สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย

สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีแห่งฮาวาย
รัชสมัย20 พฤษภาคม ค.ศ. 1819 - 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1824
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีคาอาฮูมานูแห่งฮาวาย
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชินีคาลามาแห่งฮาวาย
ประสูติค.ศ. 1802
สวรรคต8 กรกฎาคม ค.ศ. 1824 (พระชนมายุ 22 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 แห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย
พระนามเต็ม
คามามาลู คาลานี คูอาอานา โอ คาเมฮามาลู เคคูอาอิวา โอ คาลานี เคอาลิอิ โฮโอปิลิ อา วาลู
พระนามาภิไธย
สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย
พระราชบิดาพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 แห่งฮาวาย
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีคาลาคัว คาเฮอิเฮอิมาลิเอ

สมเด็จพระราชินีคามามาลู คาลานี คัวอานา โอ คาเมฮามาลู เคคูอาอิวา โอ คาลานี เคอาลิอิ โฮโอปิลี อา วาลูแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Consort Kamāmalu Kalani-Kuaana-o-Kamehamalu-Kekūāiwa-o-kalani-Kealii-Hoopili-a-Walu of Hawaiʻi) หรือ สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Kamāmalu of Hawaiʻi) (1802–1824) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 แห่งฮาวาย และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1819 ไปสู่การสวรรคตของพระองค์ใน 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1824

พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 และสมเด็จพระราชินีคามามาลู ในลอนดอน ปี 1824

สมเด็จพระราชินีคามามาลูแห่งฮาวาย เสด็จพระราชสมภพเมื่อค.ศ. 1802 เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 แห่งฮาวายกับสมเด็จพระราชินีคาลาคัว คาเฮอิเฮอิมาลิเอ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 แห่งฮาวาย ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับพระองค์ แม้ว่าพระราชสวามีของพระองค์จะทรงมีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่สมเด็จพระราชินีคามามาลูคือพระมเหสีที่พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 ทรงโปรดที่สุด

ในปี 1823 พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 2 และสมเด็จพระราชินีคามามาลู เสด็จพระราชดำเนินเยือนกรุงลอนดอน เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์และพระราชสวามีเป็นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีฮาวายพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนอังกฤษ ขณะอยู่ที่ลอนดอน สมเด็จพระราชินีคามามาลูทรงประชวรด้วยโรคหัดและเสด็จสวรรคตไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1824[1] เมื่อพระราชสวามีของพระองค์ได้เสด็จสวรรคตลงทรงเสียพระทัยมาก และพระบรมศพถูกนำกลับฮาวายทันที พระบรมศพของพระองค์ถูกฝังที่บริเวณพระราชวังโลนานี แต่ต่อมาก็ย้ายไปที่สุสานหลวง[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Stanford T. Shulman; Deborah L. Shulman; Ronald H. Sims (August 2009). "The Tragic 1824 Journey of the Hawaiian King and Queen to London: History of Measles in Hawaii". The Pediatric Infectious Disease Journal. 28 (8): 728–733. doi:10.1097/INF.0b013e31819c9720. PMID 19633516.
  2. Roger G. Rose; Sheila Conant & Eric P. Kjellgren. "Hawaiian standing kahili in the Bishop museum: An ethnological and biological analysis". Journal of the Polynesian Society. Polynesian Society: 273–304. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]