ศาสนาอิสลามในประเทศโอมาน (ประมาณ ค.ศ. 2020)[1]
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศโอมานที่นำเข้าในช่วงชีวิตของมุฮัมมัดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ท่านแต่งตั้งให้อัมร์ อิบน์ อัลอาศเป็นผู้ว่าการจนกระทั่งมุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 อัมร์กับซะอีด อิบน์ เอาส์ อัลอันศอรีส่งจดหมายของมุฮัมมัดไปยังพี่น้องอัลญูลันดา ผู้ปกครองโอมาน เพื่อเชิญชวนให้เข้ารับอิสลาม ปัจจุบัน ประชากรโอมานร้อยละ 85.9 นับถือศาสนาอิสลาม โดยแบ่งเป็นผู้นับถือนิกายซุนนีเกือบมากกว่าร้อยละ 45 และประมาณร้อยละ 45 นับถือนิกายอิบาฎียะฮ์ ส่วนร้อยละ 5 นับถือนิกายชีอะฮ์[2][3]
ศาสนาอิสลามกระจายเข้าโอมานอย่างสันติสุขในช่วงต้นคริสต์ศตศวรรษที่ 7 ตอนแรกประเทศโอมานนับถือนิกายซุนนีที่ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของอัมร์ อิบน์ อัลอาศ[4] ภายหลังนิกายอิบาฎียะฮ์ สาขาหนึ่งของเคาะวาริจญ์ สถาปนาตนเองในโอมานหลังหลบหนีจากบัสราในประเทศอิรักปัจจุบัน รัฐอิบาฎียะฮ์แรกสถานปนาขึ้นในโอมานเมื่อ ค.ศ. 750 ในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังการล่มสลายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ แต่ตกเป็นของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 752 รัฐอิบาฎีอีกแห่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 793 จนกระทั่งฝ่ายอับบาซียะฮ์ยึดครองกลับใน ค.ศ. 893[5] ในศตวรรษต่อมา ได้มีการฟื้นฟูรัฐอิหม่ามอิบาฎียะฮ์ขึ้นในยุคปัจจุบัน และยังคงอยู่ในโอมาน รวมถึงราชวงศ์ด้วย ราชาธิปไตยในปัจจุบันที่โค่นล้มรัฐอิหม่ามอิบาฎี ก็อยู่ในนิกายอิบาฎียะฮ์ด้วย[6]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |