สาบหมา

สาบหมา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Eupatorieae
สกุล: Ageratina
สปีชีส์: A.  adenophora
ชื่อทวินาม
Ageratina adenophora
(Spreng.) King & H.Rob.
ชื่อพ้อง

Eupatorium adenophorum
Eupatorium glandulosum

Ageratina adenophora

สาบหมา หรือพาพั้งดำในภาษาไทใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ageratina adenophora เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Asteraceae ชื่อสามัญที่รู้จักกันทั่วไปคือ eupatory, sticky snakeroot, crofton weed, และ Mexican devil ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม ขอบใบหยัก ปลายแหลม ดอกเป็นช่อกลม ดอกย่อยสีขาว อัดแน่นเป็นกระจุกกลม ผลแห้ง มีขนสีขาวจำนวนมาก ชาวไทใหญ่ใช้ใบขยี้ห้ามเลือด รากต้มรักษาโรคกระเพาะ[1]

สาบหมาเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีชัดเจน สารสกัดด้วยมทานอลจากใบยับยั้งการงอกและการเจริญของไมยราบเครือ ข้าวน้ำรู โสนขน ผักโขมหนาม ผักโขมหัด ถั่วผี หญ้าปากควาย หงอนไก่ป่า กะหล่ำปลี คะน้า และข้าวพันธุ์ กข 23 ได้[2]สารสกัดด้วยเมทานอลจากส่วนเหนือดินยับยั้งการเจริญของผักโขมหนาม ปืนนกไส้ กระดุมใบใหญ่ หงอนไก่ป่า หญ้าขจรจบ โสนขนและหญ้าปากควาย[3]

พืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน

[แก้]

ต้นสาบหมาเป็นพืชดั้งเดิมในเม็กซิโก แต่เป็นที่รู้จักในพื้นที่อื่นๆ ว่าเป็นชนิดพันธ์ต่างถิ่นและบ่อยครั้งเป็นพืชมีพิษอันตราย โดยต้นไม้ชนิดนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมายในด้านเกษตรกรรมที่ตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นนั้น มันได้ถูกนำมาใช้โดยไม่ได้คาดคิดที่ยูนาน ประมาณ ค.ศ. 1940 และแพร่หลายอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากมันเป็นพืชที่สามารถปล่อยสารพิษไปทำอันตรายต่อพืชชนิดอื่นๆข้างเคียงเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ต้นสาบหมาเป็นพืชที่พบที่ออสเตรเลียโดยนำมาใช้ที่ Sydney ในปี ค.ศ. 1904 และแพร่กระจายไปตามชายฝั่ง Northern New South Wales และ South Queensland ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้ถูกจัดให้อยู่ในระดับ 4 ของพืชอันตราย ของ พรบ. ของนิวเซาท์เวลส์ เรื่องพืชอันตราย และในปี 1993 ต้นสาบหมาก็ได้แพร่กระจายเช่นกันที่ฮาวายและในแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นวัชพืชใน 10 มลรัฐ ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศอื่นๆมันเป็นพืชพันธุ์ที่ชอบรุกรานในหลายๆพื้นที่ทางประเทศเขตร้อนและใกล้เขตร้อน รวมทั้งที่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จีน ศรีลังกา ไนจีเรีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะปาซิพิก หมู่เกาะคานารี่ และอัฟริกาใต้[4] สำหรับในประเทศไทย ต้นสาบหมาเริ่มระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยจากประเทศพม่าและทางตอนใต้ของจีน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าระบาดในพื้นที่ที่สูง จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตรขึ้นไป โดยการระบาดพบมากในพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น บริเวณยอดดอยสุเทพ ดอยปุย ดอยตุง ดอยเชียงดาว ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ เป็นต้น จังหวัดที่พบมีการระบาดคือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิษฐ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย[5]

ผลกระทบต่อสัตว์

[แก้]

ต้นสาบหมามีอันตรายต่อปศุสัตว์ จากการที่ม้าบริโภคต้นสาบหมาอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังหรือที่รู้จักกันว่า Numinbah Horse Sickness หรือ Tallebudgera Horse Disease ในรัฐ Northern New South Wales และรัฐ Queensland ประเทศออสเตรเลีย โดยโรคระบาดนี้ได้เริ่มเกิดการระบาดในรัฐ Hawaii ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1920 และระบาดในทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลียและรัฐ Northland ในประเทศนิวซีแลนด์ รายงานจำนวนมากของการสูญเสียม้าทั้งหมดจากฟาร์มอันเนื่องมาจากสาเหตุนี้ มันเป็นตัวอย่างของความบกพร่องในการทำงานหรือการใช้ปอดและอาการผิดปกติอย่างเรื้อรังของปอดอันเนื่องมาจากถุงลมโป่งพองและขาดการยืดหยุ่น(emphysema) ผลการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา จะรวมทั้งการเกิดผังผืดแทรกอยู่ในปอด (pulmonary interstitial fibrosis) และการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวที่มีลักษณะคล้ายถุงลมในปอด( alveolar epithelisation)[6]

