สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[1] ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) สงวน จูฑะเตมีย์ |
ถัดไป | คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2492[2] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[3] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
ประธานอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2492[4] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระองค์เอง พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พระองค์เอง |
ประสูติ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 (65 ปี) วังถนนวิทยุ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
หม่อม | หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา |
พระบุตร | |
ราชสกุล | รังสิต |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 |
ลายพระอภิไธย | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494 |
ชั้นยศ | พลเอก |
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) ทรงมีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428[5] วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 หลังประสูติได้ 11 วัน พระมารดาก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์มาพระราชทานสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า[6]"...ให้มาเป็นลูกแม่กลาง..." สมเด็จพระบรมราชเทวีก็ทรงรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ไว้ในอุปการะ โดยทรงเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชันษาใกล้เคียงกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารที่ประสูติปี พ.ศ. 2421 เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2442[7] จากนั้นทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก โดยมีพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นการส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร"[8] เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2458 ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงครามพระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำกองมหันตโทษ รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์[9] แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2487 ในสมัยรัฐบาลของพันตรีควง อภัยวงศ์[10]
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[11] ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ์ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสกสมรสกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์; ชื่อภาษาอังกฤษ: Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นองค์ต้นราชสกุลรังสิต มีพระโอรส 2 องค์ และพระธิดา 1 องค์ ได้แก่[12][13]
ต่อมาทรงหย่ากันและเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ปัจจุบันคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) มีพระธิดาร่วมกัน 2 คน ได้แก่
ต่อมาสมรสใหม่กับวิลเลียม บี.บูธ มีบุตร 1 คน คือ
ต่อมาสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล
และมีหม่อม 1 คน คือหม่อมพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) มีโอรสร่วมกัน 1 คน คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย
ลำดับการดำรงตำแหน่ง
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ไฟล์:COA of Rangsit.jpg ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร” สิงหนาม ทรงศักดินา 15000 ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง
“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร”
พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
และ |date=
(help)
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปรีดี พนมยงค์ | ![]() |
![]() ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 , 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) |
![]() |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |