วิถีไนโกรสไตรเอทอล | |
---|---|
![]() แสดงด้วยสีแดงในภาพ | |
![]() แสดงด้วยสีน้ำเงินในภาพ เชื่อมต่อสับสแตนเชียไนกรา กับดอร์ซอลสไตรเอทัม | |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
วิถีไนโกรสไตรเอทอล (อังกฤษ: nigrostriatal pathway) เป็นคู่วิถีโดพามีเนอร์จิกในสมองที่เชื่อมต่อสับสแตนเชียไนกรา พาส์คอมแพกตา (SNc) ในสมองส่วนกลางเข้ากับดอร์ซอลสไตรเอทัม (คือคอว์เดทนิวเคลียส กับ พูทาเมน) ในสมองส่วนหน้า เป็นหนึ่งในสี่วิถีโดพามีนของสมอง มีบทบาทสำคัญในการสร้างการขยับร่างกายในฐานะส่วนหนึ่งของระบบลูปมอเตอร์ของบาซัลแกงเกลีย เซลล์ประสาทโดพามีเนอร์จิกในวิถีจะหลั่งโดพามีนจากปลายอักซอนที่ไซแนปส์เข้าสู่เซลล์ประสาทแหลมตัวกลาง (medium spiny neurons; MSNs) หรือ เซลล์ประสาทแหลมส่งต่อ (spiny projection neurons; SPNs) ซึ่งเป็นกาบาเออร์จิก[1][2] ซึ่งอยู่ในสไตรเอทา
การเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทใน SNc เป็นหนึ่งในลักษณะทางพยาธิวิทยาหลักของโรคพาร์คินสัน[3] ส่งผลให้เกิดการผลิตโดพามีนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนำไปสู่อาการผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่ลดลงของโรค รวมถึง ไฮโปคิเนเซีย, สั่น, แข็ง (rigidity), และ ความไม่มั่นคงในการยืน