วูยิซิเล โคลอสซา | |
---|---|
เกิด | วูยิซิเล โคลอสซา 28 มิถุนายน พ.ศ. 2525 |
วูยิซิเล โคลอสซา[1] (อังกฤษ: Vuyisile Colossa) หรือฉายา เดอะชีต้า[2] เกิดวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2525[3] เป็นที่รู้จักในฐานะของนักมวยไทยชาวแอฟริกาใต้ที่สามารถชนะยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์ มาแล้วครั้งหนึ่ง[2] รวมทั้งยังเป็นนักมวยคิกบ็อกซิงรุ่นมิดเดิลเวท ตลอดจนเป็นนักต่อสู้แบบผสม[4] ด้วยส่วนสูง 178 เซนติเมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)[5] ปัจจุบันเขาอยู่สังกัดทีมเวอร์ซัส (Team Versus)[6] และพำนักอยู่ที่เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง[6] ล่าสุดเขาได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันคิงส์คัพ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่ประเทศไทย โดยได้พบกับยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์ อีกครั้ง ซึ่งวูยิซิเลเป็นฝ่ายแพ้ในการแข่งขันครั้งดังกล่าว[7]
ในปี พ.ศ. 2539 เขาได้เริ่มต้นอาชีพในระดับชั้นมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเลอเซดดิงเทคนิคอลสคูล (Leseding Technical School)[3] ที่ซึ่งเขาได้เลือกที่จะเข้าร่วมทีมเบสบอลกับคริกเกตเป็นอันดับแรก ตลอดจนเลือกที่จะเข้าร่วมทีมบาสเก็ตบอลเป็นกีฬาอันดับต่อมา นอกจากนี้ เขายังเข้าร่วมเป็นตัวสำรองของทีมรักบี้ด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2540 วูยิซิเลได้เดินทางไป THS เวลคอม และได้เลือกเข้าเป็นสมาชิกทีมฮอกกี้เป็นอันดับแรก รวมทั้งเป็นสมาชิกของทีมกรีฑา และเป็นตัวสำรองของทีมรักบี้[3]
วูยิซิเลเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถหลากหลาย ในสมัยเยาว์วัย เขามีความถนัดด้านเบสบอล, ฮอกกี้, คริกเกต และกรีฑา[2] ต่อมาในวัย 15 ปี เขาได้เบนความสนใจมายังกีฬาคิกบ็อกซิง[2] และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาต่อสู้เป็นประจำนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในพ.ศ. 2541 เมื่อวูยิซิเลมีอายุได้ 15 ปี ก็ได้เริ่มเข้าร่วมในกีฬาคิกบ็อกซิง[8] และในกีฬาใหม่ที่น่าตื่นเต้นนี้เอง ที่ทำให้วูยิซิเลได้กลายเป็นแชมเปี้ยนในเวลาต่อมา เขาได้รับรางวัลอันดับสามในการแข่งขันฟรีสเตท รวมไปจนถึงทีมแอฟริกาใต้อันดับหนึ่ง และได้รับรางวัลเหรียญทองแดงในการแข่งขัน SA ไฟท์ติ้ง
ในปี พ.ศ. 2542 เขาชนะการแข่งขันเดอะบิ๊กไฟว์แชมเปี้ยนชิป และได้ที่สองในการแข่งขันฟรีสเตท ทั้งยังบรรลุเป้าสำหรับตำแหน่งที่สองของ 2000 SA แชมเปี้ยนชิป และในปี พ.ศ. 2544 เขามาเป็นที่สามในศึกของ SA ไทรอัลส์ ในพริทอเรียและได้รับรางวัลในฐานะเป็นผู้สร้างสีสันให้กับชาติของเขา โดยได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของแอฟริกาใต้ ในการรับรางวัลที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ในปี พ.ศ. 2545 วูยิซิเลได้รับรางวัลพรีเมียร์ยูธ ในบลูมฟอนเทน เขาได้รับเกียรติจากทั้งภาคกีฬา, ศิลปะ, วัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จในระดับพิเศษของทางด้านกีฬา ในปีเดียวกันนี้ เขาก็ได้หวนกลับคืนสู่การแข่งขันระดับอาชีพ และสามารถเอาชนะในสองรายการแรก ซึ่งได้แก่ เซาท์แอฟริกัน ฟูลคอนแท็ค คิกบ็อกซิ่ง กับรายการ เดอะริงคอนแท็ค ไฟท์ติ้งอาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล เวลเทอร์เวท คิกบ็อกซิ่งแชมเปี้ยน
