สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี | |
---|---|
พระเจ้าเสือ | |
พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี | |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ.2246[1] – พ.ศ. 2251 (5 ปี 3 วัน) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเพทราชา |
ถัดไป | สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ |
พระมหาอุปราช | ดูรายพระนาม |
สมุหนายก | เจ้าพระยาจักรี (ครุฑ) |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2204 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2] |
สวรรคต | พ.ศ. 2251 (47 พรรษา) กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา |
พระอัครมเหสี | สมเด็จพระพันวษา |
สนม | |
พระราชบุตร | สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3] พระองค์เจ้าทับทิม[4] |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเพทราชา |
พระราชมารดา | นางกุสาวดี |
สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (คำให้การชาวกรุงเก่า) หลวงสรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เดื่อ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชวินิจฉัยพระนามว่าเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่8[5] เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 — พ.ศ. 2251
ประชาชนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่าพระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ[6] พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบันได้
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ระบุในหนังสือ ศิลปะมวยไทย ถึงพระองค์ในการปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านมาชกมวยกับนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษชัยชาญ และสามารถชนะนักมวยเอกได้ถึง 3 คน ซึ่งได้แก่ นายกลาง หมัดตาย, นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก[7] ปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์เป็นวันมวยไทย[1]
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงฝึกเจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรผู้เป็นพระราชโอรส ให้มีความสามารถในด้านมวยไทย, กระบี่กระบอง และมวยปล้ำ[8]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเพทราชา[9]
ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสนมซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระยาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่[10] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[11] ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่านางกุสาวดีได้เป็นสนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาทรงพระสุบินว่าเทวดามาบอกว่านางกุสาวดีกำลังตั้งครรภ์พระราชโอรสที่มีบุญมาก แต่พระองค์ได้ปฏิญาณไว้แล้วว่าจะไม่เลี้ยงลูกสนมเนื่องจากเกรงจะก่อกบฏเหมือนพระศรีสิงห์ ทรงนิมนต์พระอาจารย์พรหมมาปรึกษาในพระราชวัง พระอาจารย์พรหมแนะนำว่าควรชุบเลี้ยงไว้เผื่อภายหน้าจะได้สืบราชตระกูล จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาสุรสีห์เอานางกุสาวดีไปเลี้ยงเป็นภรรยา ถ้าได้ลูกชายให้ถือเป็นลูกของตน ถ้าได้ลูกสาวให้ถวายพระองค์ เจ้าพระยาสุรสีห์ปฏิบัติตามรับสั่ง จนทราบว่านางกุสาวดีคลอดลูกชายก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมากแก่กุมารนั้น ภายหลังยังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสรศักดิ์[12]
โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[11]
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ระบุว่าพระนามเดิมของพระองค์คือ มะเดื่อ[13][14] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[15] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก
จดหมายเหตุเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[16] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[11]
อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า "พระยาแสนหลวง" เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับศรีปราชญ์ กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากพระยาแสนหลวงเป็นพระสัสสุระของสมเด็จพระนารายณ์จริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้[17]
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือ (นายเดื่อมหาดเล็ก) สามารถบังคับช้างพลายซ่อมตัวหนึ่งกำลังตกมันได้สำเร็จ[18][19] ช้างพลายซ่อม (หรือพลายส่อม) เป็นช้างเพชฌฆาตสำหรับฆ่าคนโทษถึงตายร้ายกาจยิ่งนัก แม้ครูช้างผู้ใดขับขี่ช้างเข้มแข็งก็มิอาจขี่ช้างตัวนี้ลงน้ำได้ มีเพียงนายเดื่อมหาดเล็กสามารถนำช้างพลายซ่อมไปลงน้ำแล้วพากลับขึ้นมาผูกไว้ ณ โรงที่เดิม กรมช้างก็เอาเหตุมากราบทูลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้ทรงทราบ ทรงปรีดีโสมนัสเห็นว่ามีความสามารถในการบังคับบัญชาช้างถือเป็นวิชาที่สำคัญต่อความเป็นทหารและความเป็นผู้นำ[20] จึงมีดำรัสให้นายเดื่อมหาดเล็กเข้าเฝ้า มีพระราชโองการตรัสว่า "ตัวเอ็งขี่ช้างแกล้วกล้าเข้มแข็งนัก, เอ็งจงเป็นหลวงสรสักดิ์, ไปช่วยราชการบิดาแห่งเอ็งในกรมช้างเถิด"[21] จึงโปรดให้เป็นหลวงสรศักดิ์ รับราชการในกรมพระคชบาล
ในสมัยสมเด็จพระเพทราชาได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งหวังจะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา แต่สมเด็จพระเพทราชากลับทรงโปรดปรานเจ้าพระขวัญ พระราชโอรสของพระองค์และกรมหลวงโยธาทิพ (บางหลักฐานว่ากรมหลวงโยธาเทพ) แถมมีผู้คนมากมายต่างพากันนับถือ ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ เกิดความหวาดระแวงว่าราชสมบัติจะตกไปอยู่กับเจ้าพระขวัญ จึงเกิดเหตุการณ์นำเจ้าพระขวัญมาสำเร็จโทษด้วยไม้ท่อนจันทร์
เมื่อสมเด็จพระเพทราชาซึ่งทรงประชวรทรงทราบทรงพระพิโรธกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอันมากแลตรัสว่าจะไม่ยกราชสมบัติให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเวนราชสมบัติให้ "เจ้าพระพิไชยสุรินทร" พระราชนัดดา หลังจากนั้นสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต เจ้าพระพิไชยสุรินทรทรงเกรงกลัวกรมพระราชวังบวรฯ จึงไม่กล้ารับ และน้อมถวายราชสมบัติแด่กรมพระราชวังบวรฯ
เมื่อกรมพระราชวังบวรฯ ได้ขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 2246 มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[22]
ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้าม"บึงหูกวาง" โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[22]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า[6]
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล
"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร
"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"
ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ทำนองเดียวกันว่า
"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศ [ผ่าอก][23] ให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้
"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"
สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโมเป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา
พระองค์มีพระราชโอรสด้วยพระมเหษีใหญ่ ๓ องค์ องค์ที่ ๑ พระนาม สุรินทกุมาร องค์ที่ ๒ พระนามวรราชกุมาร องค์ที่ ๓ พระนามว่า อนุชากุมาร ๆ นี้กล้าหาญดุร้ายมาก วัน ๑ รับสั่งให้พวกมหาดเล็กเด็ก ๆ ด้วยกันว่ายข้ามแม่น้ำ พวกมหาดเล็กเกรงอาญาก็พากันว่ายไป ที่มีกำลังน้อยจมตายบ้างก็มี กิติศัพท์ทราบถึงพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ๆ ทรงพระพิโรธ รับสั่งให้เอาอนุชากุมารไปสำเร็จโทษเสียดังเด็กที่จมน้ำตายนั้นซึ่งคดเคี้ยวให้ตรงและขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[2]
"ลุแผ่นดินที่ ๓๖ แห่งกรุงศรีอยุทธยา จักเกิดกลียุคครั้งใหญ่ คนชั่วจักนั่งเมือง คนดีจักหายน่าเข้ากล้าจักล้มตาย ทั่วปถพีจักประสพความยากแค้นแสนเขญ โจรผู้ร้ายออกเข่นฆ่าปล้นชิงอาณาประชาราษฎร์ ที่สุดจักเกินมหาสงครามล้างบ้านผลาญเมืองจนพินาศวอดวาย โดยมีเหตุมาแต่หนอนบ่อนไส้ผู้เหนแก่อามิสชักนำศึกเข้าบ้าน แผ่นดินอยุทธยาจักเสียแก่อังวะ จนฉิบหายล่มจมอย่างมิอาจฟื้นฟูกลับคืนมาได้อีก"
สาเหตุที่ทรงพระประชวรแม้ในพงศาวดารไม่ได้มีกล่าวไว้ แต่พอสันนิษฐานได้ดังนี้
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) กล่าวว่า :-
ศักราช ๑๐๗๗ ปีมะแม สัปตศก เสด็จขึ้นไปฉลองพระพุทธบาท ๗ เวนทรงพระประชวร เสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณราเชนทร์เสด็จลงมาถึงกรุง ขึ้นพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ได้ ๗ เวนประชวรหนักลง แปลงสถานลงมาพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์เพลาเช้า...[34]: 226
พื้นที่พระพุทธบาทเมืองลพบุรีในสมัยอยุธยาเป็นพื้นที่ป่ารกชัฏขนาดใหญ่ เดิมเรียกว่า ดงพญาไฟ (เปลี่ยนชื่อเป็น ดงพญาเย็น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าชื่อไม่เป็นมงคล) เต็มไปด้วยอันตรายจากสิงสาราสัตว์ และไข้ป่ามาลาเรีย[35]: 122, 137:เชิงอรรถ ๑๔ การเสด็จประพาสของพระเจ้าเสือครั้งนั้นอาจติดเชื้อไข้ป่าเป็นเหตุให้ทรงพระประชวรลง
เกิดจากพระอุปนิสัยของพระเจ้าเสือนั้นทรงโปรดการเสด็จประพาสล้อมช้างเถื่อนในป่า[36]: 221 การประพาสล้อมช้างเถื่อนครั้งล่าสุด พระเจ้าเสือเสด็จประพาสล้อมช้างในป่าเมืองนครสวรรค์[36]: 221 เป็นฤดูฝนตกชุกมีอันตรายด้วยไข้ป่ามาก ทรงตั้งพลับพลาประทับแรมอยู่นานจนล้อมจับช้างเถื่อนได้ 100 เชือกเศษแล้วเสด็จกลับพระนคร พระองค์อาจได้รับเชื้อมา เมื่อพระสังขารและพระวรกายอ่อนแอเพราะทรงพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์เป็นนิจ เปิดโอกาสให้เชื้อกำเริบ ในที่สุดพระองค์ก็ทรงพระประชวรลง แพทย์หลวงจึงได้วินิจฉัยพระโรคของพระเจ้าเสือว่า เนื่องจากพระองค์ได้ทรงตรากตรำทรงช้างทรงม้าพระที่นั่งประพาสป่าล้อมช้างเถื่อนอยู่เนือง ๆ อาจจะติดเชื้อไข้ป่า พระสังขารและพระพลังมีต้านทานไม่พอ ก็ต้องทรงพระประชวรลง[36]: 221
พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2251 พระชนมายุ 47 พรรษา[1]
เมื่อ พ.ศ. 2251 (นับปีแบบปัจจุบัน) สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ภายหลังได้สำเร็จโทษพระองค์เจ้าดำแล้ว พระองค์มีพระราชดำริจัดการพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี เมื่อวันพฤหัสบดี ศักราช 1069 ปีกุนนพศก (พ.ศ. 2250)[37]: 293:เชิงอรรถที่ ๕ มีรับสั่งให้ช่างพนักงานจัดการพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อ 7 วอ 2 ศอก สูง 2 เส้น 11 วาศอกคืบ (สูง 102.75 เมตร หรือเท่าอาคารสูง 27 ชั้น)[38]: 155:เชิงอรรถที่ ๘, ๙ ใช้เวลา 11 เดือนจึงเสร็จ แล้วให้เชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิไชยราชรถจึงแห่ขบวนเสด็จโดยรัถยาราชวัติเข้าสู่พระเมรุมาศตามราชประเพณี ให้ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์ มีงานมหรสพและดอกไม้เพลิงต่างๆ โปรดให้มีพระสงฆ์สดัปกรณ์ 10,000 รูป คำรพ 7 วันแล้วจึงถวายพระเพลิง เมื่อดับพระเพลิงแล้วโปรดให้พระสงฆ์สดัปกรณ์ 400 รูป แล้วนำพระอัฐิใส่พระโกศน้อยขึ้นพระราชยานแห่ขบวนมายังพระราชวังแล้วอัญเชิญพระโกศบรรจุท้ายจระนำพระมหาวิหาร ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน กล่าวว่า :-
ลุศักราช ๑๐๖๙ ปีกุน นพศก สมเดจ์พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชดำหรัสสั่งให้ช่างพนักงานจับการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเบจ์วาศอกคืบ แลการพระเมรุทังปวงนั้น ๑๑ เดือนจึ่งสำเหรจ์ ครั้นถึงผคุณมาศ ศุกรปักขดิฐี ณ วันอันได้มหาพิไชยฤกษ จึ่งพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทังสองพระองค์ ก็ให้อัฐเชีญพระบรมโกฎิขึ้นประดิษฐาน เหนือพระมหาพิไชยราชรถแล้วแห่เปนขบวนไปโดยรัฐ์ยาราชวัถ เข้าสู่พระเมรุมาสตามหย่างแต่ก่อน แล้วให้ทิ้งทานต้นกามพฤกษ แลมีงานมหรรศภแลดอกไม้เพลีงต่างๆ แลทรงสดัลพระกรณพระสงฆ ๑๐๐๐๐ คำรพเจ็ดวัน แล้วถวายพระเพลีง ครั้นดับพระเพลีงแล้วแจงพระรูป ทรงสลดับพระกรณพระสงฆอีก ๔๐๐ รูป แล้วเก็บพระอัษฐิใส่พระโกฎิน้อยอัญเชีญขึ้นพระราชยาน แห่เป็นขบวนเข้ามายังพระราชวัง จึ่งให้อัญเชีญพระบรมโกฎพระอัษฐิเข้าบันจุะไว้ ณะ ท้ายจรนำพระมหาวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญดาราม ๚ะ๛[37]: 293
มีการนำพระราชประวัติของพระเจ้าเสือมาสร้างเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงหลายครั้ง อาทิ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2246) |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2246-2251) |
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พ.ศ. 2251-2275) | ||
สมเด็จพระนารายณ์ | กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแห่งกรุงศรีอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2231-2246) |
เจ้าฟ้าเพชร |