สรยุทธ สุทัศนะจินดา | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สรยุทธกำลังจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ที่อาคารมาลีนนท์ พ.ศ. 2552 | ||||||||||
เกิด | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | |||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (นศ.บ.) | |||||||||
อาชีพ | ผู้ประกาศข่าว ยูทูบเบอร์ | |||||||||
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2531 – 2559 พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน | |||||||||
ตัวแทน | ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี | |||||||||
มีชื่อเสียงจาก | ถึงลูกถึงคน คุยคุ้ยข่าว เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ | |||||||||
โทรทัศน์ | ช่อง 3 เอชดี | |||||||||
คู่สมรส | เพียงจันทร์ ว่องวิชชุเวทย์ | |||||||||
ข้อมูลยูทูบ | ||||||||||
ช่อง | ||||||||||
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน | |||||||||
ประเภท | ข่าว | |||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | 1.13 ล้านคน[1] | |||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | 244.25 ล้านครั้ง[1] | |||||||||
ภาษาของเนื้อหา | ภาษาไทย | |||||||||
| ||||||||||
ข้อมูลเมื่อ: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ||||||||||
สรยุทธ สุทัศนะจินดา (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น ยุทธ เป็นผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชาวไทย ที่มีชื่อเสียงในการสัมภาษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์มาอ่านในรายการโทรทัศน์พร้อมขยายความให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาข่าวง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่าเล่าข่าว (News Talk)[2] ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการนำเสนอข่าวในประเทศไทยในปัจจุบัน และจากการทำงานที่สรยุทธทุ่มเทเวลาให้กับข่าวอย่างเต็มที่เหมือนแรงงานหรือกรรมกร ทำให้มีอีกฉายาคือ กรรมกรข่าว มีผลงานที่เป็นที่รู้จักหลายรายการ เช่น เรื่องเล่าเช้านี้, เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์, คุยคุ้ยข่าว และ ถึงลูกถึงคน
สรยุทธเกิดวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 เป็นบุตรคนที่ 2 จากทั้งหมด 3 คนของสมศักดิ์ และวิชชุดา สุทัศนะจินดา (แซ่โล้) มีพี่สาวชื่อ สุกัญญา น้องสาวชื่อ สุภาวดี[3]
สรยุทธเข้าศึกษาในโรงเรียนอำนวยศิลป์ เป็นรุ่นที่ 57 เคยไปทะเลาะวิวาทจนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ส่งผลให้ต้องไปใช้ชีวิตในบ้านเมตตา 15 วัน ก่อนจะกลับตัวกลับใจในการตั้งใจเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษา[4] และสำเร็จการศึกษานิเทศศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เกียรตินิยมอันดับ 1) เมื่อปี พ.ศ. 2530[3]
สรยุทธเริ่มทำงานด้านสื่อครั้งแรกในสังกัดหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยทำข่าวสายรัฐสภาเป็นเวลาสองปี และทำข่าวสายทำเนียบรัฐบาลอีกสองปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ประจำในกองบรรณาธิการ ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าข่าวการเมือง และในปี พ.ศ. 2537 ได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นหัวหน้าข่าวการเมือง ในปี พ.ศ. 2540 ได้มาเป็นบรรณาธิการข่าว และจัดรายการวิเคราะห์ข่าวให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ รวมถึงสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่เนชั่นไปร่วมผลิตรายการข่าวให้ในขณะนั้น[5] สุดท้ายเป็นรองบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น[3]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับละครจากค่ายบางกอกการละคอน ในเครือบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) นำสรยุทธมาเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์รายการใหม่ของตน ชื่อว่า "กล่องวิเศษ Magic Box" ออกอากาศทางช่อง 3 ทำให้ประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหารช่อง 3 ในขณะนั้น เกิดแนวคิดในการผลิตรายการภาคเช้าในรูปแบบของสรยุทธ[6] อย่างไรก็ตาม บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว สรยุทธจึงลาออกจากเนชั่นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน[7] และเริ่มจัดรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[8]
นอกจากการเป็นผู้ดำเนินรายการแล้ว สรยุทธยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด (ผลิตรายการโทรทัศน์) และบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด (รับจัดงานและกิจกรรม)[ต้องการอ้างอิง]
ชีวิตส่วนตัว สรยุทธสมรสกับเพียงจันทร์ ว่องวิชชุเวทย์ พนักงานอิสระ (Freelance) ของสำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ ไม่มีบุตรด้วยกัน
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เข้าร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางให้ดำเนินคดีกับพนักงาน บมจ.อสมท จำนวน 2 คน ในข้อหากระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด รวมถึงสรยุทธในฐานะกรรมการผู้จัดการ ในฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐกระทำผิดด้วยการยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ทำให้ บมจ.อสมท ได้รับความเสียหายจากค่าโฆษณาเป็นเงิน 138,790,000 บาท และ สน.ห้วยขวาง ส่งสำนวนทั้งหมดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550[9] ก่อนที่ ป.ป.ช. จะชี้มูลความผิดสรยุทธ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง โดยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกสรยุทธ 13 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา และปรับเงินไร่ส้มอีก 80,000 บาท โดยสรยุทธได้อุทธรณ์สู้คดีต่อ[10] จนกระทั่งในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกสรยุทธเป็นเวลา 6 ปี 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา[11]
อย่างไรก็ตาม จากความหวาดวิตกกังวลของผู้ต้องขังในเรือนจำต่อสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย จนเกิดเหตุการณ์ผู้ต้องขังหนีออกและเผาเรือนจำที่จังหวัดบุรีรัมย์ กรมราชทัณฑ์จึงต้องกอบกู้ความน่าเชื่อถือ โดยนำสรยุทธมาจัดรายการ "เรื่องเล่าชาวเรือนจำ" เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง จนสถานการณ์ที่เรือนจำในเวลาต่อมาค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ[12] ทำให้ในเวลาต่อมา สรยุทธได้เลื่อนชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม ได้รับการลดวันต้องโทษตาม พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง และได้รับการพักโทษเป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564[13] โดยติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวไว้ที่ข้อเท้าซ้าย[14][15] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายข่าวให้แก่กรรมการผู้อำนวยการช่อง 3 เอชดี เมื่อวันที่ 1 เมษายน[16] จนกระทั่งได้รับการพระราชทานอภัยโทษอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[17]
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
หลังจากข้อเท็จจริงเรื่องนี้ถูกเปิดเผย และเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สรยุทธกลับเก็บตัวเงียบ ปฏิเสธว่าไม่ได้รับรู้ด้วย [32] และปิดปรับปรุงส่วนบอร์ดรับความคิดเห็นในเว็บไซต์ส่วนตัวอย่างไม่มีกำหนด[33]
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)