ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ศักดิ์สยาม ใน พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[1][a]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ถัดไปอธิรัฐ รัตนเศรษฐ (รักษาการ)
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 17 มกราคม พ.ศ. 2567[b]
ก่อนหน้าพรทิวา นาคาศัย
ถัดไปไชยชนก ชิดชอบ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 17 มกราคม พ.ศ. 2567[c]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดบุรีรัมย์
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[d]
ก่อนหน้าโสภณ เพชรสว่าง
ประกิจ พลเดช
ถัดไปสนอง เทพอักษรณรงค์
ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
เขตเลือกตั้งเขต 3
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2543–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน)
ทรัพย์สินสุทธิ111 ล้านบาท
(พ.ศ. 2568)[2]

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น โอ๋ นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย อดีตประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประวัติ

[แก้]

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (62 ปี) ที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายชัย ชิดชอบ กับนางละออง ชิดชอบ (เป็นน้องชายของนายเนวิน ชิดชอบ และพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง รุ่น 33) ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (พ.ศ. 2531)

การทำงาน

[แก้]

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ)[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]

ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการแต่งตั้งให้ศักดิ์สยาม เป็นประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก[5]

พรรคภูมิใจไทย

[แก้]

ศักดิ์สยาม ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมือง และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[6] ซึ่งก่อนหน้านั้นพี่ชาย (เนวิน ชิดชอบ) ได้ประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 15[7] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[8] และในรัฐบาลสมัยที่ 2 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 นับเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์การระบาดจากคริสตัลคลับ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ[9] ต่อมามีการเปิดเผยไทม์ไลน์ย้อนหลังของเขา พบว่าไม่ระบุว่าเคยเดินทางไปคริสตัลคลับ โดยอ้างว่าติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรี[10] นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าเขาสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์แก้ไทม์ไลน์กลางดึก[11] เขาแจ้งความเอาผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับผู้ที่โพสต์รูปถ่ายบุคคลในผับซึ่งเขาอ้างว่าทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเขา[12] วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการเปิดเผยว่ามีผู้ติดเชื้อจากเขาแล้ว 7 คน[13]

ต่อมา ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจศักดิ์สยามในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 เรื่องการปกปิดทรัพย์สินในบัญชีที่จำเป็นต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ผ่านตัวแทนอำพราง โดยไม่ปรากฏหลักฐานการซื้อขายหุ้นในบัญชีทรัพย์สิน และยังนำ หจก.นี้มาเป็นคู่สัญญากับรัฐเพื่อรับงานในกระทรวงคมนาคม เข้าข่ายฮั้วประมูลและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งอาจทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ[14] ส่งผลให้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นจำนวน 54 คน เข้าชื่อยื่นคำร้องต่อชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรวจสอบการขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของศักดิ์สยาม[15] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ศักดิ์สยาม ชิดชอบ หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี[16]

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเสียงข้างมาก 7:1 ตัดสินให้ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่มีคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[17] ส่งผลให้ในวันเดียวกัน ศักดิ์สยามได้ยื่นหนังสือถึงวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ส่งผลให้ชนม์ทิดา อัศวเหม ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 เลื่อนลำดับขึ้นเป็น สส. แทน ก่อนจะลาออกในอีก 2 วันถัดมา[18] และในวันเดียวกันศักดิ์สยามได้ยื่นหนังสือถึงอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ขอลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยด้วย[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีรวม 3 ปี 236 วัน
  2. ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรวม 11 ปี 95 วัน
  3. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 4 ปี 299 วัน
  4. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 5 ปี 49 วัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดตุลาการศาล รธน. 7:1 เสียง ให้ "ศักดิ์สยาม" พ้นรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. กรุงเทพธุรกิจ, โสด รวย ไร้หนี้ เปิดกรุ 'ศักดิ์สยาม ชิดชอบ' ยื่นพ้นตำแหน่งมีทรัพย์สิน 111 ล้าน, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568
  3. เปิดใจ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" ไขปริศนา..นอมินี "พี่เนวิน"
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
  6. อนุทินนั่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๒, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  9. ""ศักดิ์สยาม" ประเดิมติดโควิดคนแรกใน ครม. นายกฯ บอก "ก็รักษากันไป"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
  10. "เปิดยิบ! ไทม์ไลน์ "ศักดิ์สยาม" ผู้ป่วยโควิดบุรีรัมย์ พบกลับบ้านหัวค่ำ ไม่โผล่สถานบันเทิง ระบุชัดติดจาก จนท.สำนักงาน รมว". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  11. ""ศักดิ์สยาม" สั่ง สสจ. บุรีรัมย์ แก้ไทม์ไลน์ใหม่ รายละเอียด 23-25 มี.ค.ผิด". ประชาชาติธุรกิจ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  12. ""ศักดิ์สยาม" แจ้งความ พ.ร.บ. คอมฯ ชาวเน็ต ปมว่อนภาพชายหน้าคล้าย". ประชาชาติธุรกิจ. 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  13. "สอบสวนโรค พบผู้สัมผัสเสี่ยง "ศักดิ์สยาม" ติดโควิดแล้ว 7 คน". ไทยรัฐ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  14. "ก้าวไกล แฉ "ศักดิ์สยาม" ซุกหุ้นใช้ลูกจ้างเป็นนอมินีเอาบริษัทตัวเองรับงาน ก.คมนาคม". ผู้จัดการออนไลน์. 19 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ปย.ขัดกัน! ฝ่ายค้าน'ยื่น'ชวน'ส่ง'ศาล รธน.'วินิจฉัย'ศักดิ์สยาม'สิ้นสภาพ'รมต.-ส.ส.'หรือไม่". สำนักข่าวอิศรา. 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี
  17. "เปิดตุลาการศาล รธน. 7:1 เสียง ให้ "ศักดิ์สยาม" พ้นรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "'เพลง ชนม์ทิดา' ยื่นลาออกจาก ภูมิใจไทย 'นันทนา สงฆ์ประชา' เสียบแทนแทน". คมชัดลึกออนไลน์. 2024-01-19.
  19. "ศักดิ์สยาม ไขก๊อกเก้าอี้เลขาฯภท.-สส.แล้ว ขยับ 'น้องเพลง ชนม์ทิดา' ขึ้นเป็น สส". ข่าวสด. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๑๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๓
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๑, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถัดไป
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(10 กรกฎาคม 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
3 มีนาคม พ.ศ. 2566 (หยุดปฏิบัติหน้าที่))
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