Office of the Royal Society | |
เครื่องหมายราชการของสำนักงาน | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 19 เมษายน พ.ศ. 2469 |
สำนักงานก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
สำนักงานใหญ่ | สนามเสือป่า แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
บุคลากร | 92 คน (พ.ศ. 2566) |
งบประมาณต่อปี | 196,358,300 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | นายกรัฐมนตรี |
เอกสารหลัก |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา |
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เป็นส่วนราชการอิสระในฝ่ายบริหารของประเทศไทย มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย และบำรุงวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ[3] เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการควบคุมภาษาไทย ผ่านการจัดทำพจนานุกรม และการบัญญัติหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในทางภาษา
ในทางประวัติศาสตร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงก่อตั้ง ราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2469 ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 มีการยุบราชบัณฑิตยสภาแยกไปจัดตั้งเป็น ราชบัณฑิตยสถาน กับกรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสถานมีการดำเนินงาน 2 ส่วน คือ สภาราชบัณฑิต ซึ่งทำหน้าที่ด้านวิชาการ กับข้าราชการประจำ ซึ่งทำหน้าที่ด้านธุรการสนับสนุนงานของสภาราชบัณฑิต กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จึงเปลี่ยนชื่อ ราชบัณฑิตยสถาน เป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และเปลี่ยนชื่อ สภาราชบัณฑิต เป็น ราชบัณฑิตยสภา ตามชื่อดั้งเดิมสมัยรัชกาลที่ 7[3]
ตามโครงสร้างปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก 3 ประเภท คือ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[4]
เดิมสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลานในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาย้ายไปที่สนามเสือป่าตั้งแต่ พ.ศ. 2549
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้
สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย และนำเสนอผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทั้งนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา การบัญญัติศัพท์วิชาการ และงานวิชาการอื่น ๆ
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะเสนอผลงานเหล่านี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานในทางราชการและการศึกษา
ราชบัณฑิตยสภาแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
สำนักในราชบัณฑิตยสภามีด้วยกัน 3 สำนัก แต่ละสำนักประกอบด้วยคณะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 137 สาขา
|
|
|
|
ผู้บริหารในราชบัณฑิตยสภาแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
สมาชิกของราชบัณฑิตยสภา มี 3 ประเภทดังนี้
ราชบัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยราชบัณฑิตจากทุกสำนักจะเป็นผู้คัดเลือกจากภาคีสมาชิก แล้วนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีได้จำกัดจำนวน 118 ตำแหน่ง ปัจจุบันมีราชบัณฑิตจำนวน 110 คน[5]
ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่สมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสภา และราชบัณฑิตยสภาได้รับสมัครเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งแล้ว จำนวนภาคีสมาชิกมีจำกัดได้ไม่เกิน 84 คน แบ่งเป็น สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง 33 คน สำนักวิทยาศาสตร์ 55 คน สำนักศิลปกรรม 30 คน ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 74 คน[5]
ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมีราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 8 คน เรียงตามลำดับการได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนี้
คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | ปีที่ได้รับแต่งตั้ง | สาขาวิชา | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
พลตรี | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | 2486 | - | [6] |
พลตรี | ประยูร ภมรมนตรี | 2486 | - | [6] |
พลอากาศโท | มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | 2486 | - | [6] |
พลตรี | วิจิตร วิจิตรวาทการ | 2486 | - | [6] |
หม่อมหลวง | เดช สนิทวงศ์ | 2486 | - | [6] |
ศาสตราจารย์ | เดือน บุนนาค | 2486 | - | [6] |
พลโท | หลวงละออภูมิลักษณ์ (ลออ บุนนาค) | 2521 | - | [7] |
พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) | 2524 | - | [8] | |
หม่อมหลวง | ปิ่น มาลากุล | 2529 | วรรณศิลป์ | [9] |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | เฟื้อ หริพิทักษ์ | 2529 | วิจิตรศิลป์ | [10] |
บุญมา วงศ์สวรรค์ | 2536 | เศรษฐศาสตร์ทั่วไป | [11] | |
ศาสตราจารย์ | ประเวศ วะสี | 2548 | แพทยศาสตร์ | [12] |
ศาสตราจารย์ | สิปปนนท์ เกตุทัต | 2548 | ฟิสิกส์ | [12] |
ศาสตราจารย์พิเศษ | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) | 2550 | ศาสนศาสตร์ | [13] |
มีชัย ฤชุพันธุ์ | 2550 | นิติศาสตร์ | [13] | |
ศาสตราจารย์ คุณหญิง | กุหลาบ มัลลิกะมาส | 2550 | วรรณคดีเปรียบเทียบ | [13] |
ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง | พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา | 2552 | ศึกษาศาสตร์ | [14] |
ศาสตราจารย์ | ยงยุทธ ยุทธวงศ์ | 2552 | เคมี | [14] |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ | พูนพิศ อมาตยกุล | 2552 | ดุริยางคกรรม | [14] |
ศาสตราจารย์ | พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) | 2552 | อัคฆวิทยา | [15] |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ | กุสุมา รักษมณี | 2562 | วรรณศิลป์ | [16] |
ศาสตราจารย์ | ไพรัช ธัชยพงษ์ | 2563 | วิศวกรรมศาสตร์ | [17] |
ผู้ได้รับแต่งตั้งที่ยังมีชีวิตอยู่