ชื่อย่อ | ซีซีเอส / เอสซีซี |
---|---|
ประเภท | องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อยู่ ณ ประเทศแคนาดา |
สถานะตามกฎหมาย | ยังคงดำเนินการ |
วัตถุประสงค์ | การป้องกันโรคมะเร็ง, ข้อมูล, เกื้อกูล, การสนับสนุนและการวิจัย |
สํานักงานใหญ่ | โทรอนโต รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ประเทศแคนาดา |
ภาษาทางการ | อังกฤษ, ฝรั่งเศส |
กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | พาเมลา ฟราลิค, กรรมการสถาบันองค์กร โดยการแต่งตั้ง |
พนักงาน | 1,200 คน |
อาสาสมัคร | 140,000 คน |
เว็บไซต์ | http://www.cancer.ca/ |
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดา (อังกฤษ: Canadian Cancer Society; ฝรั่งเศส: Société canadienne du cancer) เป็นองค์กรการกุศลระดับชุมชน และระดับประเทศ ของอาสาสมัครที่มีภารกิจคือการกำจัดโรคมะเร็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีชีวิตอยู่กับโรคดังกล่าว
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดา เป็นองค์กรการกุศลด้านโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึงเป็นผู้ระดมทุนการกุศลสำหรับการวิจัยโรคมะเร็ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา
ความคิดในการก่อตั้งสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดาเดิมมาจากสมาคมการแพทย์รัฐซัสแคตเชวันในปี ค.ศ. 1929 เมื่อพวกเขาได้จัดตั้งคณะกรรมธิการโรคมะเร็งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดา
ในปี ค.ศ. 1937 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้แนะนำการก่อตั้งขององค์กรใหม่ ซึ่งต่อมาได้เรียกในชื่อสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดาสำหรับการควบคุมของโรคมะเร็ง
สมาคมได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในทศวรรษต่อมา ในปี ค.ศ. 1938 เพื่อให้ความรู้แก่ชาวแคนาดาเกี่ยวกับสัญญาณเตือนแรกของโรคมะเร็ง โดยในเวลานั้น หลายคนไม่ได้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ กระทั่งเข้าสู่การเยียวยาของโรคมะเร็งระยะลุกลาม
ในปี ค.ศ. 1947 ทางสมาคมได้เริ่มระดมทุนการวิจัยโรคมะเร็งผ่านการสร้างสถาบันมะเร็งแห่งชาติแคนาดา ที่มาจากข้อตกลงระหว่างสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดา กับกรมอนามัยและสวัสดิการแห่งชาติ สมาคมยังคงให้เงินทุนสนับสนุนการวิจัยโรคมะเร็งในสถาบันวิจัยของสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดา
สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดาเป็นองค์กรชุมชนระดับประเทศ ของอาสาสมัครที่มีภารกิจคือการกำจัดโรคมะเร็ง และการเพิ่มประสิทธิภาพของคุณภาพชีวิตผู้คนที่มีชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดา เป็นองค์กรการกุศลด้านโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึงเป็นผู้ระดมทุนการกุศลสำหรับการวิจัยโรคมะเร็ง ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
โดยพึ่งพาผู้บริจาคและอาสาสมัครสนับสนุน ซึ่งสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศแคนาดาได้ตอบสนองภารกิจของตนโดย:[1]