สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2072–2076 (4 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ถัดไปสมเด็จพระรัษฎาธิราช
พระราชสมภพพ.ศ. 2045
พระอาทิตยวงศ์
สวรรคตพ.ศ. 2076 (31​ พรรษา)
พระราชบุตรสมเด็จพระรัษฎาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พ.ศ. 2045 – พ.ศ. 2076) มีพระนามเดิมว่าพระอาทิตยวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 11แห่งกรุงศรีอยุธยาจากราชวงศ์สุพรรณภูมิ เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2072 ถัดจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อพระชนม์​มายุ​ 27 พรรษาจวบจนสวรรคตด้วยไข้ทรพิษ /ต้องพระแสงปืนจนกลับมาสวรรคตที่กรุงศรีอยุธยาในสงครามกับอาณาจักรล้านช้าง

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 มีพระนามเดิมว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระอาทิตยวงศ์[1] พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2045 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2[2] ทรงดำรงตำแหน่ง "หน่อพุทธางกูร" ซึ่งกฎมนเทียรบาลว่าเป็นตำแหน่งสำหรับพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี และเป็นตำแหน่งพระราชโอรสชั้นสูงสุด[3]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลก จนกระทั่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตจึงได้เสวยราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยาต่อ เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร[4]

แต่ศักราชในพระราชพงศาวดารระบุต่างกัน โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล, พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม, และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุตรงกันว่าในปี พ.ศ. 2049 ได้ครองเมืองพิษณุโลก จนปี พ.ศ. 2052 จึงได้ครองกรุงศรีอยุธยา แต่พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กลับระบุว่า พ.ศ. 2069 ได้ครองเมืองพิษณุโลก และ พ.ศ. 2072 จึงได้ครองกรุงศรีอยุธยา คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักนายกรัฐมนตรี เห็นว่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ น่าเชื่อถือที่สุด[3] ฉะนั้น ตามพงศาวดารนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ทรงอยู่ในราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. 2072 ถึง พ.ศ. 2076 รวม 4 ปี

พระราชกรณียกิจ

[แก้]

พงศาวดารไทยไม่ได้บันทึกพระราชกิจสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ไว้ อาจเป็นเพราะทรงครองราชย์ไม่นาน แต่ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต ว่า พระองค์โปรดสงคราม เฉลียวฉลาด ทรงตั้งผู้ใจบุญและซื่อสัตย์ให้ดำรงตำแหน่งทางตุลาการ และทรงรักษาความยุติธรรม แต่ทั้งรัชกาล ทรงทำสงครามกับอาณาจักรล้านช้างและอาณาจักรหงสาวดี ทำให้บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย[3]และมีหลักฐานบางแห่งกล่าวว่าทรงทำสงครามกับอาณาจักร​ล้านช้างจนเป็นเหตุให้พระองค์ได้รับบาด​เจ็บเพราะต้องพระแสงปืนและเสด็จสวรรคตกะทันหันที่อยุธยา​

สวรรคต

[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ประชวรพระโรคไข้ทรพิษเสด็จสวรรคต[3] สมเด็จพระราชกุมารพระราชโอรสของพระองค์จึงได้เสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระรัษฎาธิราช[3] อย่างไรก็ตามมีหลักฐานบางแห่ง กล่าวว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เสด็จสวรรคตจากการทำสงครามกับล้านช้างเพราะต้องพระแสงปืนทำให้ทรงได้รับบาดเจ็บและกลับมาสวรรคตที่อยุธยา​

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ได้แก่

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 58
  2. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 86
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 86
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 60
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. พระมหากษัตริย์ของไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2560. 208 หน้า. ISBN 978-616-283-320-5
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ถัดไป
สมเด็จพระเชษฐาธิราช
พ.ศ. 2028–2034

พระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา
ผู้ครองเมืองพิษณุโลก

(พ.ศ. 2069-2072)
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
พ.ศ. 2072–2076
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2034–2072

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 2072–2076)
สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร
พ.ศ. 2076