วิกิพีเดีย:การอ้างอิงมากเกินไป

นี่อาจเป็นการใช้แหล่งอ้างอิงที่มากเกินไปสำหรับจุดเดียว

นโยบายวิกิพีเดียนั้นต้องการให้เนื้อหาของบทความพิสูจน์ยืนยันได้ ขณะที่การใช้อ้างอิงท้ายประโยคที่มากเกินไปทำให้เกิด กองระเกะระกะของอ้างอิง ทำให้บทความไม่เป็นระเบียบต่อการอ่านและยากที่จะเข้าแก้ไข หากในหน้านั้นมีอ้างอิงที่ซ้ำกันกับอ้างอิงอื่นในบทความ หรือแค่อ้างอิงที่เนื้อหาซ้ำ ๆ กัน ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ความน่าเชื่อถือของบทความ และยังไม่เป็นการดีต่อการอ่านด้วย

อีกหนึ่งสาเหตุของ "การอ้างอิงมากเกินไป" คือ สงครามแก้ไข ซึ่งจะนำมาดังเห็นได้จากตัวอย่างเช่น "ปฏิสัมพันธ์นิยม คือการศึกษาแขนงหนึ่ง[1][2][3][4][5]" มีการใส่อ้างอิงท้ายประโยคจำนวนมากหลังคำ ผู้แก้ไขมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนความเห็นหรือความโดดเด่นไว้ที่ประเด็นนี้เป็นพิเศษด้วยการใส่อ้างอิง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่ามีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือพอ จากเหตุการณ์คล้าย ๆ กันนี้ จะนำไปสู่การใส่อ้างอิงที่มากเกินไป ดูตัวอย่างที่ ตัวอย่างนี้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ที่หน้าบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษนี้

อีกหนึ่งสาเหตุของการอ้างอิงมากเกินไป คือ ผู้แก้ไขอยากจะให้แหล่งอ้างอิงนั้นปรากฎในบทความ จึงใช้ใส่เข้าไปในท้ายข้อความแม้เนื้อหาจะไม่ค่อยเกี่ยว

จุดประสงค์ของบทความ ที่สำคัญที่สุดคือ การอ่าน บทความที่อ่านข้อมูลไม่ได้ จะไม่ให้ข้อพิสูจน์ยืนยันกับผู้อ่าน นี่ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบทความที่ต้องพิสูจน์ยืนยันได้ การปราศจากอ้างอิง เราจะไม่รู้ว่าบทความนั้นเขียนขึ้นมาจากไหน ยกเว้นแต่เป็นเรื่องสามัญสำนึกที่รู้กันอยู่แล้ว แนะนำให้ใช้สองหรือสามแหล่งอ้างอิงสำหรับข้อมูลที่เกิดการโต้เถียง แต่ควรหลีกเลี่ยงอ้างอิงมากกว่าสาม หากสี่อ้างอิงหรือมากกว่านั้น แนะนำว่าให้รวมอ้างอิง

ไม่เพียงแต่การใส่อ้างอิงมากเกินไปจะส่งผลต่อการอ่านเท่านั้น แต่ยังเกิดข้อสังสัยเรื่องความโดดเด่นของบทความด้วย ผู้แก้ไขอาจพยายามทำให้หัวข้อนั้น ผ่านแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป โดยการใส่แหล่งอ้างอิงจำนวนมาก แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นธงแดงให้แก่ผู้เขียนที่มีประสบการณ์ ทำให้เห็นว่าบทความนี้ควรตรวจสอบอย่างละเอียด

การทิ้งระเบิดความโดดเด่น

[แก้]
การทิ้งระเบิดอ้างอิงในบทความวิกิพีเดีย

อีกรูปแบบหนึ่งของการอ้างอิงมากเกินไปโดยการใส่แหล่งอ้างอิงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่คำนึงว่าจะสนับสนุนความสำคัญหรือโดดเด่นของเนื้อหาในหัวข้อนั้น จุดประสงค์ในการลวงตาเพื่อเพิ่มจำนวนอ้างอิงให้มีอยู่ในบทความให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหวังว่าผู้เขียนอื่นจะยอมรับความโดดเด่นในบทความนั้นโดยไม่ได้ตรวจสอบดี บทความที่พบเป็นประจำคือบทความเกี่ยวกับบุคคลและองค์การ (รวมถึงบริษัท)

ตัวอย่างของการใส่อ้างอิงมากเกินไป

  • อ้างอิงในลักษณะแค่เช็กชื่อว่าหัวข้อนั้นมีอยู่จริง แต่แท้จริงแล้วแทบไม่ได้เกี่ยวกับหัวข้อหรือกล่าวถึงอย่างไม่สำคัญ ตัวอย่างของแหล่งอ้างอิง คือ อ้างคำพูดสั้น ๆ จากแหล่งข่าวในบทความ
  • อ้างอิงโดยหัวข้อก็ไม่เกี่ยวเลย ตัวอย่างเช่น ในบทความระบุสถานที่เกิดของบุคคล แต่อ้างอิงในลักษณะว่า เมืองนั้นมีชื่ออย่างนั้นจริง ๆ ซึ่งก็ไม่ได้สนับสนุนว่าบุคคลนั้นเกิดที่นั่นจริง
  • รายการแหล่งข้อมูลอ้างอิงในลักษณะยัดเยียดอ้างอิง ในลักษณะรายการเนื้อหาที่ไม่ได้สนับสนุนความโดดเด่นเลย ตัวอย่างเช่น บทความเกี่ยวกับนักข่าว ที่พยายามรวบรวมผลงานเขาทั้งหมดว่าเขาทำอะไรบ้าง โดยมักอ้างอิงว่างานเขามีอยู่จริง บทความเกี่ยวกับคนบันเทิงก็จะลงรายการอ้างอิงในทุกผลงานที่เขาร่วมแสดง หรือปรากฎตัวในสื่อ ตั้งแต่รายการทอล์กโชว์ บทสัมภาษณ์ การไปสัมภาษณ์รายการวิทยุ ส่วนบทความเกี่ยวกับนักดนตรีก็จะอ้างอิงโดยลิงก์ฟังเพลงออนไลน์ อย่าง ไอจูนส์ ยูทูบ สปอติฟาย แทนที่จะใช้อ้างอิงจากสื่อที่พูดถึง
  • อ้างอิงที่ใส่เพียงเพื่อสนับสนุนการมีอยู่จริงในรูปแบบอ้างอิง เช่น ได้รับการกล่าวถึงโดย เดอะนิวยอร์กไทม์ แทนที่จะระบุว่า เดอะนิวยอร์กไทม์ ได้กล่าวว่า …. แต่ถึงกระนั้นการอ้างข้อความจาก เดอะนิวยอร์กไทม์ ก็ยังอาจมีปัญหาว่าข้อความที่อ้างนั้นสนับสนุนให้เกิดความโดดเด่นได้หรือไม่ อาจเป็นแค่การเช็กชื่อของหัวข้อนั้น หรืออ้างอิงที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรใหม่นอกเหนือไปจากหัวข้อแล้ว การจะผ่านความโดดเด่นของหัวข้อนั้นไม่ได้เกิดทันทีเพียงเพราะมีคำ ๆ นั้นในบทความ การสนับสนุนความโดดเด่น ควรเป็นเนื้อหาสนับสนุนความสำคัญและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้น ที่ได้กล่าวถึงในบทความด้วย

แม่แบบ

[แก้]