ลาวเทิง

ลาวเทิง
ภาพของชาวลาวเทิง (ขวา) กับชาวลาวสูงและลาวลุ่ม
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 2 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ลาว
ภาษา
ภาษาลาว
ศาสนา
นับถือผี

ลาวเทิง (ลาว: ລາວເທິງ; ALA-LC: lāo thœng ; ออกเสียง: [láːw tʰɤŋ]) เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการที่ประเทศลาวใช้เรียกประชาชนในลาวที่ไม่ใช่ลาวลุ่มและลาวสูง มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนใหญ่พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ใน พ.ศ.2536 มีจำนวนเป็น 24% ของประชากรลาวทั้งหมด

ประวัติ

[แก้]

ลาวเทิงส่วนใหญ่พูดกลุ่มภาษามอญ-เขมร[1] ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เชื่อว่าเคยเป็นชนส่วนใหญ่ในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเข้ามาในบริเวณนี้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตามตำนานน้ำเต้าปุงของลาวที่ชาวลาวเทิงออกมาจากน้ำเต้าก่อน ปัจจุบัน ลาวเทิงอยู่ในพื้นที่สูงของลาว เคยทำนามาก่อน[2] จนเมื่อชาวลาวลุ่มเข้ามาถึงลาว จึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่สูงขึ้น

วัฒนธรรม

[แก้]

ในประเทศลาว กลุ่มลาวเทิงมักถูกเรียกในภาษาลาวว่าข่าหรือข้า (ลาว: ຂ້າ) แสดงว่ากลุ่มชนนี้เคยถูกใช้เป็นแรงงานของชาวลาวลุ่มมาก่อน[3] มาตรฐานการดำรงชีวิตของลาวเทิงค่อนข้างต่ำกว่าลาวกลุ่มอื่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Christopher R. Duncan (March 3, 2004). "Jan Ovesen: All Lao? Minorities in the Lao People's Democratic Republic.". Civilizing the Margins: Southeast Asian Government Policies for the Development of Minorities. New York: Cornell University Press. p. 216. ISBN 978-0801489303.
  2. Stratification in the peopling of China: how far does the linguistic evidence match genetics and archaeology? (PDF). Human migrations in continental East Asia and Taiwan: genetic, linguistic and archaeological evidence (ภาษาอังกฤษ). Université de Genève. June 10–13, 2004. p. 13.
  3. Murdoch, John B. (1974). "The 1901-1902 Holy Man's Rebellion" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. 62.1 (digital): image 2. ISSN 0304-226X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013. Footnote 8) "Kha" is the common, though somewhat pejorative, term used for the Austroasiatic tribal people of Northeast Thailand, Laos, and Viet-nam. I use it here because it is common parlance in the literature and for lack of a better term.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]