สวนสันติชัยปราการ

สวนสันติชัยปราการ
แผนที่
ประเภทสวนสาธารณะ
ที่ตั้งถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พื้นที่8 ไร่
เปิดตัว5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ผู้ดำเนินการตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร  กรุงเทพมหานคร
สถานะ05.00 - 21.00 น. ทุกวัน

สวนสันติชัยปราการ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางลำพู จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยภายในบริเวณสวนมี พระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา

สวนแห่งนี้มีทัศนียภาพของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามมาก นับเป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ และสามารถชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินได้อย่างชัดเจน

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน นับเป็นนันทนสถานเอนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอยได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค รำมวยจีน สามารถเป็นสถานที่จัดงานของท้องถิ่นและรัฐบาล เช่น พิธีต้อนรับแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม เช่น พิธีลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น

นอกจากตัวป้อมแล้ว ในบริเวณสวนแห่งนี้ยังมี “ต้นลำพู” ดั้งเดิมอันเป็นที่มาของชื่อ “บางลำพู” ต้นสุดท้ายที่ยังหลงเหลือไว้ให้ศึกษาอีกด้วย ที่อยู่มานานตั้งแต่ก่อนมีสร้างสวนและพระที่นั่งฯ แต่ทว่าในเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2554 ต้นลำพูต้นนี้ได้ตายลง ทางกรุงเทพมหานคร (ก.ท.ม.) ได้มาตัดทิ้งจนเหลือแต่ตอ[1] [2]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1]เก็บถาวร 2012-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บางลำพู...ในวันที่ไม่มีต้นลำพู จากผู้จัดการออนไลน์
  2. "เที่ยวสวน ชมป้อม ที่ "สวนสันติชัยปราการ" จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′50″N 100°29′46″E / 13.763771°N 100.496085°E / 13.763771; 100.496085