ในปี พ.ศ. 2546 เขาได้รับมงกุฎในฐานะเป็นแชมเปี้ยนของเซาท์แอฟริกัน โปรเฟสชั่นแนลคิกบ็อกซิง เคาน์ซิล รุ่นมิดเดิ้ลเวท[8][9] เป็นแชมเปี้ยนมวยไทย ตลอดจนเป็นผู้ที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศของรายการ W.A.K.O โปรเวิลด์[9] และในเดือนธันวาคมของปีนั้น เขาได้รับเกียรติสายดำอันดับหนึ่งในริงคอนแท็ค ไฟท์ติ้งอาร์ท นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 เขาได้ตำแหน่งรองชนะเลิศในรายการ เดอะคิงออฟเดอะริง เวิลด์ไตเติ้ล จากนั้นเขาได้ร่วมแข่งขันเค-วัน ไฟท์ติ้งเน็ตเวิร์กอารีนา เป็นครั้งแรก
ตั้งแต่ใช้ชีวิตอยู่ในฮ่องกง วูยิซิเลได้เข้าร่วมแข่งขันที่พลาเน็ตแบทเทิลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยได้พบกับนฤพนธ์ แฟร์เท็กซ์ จากประเทศไทย ซึ่งเป็นนักมวยไทยของรายการ เดอะ คอนเทนเดอร์เอเชีย 2008 ซึ่งเป็นผู้ครองตำแหน่งรองของรายการนั้น และอีกครั้งที่พลาเน็ตแบทเทิลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยได้พบกับยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์ จากประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ชนะรายการ เดอะ คอนเทนเดอร์เอเชีย 2008 หลังจากนั้น เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน I-1 เวิลด์แกรนด์สแลมที่ฮ่องกงในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และ I-1 แกรนด์เอ็กซ์ตรีมที่มาเก๊าในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และได้เป็นที่สองในการแข่ง 4-แมน ทัวร์นาเมนท์ ของทั้งสองรายการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นอกจากกีฬาคิกบ็อกซิ่ง วูยิซิเลยังมีพัฒนาการทางด้านมวยไทย, เค-วัน, มวยสานต้า รวมไปจนถึงศิลปะการต่อสู้แบบผสมที่เขาเข้าร่วมในปัจจุบัน[2] จากการที่วูยิซิเลเคยเป็นแชมป์มวยไทยมาก่อน ทำให้เขาได้เคล็ดลับสำหรับการต่อสู้แบบผสมมาจากศิลปะมวยไทยดังที่กล่าวมา[10] นอกจากนี้ ในช่วงที่เขาเดินเข้าสู่เวทีการแข่งขันจะมีการบรรเลงเพลงแบบดั้งเดิมของแอฟริกันร่วมประกอบด้วย[10]
สถิติการแข่งขันศิลปะการต่อสู้แบบผสม | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะ 2 ครั้ง (ยอมแพ้ 1 ครั้ง น็อคเอ๊าท์ 1 ครั้ง), แพ้ 0 ครั้ง
คำอธิบาย: ชนะ แพ้ เสมอ/ถอนสิทธิ์ หมายเหตุ |
สถิติการแข่งขันมวยไทยและคิกบ็อกซิ่ง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะ 27 ครั้ง (ทีเคโอ 14 ครั้ง, กรรมการตัดสิน 13 ครั้ง), แพ้ 10 ครั้ง
คำอธิบาย: ชนะ แพ้ เสมอ/ถอนสิทธิ์ หมายเหตุ |
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)