
---|
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน | 26 ลูก |
---|
พายุไซโคลนเขตร้อน | 8 ลูก |
---|
พายุไซโคลนกำลังแรง | 3 ลูก |
---|
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | ทั้งหมด 229 |
---|
ความเสียหายทั้งหมด | 680.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2021) |
---|
|
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย 2561–62, 2562–63, 2563–64, 2564–65, 2565–66 |
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 01U (บองโกโย)
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 02U
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 03U
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 04U
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 08U
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 10U
[แก้]
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 12U
[แก้]
พายุไซโคลนกำลังแรงแมเรียน
[แก้]
พายุไซโคลนกำลังแรงนิรัน
[แก้]
พายุไซโคลนกำลังแรงเซอโรจา
[แก้]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[1] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของออสเตรเลีย ถูกนำมาใช้ 7 ชื่อ
- อิโมเจน
- จอชัว
- คิมมี
- ลูคัส
- แมเรียน
- นิรัน
- โอเดตต์
|
ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[1] โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของ TCWC จาการ์ตา ถูกนำมาใช้ 1 ชื่อ
พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[2] โดยในฤดูกาลนี้ ไม่มีชื่อพายุในรายการของ TCWC พอร์ตมอร์สบี ถูกนำมาใช้เลย