ผลกระทบต่อพืช

[แก้]

นอกจากต้นสาบหมาจะส่งผลเสียต่อปศุสัตว์แล้วยังส่งผลเสียต่อพืชอีกด้วย อันเนื่องมาจากสารสกัดที่ได้จากต้นสาบหมาเป็นสารที่ส่งผลกระทบต่อพืชชนิดอื่นๆคือ สารแอลลิโลพาธิค (Allelopathy)[7]สารแอลลิโลพาธิคพบในทุกส่วนของต้นสาบหมา โดยมีปริมาณสูงในใบและต้นลำต้น รวมทั้งสามารถถูกสกัดออกมาได้ดีด้วยสารละลายเมทานอล จากผลทางการศึกษาสารแอลลิโลพาธิคกับพืชจำนวน 19 ชนิด พบว่าสารแอลลิโลพาธิคจากต้นสาบหมาเพียงแค่ 1 กรัมมีผลต่อการยับยั้งของการงอกของเมล็ดทุกชนิด และส่งผลกระทบต่อการเจริญของรากและการเจริญของต้นของพืช แต่มีผลอย่างรุนแรงจนถึงสมบูรณ์กับพืชที่นำมาทดสอบ 12 ชนิดจาก 19 ชนิด โดยใน 12 ชนิดเป็นวัชพืชที่ระบาดในไร่ทั่วไป 10 ชนิด เมื่อนำพืชทดสอบ 9 ชนิดที่ปลูกในดินที่หมักด้วยต้นสาบหมาในอัตรา 5-10 เปอร์เซ็นต์จะถูกยับยั้งการเจริญ แต่ไม่มีผลต่อพืชทดสอบที่ปลูกในดินที่โรยผิวหน้าดินด้วยสาบหมา หรือดินที่รดด้วยสารสกัด[8]

การกระจายพันธุ์

[แก้]

พืชชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเหมือนกับพืชทั่วไป โดยที่ลำต้นสามารถงอกรากและเติบโตเมื่อสัมผัสกับผิวดิน ซึ่งทำให้มันสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวเร็ว เมล็ดของมันก็เช่นกันจะถูกนำพาไปโดยลมและน้ำและ และจับกลุ่มรวมกันในพื้นที่ที่ถูกมันไปรบกวนเช่น ท้องนา หรือ พื้นที่ใกล้ที่พักอาศัยของมนุษย์ อย่างทันทีทันใด เมล็ดของมันบางทีอาจจะถูกนำพาไปโดยสัตว์ และในพื้นดิน.[9] และอีกสาเหตุที่ต้นสาบหมาสามารถกระจายพันธุ์ได้อย่างดีคือ สภาพท้องที่และภูมิอากาศของเมืองไทยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต เนื่องจากต้นสาบหมาเป็นพืชที่เจริญได้ดีในที่โล่งแดดจัด ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตรขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะทางภาคเหนือของประเทศไทย จึงทำให้ภาคเหนือมีปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของต้นสาบหมา[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=482&name=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2
  2. ศิริพร ซึงสนธิพร และ วิไล สันติโสภาศรี. 2536. ผลทางแอลลิโลพาธิคของวัชพืชสาบหมา (Eupatorium adenophorum Spreng.) ต่อพืชปลูกและวัชพืช. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31 3-6 กุมภาพันธ์ 2536. หน้า 253-265
  3. ศิริพร ซึงสนธิพร และ ชอุ่ม เปรมัษเฐียร. 2537. ผลของสารสกัดจากวัชพืชสาบหมาต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืชปลูกและวัชพืชบางชนิด. วารสารวิชาการเกษตร 12 : 37-41.
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Ageratina_adenophora
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-25.
  6. https://en.wikipedia.org/wiki/Ageratina_adenophora
  7. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B5
  8. http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=005678&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON[ลิงก์เสีย]
  9. https://en.wikipedia.org/wiki/Ageratina_adenophora
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]