สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ

สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ
พระรูปใน ค.ศ. 1953
ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง6 เมษายน – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1960
ก่อนหน้าจวบ แฮล (ในฐานะรักษาการประมุขแห่งรัฐ)
ถัดไปจวบ แฮล (ในฐานะรักษาการประมุขแห่งรัฐ)
นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม ค.ศ. 1945 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1946
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ก่อนหน้าเซิน หง็อก ถั่ญ
ถัดไปนักองค์มจะสีสุวัตถิ์ ยุตติวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1960
นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการสัก สุตสคาน
ประสูติ25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909(1909-11-25)
พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์กันยายน ค.ศ. 1975 (65 ปี)
พนมเปญ กัมพูชา
พระชายาปก รอเซตเต วานิ
พระบุตรนักองค์มจะสีสุวัตถิ์ รัตนะ
นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ รักษ์มณี
นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ มุนีโสวัตถิ์
นักองค์มจะสีสุวัตถิ์ พงษ์มณี
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
ราชสกุลสีสุวัตถิ์
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระราชมารดาสมเด็จพระอัครมเหสี มหากษัตรีย์ นโรดม กานวิมาน นรลักข์เทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท
อาชีพทหาร นักการเมือง
พรรคการเมืองสังคมราษฎรนิยม (ค.ศ. 1955–1970)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
แผนก/สังกัดฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศส
กัมพูชา กองทัพกัมพูชา
ชั้นยศพลเอก
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง

สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ (เขมร: ស៊ីសុវត្ថិ មុន្នីរ៉េត; อังกฤษ: Sisowath Monireth) ประสูติเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสระหว่าง 17 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2489 พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชสกุลสีสุวัตถิ์ผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ แต่ฝรั่งเศสเลือกนักองค์ราชวงศ์ นโรดม สีหนุ พระภาคิไนย ให้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน

พระองค์เสด็จไปเรียนวิชาทหารที่ประเทศฝรั่งเศส และทรงอาสาเข้าร่วมรบกับกองทัพฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งเยอรมันยึดฝรั่งเศสได้ พระองค์จึงเดินทางกลับกัมพูชา[1] กลุ่มลูกเสือระยะเริ่มต้นในกัมพูชาที่เรียกว่า "องค์การเขมรกายาฤทธิ์" (เขมร: អង្គការខេមរកាយារិទ្ធិ Ankar Khemarak Kayarith) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 โดยสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ ทรงเป็นผู้นำควบคู่กับเตม อิม และปก เทียม ในช่วงแรกนี้ กิจการลูกเสือได้แพร่หลายไปยังหลายจังหวัด

เมื่อฝรั่งเศสกลับมายังกัมพูชาอีกครั้งเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง พระองค์อยู่ในฝ่ายที่เห็นว่าควรจะยอมฝรั่งเศสโดยไม่ต้องต่อต้าน[1] พระองค์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้จัดตั้งกองทัพกัมพูชาตามแบบการทหารสมัยใหม่ ภายใต้ความยินยอมของฝรั่งเศสที่กลับเข้ามายึดครองกัมพูชาอีกครั้ง ต่อมาจึงเป็นกองกำลังผสมฝรั่งเศส-เขมรในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489[2] พระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องการเหตุการณ์รัฐประหารต่อต้านสถาบันกษัตริย์ใน พ.ศ. 2488 สมเด็จพระนโรดม สีหนุจึงขอให้พระองค์ลดบทบาททางการเมืองลง[1] หลังจากพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์ได้เป็นประมุขรัฐในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่าง 6 เมษายน ถึง 13 มิถุนายน พ.ศ. 2503

พระองค์เป็นที่ปรึกษาทางทหารให้แก่สมเด็จพระนโรดม สีหนุระหว่าง พ.ศ. 2506-2513 หลังรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2513 พระองค์ถูกฝ่ายของลน นล คุมขังระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2516 ในเหตุการณ์พนมเปญแตกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 พระองค์เสด็จมาถึงสถานทูตฝรั่งเศสเพื่อขอลี้ภัยแต่ถูกปฏิเสธ[3] พระองค์ถูกเขมรแดงประหารชีวิตในเดือนกันยายน พ.ศ. 2518

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ธิบดี บัวคำศรี. ประวัติศาสตร์กัมพูชา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. เมืองโบราณ. 2555
  2. http://lcweb2.loc.gov/cgi-bin/query/r?frd/cstdy:@field(DOCID+kh0160)
  3. (ฝรั่งเศส) Philippe Broussard, « Le jour où la France céda aux Khmers rouges », dans L'Express, 12 mai 2009 [1] เก็บถาวร 2016-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน