สรพงศ์ในปี พ.ศ. 2550 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | พิทยา เทียมเศวต |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 (72 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พิมพ์จันทร์ เทียมเศวต (เลิกรา) |
คู่ครอง | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ (เลิกรา) ดวงเดือน จิไธสงค์ |
บุตร | 4 คน |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2512–2565 |
ผลงานเด่น | ขวัญ - แผลเก่า (2520) |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2551 – สาขาศิลปะการแสดง (นักแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) |
พระสุรัสวดี | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2518 – สัตว์มนุษย์ พ.ศ. 2520 – ชีวิตบัดซบ พ.ศ. 2526 – มือปืน พ.ศ. 2536 – มือปืน 2 สาละวิน พ.ศ. 2539 – เสียดาย 2 |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2524 – ถ้าเธอยังมีรัก พ.ศ. 2526 – มือปืน นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2551 – องค์บาก 2 |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2536 – สาละวิน พ.ศ. 2551 – องค์บาก 2 |
คมชัดลึก | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ พ.ศ. 2547 – ชู้ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ประเภทละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 – คู่เดือด |
กรีพงศ์ เทียมเศวต[1] นามเดิม พิทยา เทียมเศวต และเป็นที่รู้จักในชื่อ สรพงศ์ ชาตรี (8 ธันวาคม พ.ศ. 2492 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2565) ชื่อเล่น เอก เป็นนักแสดงชายชาวไทยที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในช่วงต้นยุค 70 (2514 คือ 1971) ถึงต้นยุค 90 (2533 คือ 1990) เขาได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551[2]
สรพงศ์เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลน้ำเต้า อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายชื้น กับนางพริ้ว เทียมเศวต จบการศึกษาชั้น ป.4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่อายุ 8 ปี ที่วัดเทพสุวรรณ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดดาวดึงส์ ตำบลบางยี่ขัน อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี จนกระทั่งลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. 2512 เมื่ออายุได้ 19 ปี จากนั้นสุรพงศ์ โปร่งมณี ได้พาไปฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และเข้าสู่วงการบันเทิงในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ. 2552 สรพงศ์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[3] และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย) สาขาศิลปะการแสดงในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย[4]
ชีวิตส่วนตัว สรพงศ์มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพัทธกฤต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดกับทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ซึ่งเป็นนักแสดงหญิงและไม่ได้สมรสกัน[5] ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดกับพิมพ์จันทร์ เทียมเศวต (แอ๊ด) ภรรยาคนแรก ซึ่งสมรสและเลิกราไปแล้ว[6][7][8] ต่อมาได้มาอยู่กินกับดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530 โดยไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15.51 น. สรพงศ์ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอดหลังจากเข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สิริอายุ 72 ปี 3 เดือน ย่างเข้าปีที่ 73[9] สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ เมรุชั่วคราว มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
เมื่ออายุได้ 19 ปี ได้พบกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
สรพงศ์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละครเรื่อง นางไพรตานี ฉายทางช่อง 7 และเล่นเป็นตัวประกอบในละคร ห้องสีชมพู และ หมอผี ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับหลังจากเดินทางกลับจากเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา
ชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า "สร" มาจาก อนุสรมงคลการ, "พงศ์" มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ "ชาตรี" มาจาก ชาตรีเฉลิม
สรพงษ์ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่อง สอยดาว สาวเดือน เมื่อ พ.ศ. 2512 รับบทเป็นลูกน้องนักเลงที่มีเรื่องกับ ชนะ ศรีอุบล ที่รับบท สมิง ซึ่งเป็นพระรองของเรื่องในร้านเหล้าโดยที่ออกมาฉากเดียวและไม่มีบทพูดและถูกสมิงยิงตาย จากนั้นในภาพยนตร์เรื่องที่ 2 คือเรื่อง ต้อยติ่ง ในปีเดียวกัน สรพงษ์ยังคงรับบทเป็นตัวประกอบที่ออกมาฉากเดียวในช่วงท้ายเรื่องและไม่มีบทพูดเช่นเคยโดยรับบทเป็นลูกน้องของ วิน วิษณุรักษ์ ดาวร้ายของเรื่องที่ทำหน้าที่จับตัว พิศมัย วิไลศักดิ์ นางเอกของเรื่อง และ ภาพยนตร์เรื่องที่ 3 คือเรื่อง ฟ้าคะนอง เมื่อ พ.ศ. 2513 สรพงษ์ยังคงรับบทเป็นตัวประกอบที่ออกมาฉากเดียวแต่เริ่มมีบทพูดโดยรับบทเป็นผู้โดยสารรถสองแถวคันเดียวกับนางเอกคือ ภาวนา ชนะจิต ที่ต้องการเดินทางไป แหลมฟ้าคะนอง กระทั่งสรพงษ์ได้รับบทพระเอกเต็มตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่องที่ 4 คือเรื่อง มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514) ผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม จากนั้นได้รับบทในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม แทบทุกเรื่องทั้งบทพระเอก พระรอง และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในบางครั้ง มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัลตุ๊กตาทองครั้งแรกจากเรื่อง ชีวิตบัดซบ และ สัตว์มนุษย์ สองปีติดต่อกัน และมีชื่อเสียงในต่างประเทศจากเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด
สรพงศ์ ได้รับรางวัลทางการแสดงจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สัตว์มนุษย์ ชีวิตบัดซบ มือปืน มือปืน 2 สาละวิน เสียดาย 2 รางวัลสุพรรณหงส์ ดารานำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก มือปืน และนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง องค์บาก 2 ส่วนรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน สรพงษ์ ชาตรี ได้ชื่อว่าเป็น ๑ ใน ๓ พระเอกตลอดกาลที่มีชื่อเสียงทัดเทียมกับมิตร ชัยบัญชาและสมบัติ เมทะนี รวมระยะเวลาเป็นพระเอกยาวนานถึง ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๓๔) มีนางเอกคู่ขวัญ ๒ คนคือ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ (๒๕๑๙-๒๕๒๕) และจารุณี สุขสวัสดิ์ (๒๕๒๐-๒๕๓๒) ตำแหน่งสุดท้าย ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. ๒๕๕๑
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2517-18 ครั้งที่ 1 | เขาชื่อกานต์ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2518-19 ครั้งที่ 2 | สัตว์มนุษย์ | ชนะ | |
2520 ครั้งที่ 3 | ชีวิตบัดซบ | ชนะ | |
2522 ครั้งที่ 4 | ไผ่แดง | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2524 ครั้งที่ 5 | ถ้าเธอยังมีรัก | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2525 ครั้งที่ 6 | ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2526 ครั้งที่ 7 | มือปืน | ชนะ | |
2527 ครั้งที่ 8 | อิสรภาพของทองพูน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2528 ครั้งที่ 9 | จับตาย | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2529 ครั้งที่ 10 | บ้าน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2530 ครั้งที่ 11 | พลอยทะเล | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2536 ครั้งที่ 17 | มือปืน 2 สาละวิน | ชนะ | |
2537 ครั้งที่ 18 | เสียดาย | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2539 ครั้งที่ 20 | เสียดาย 2 | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | ชนะ |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2521 ครั้งที่ 1 | รอยไถ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
2523 ครั้งที่ 2 | จ้าวพายุ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2524 ครั้งที่ 3 | ถ้าเธอยังมีรัก | ชนะ | |
2526 ครั้งที่ 5 | มือปืน | ชนะ |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2534 | คนเลี้ยงช้าง | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 | มือปืน 2 สาละวิน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2537 | เสียดาย | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2539 | เสียดาย 2 | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2545 | พรางชมพู กะเทยประจัญบาน | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2546 | บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2551 | องค์บาก 2 | ชนะ | |
ปืนใหญ่จอมสลัด | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ครั้งที่ 27 พ.ศ. 2560 | - | สุพรรณหงส์เกียรติยศ | ชนะ |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2533 | คนเลี้ยงช้าง | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2536 | มือปืน 2 สาละวิน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2544 | สุริโยไท | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2545 | พรางชมพู กะเทยประจัญบาน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2546 | บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2551 | องค์บาก 2 | ชนะ | |
ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2558 | อาปัติ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
2547
(ครั้งที่2) |
ชู้ | สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ | ชนะ |
2551(ครั้งที่6) | องค์บาก 2 | ชนะ | |
2554(ครั้งที่9) | คนโขน | เสนอชื่อเข้าชิง | |
คู่เดือด | สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมประเภทละครโทรทัศน์ | ชนะ | |
2558(ครั้งที่13) | ตะวันตัดบูรพา | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2546 | บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2549 | ชู้ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2551 | องค์บาก 2 | ชนะ | |
ปืนใหญ่จอมสลัด | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2558 | อาปัติ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2558 | อาปัติ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2554 | คู่เดือด | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2536 | บัลลังก์เมฆ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปีที่ | ชื่อเรื่อง | สาขา | ผลรางวัล |
---|---|---|---|
ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2552 | ชิงชัง | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)