สีเขียวในศาสนาอิสลาม

ในจักรวรรดิออตโตมัน เฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายจากมุฮัมมัดเท่านั้นที่มีสิทธิ์สวมผ้าโพกหัวสีเขียว (ภาพวาดโดย Claes Rålamb, ค.ศ. 1657)

สีเขียว (อาหรับ: أخضر, อักษรโรมัน: 'akhḍar) มีส่วนเกี่ยวข้องหลายอย่างต่อศาสนาอิสลาม ในอัลกุรอาน สีนี้มักเกี่ยวโยงกับสวรรค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (ชีอะฮ์) เลือกสีเขียวเป็นสีราชวงศ์ ซึ่งตรงข้ามกับธงสีดำของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ซุนนี) แม้ว่าสีเขียวยังคงเป็นสียอดนิยมในประติมานวิทยาชีอะฮ์ แต่ก็มีการใช้งานในรัฐซุนนีจำนวนมาก โดยเฉพาะในธงชาติซาอุดีอาระเบียและธงชาติปากีสถาน

อัลกุรอาน

[แก้]
ภาพอัลคิฏร์แบบโมกุล คริสต์ศตวรรษที่ 17

พวกเขาจะนอนเอกเขนกบนหมอนอิงสีเขียว และพรมที่มีลวดลายอย่างสวยงาม

— ซูเราะฮ์ 55, โองการที่ 76[1]

บนพวกเขามีอาภรณ์สีเขียวทำด้วยผ้าไหมละเอียด และผ้าไหมหยาบ และถูกประดับด้วยกำไลเงิน และพระเจ้าของพวกเขาจะทรงให้พวกเขาได้ดื่มเครื่องดื่มอันบริสุทธิ์ยิ่ง

— ซูเราะฮ์ 76, โองการที่ 21[2][3]

อัลคิฎร์ เป็นบุคคลในอัลกุรอานที่พบและเดินทางพร้อมกับมูซา (โมเสส)[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ibn Hāshim 2009, Sura 55.
  2. ibn Hāshim 2009, Sura 76, The Human (Al-Insaan).
  3. ibn Hāshim 2009, Sura 18, The Cave (Al-Kahf).
  4. Catherine, David. "Al-Khidr, The Green Man". สืบค้นเมื่อ 2007-11-30.

บรรณานุกรม

[แก้]