สุดแค้นแสนรัก

สุดแค้นแสนรัก
ละครสุดแค้นแสนรัก
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยบริษัท เมคเกอร์ เค จำกัด
เขียนโดยบทประพันธ์ : จุฬามณี
บทโทรทัศน์ : ยิ่งยศ ปัญญา
กำกับโดยกฤษณ์ ศุกระมงคล
อดุลย์ ประยันโต
แสดงนำอัชชา นามปาน
ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
พรชิตา ณ สงขลา
กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์
รฐา โพธิ์งาม
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
พิษณุ นิ่มสกุล
จินตหรา สุขพัฒน์
รัดเกล้า อามระดิษ
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดเจ็บนี้จำจนตาย – นัดดา วิยกาญจน์
ดนตรีแก่นเรื่องปิดแพ้รัก – แนน วาทิยา
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน18 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างกฤษณ์ ศุกระมงคล
มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช
ความยาวตอน150 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ18 เมษายน –
29 พฤษภาคม 2558

สุดแค้นแสนรัก ซึ่งเป็นละครภาคต่อจากกรงกรรม เป็นบทประพันธ์ของ จุฬามณี (นิพนธ์ เที่ยงธรรม) นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สร้างโดย บริษัท เมคเกอร์ เค จำกัด กำกับการแสดงโดย กฤษณ์ ศุกระมงคล และ อดุลย์ ประยันโต นำแสดงโดย ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ พรชิตา ณ สงขลา มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล อัชชา นามปาน กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์ วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ รฐา โพธิ์งาม พิษณุ นิ่มสกุล จินตหรา สุขพัฒน์ รัดเกล้า อามระดิษ เริ่มถ่ายทำในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557[1] ออกอากาศครั้งแรกระหว่างวันที่ 18 เมษายน–29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

นักแสดง

[แก้]
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
สถานีออกอากาศ ช่อง 3
ผู้จัดละคร บริษัท เมคเกอร์ เค จำกัด
บทโทรทัศน์ ยิ่งยศ ปัญญา
ผู้กำกับการแสดง กฤษณ์ ศุกระมงคล
อดุลย์ ประยันโต
สุดแค้น (พ.ศ. 2515)
ประยงค์ หมั่นกิจ (ยงค์) อัชชา นามปาน
ผู้หมวดทวี ทวีวัฒนะ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
อัมพร ชื่นศรี มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
อุไร ชื่นศรี (ไร) พรชิตา ณ สงขลา
พะยอม หมั่นกิจ (ยอม) กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์
สุดารัตน์ (สุดา) รฐา โพธิ์งาม
ลือพงษ์ (พงษ์) วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ประยูร หมั่นกิจ (ยูร) พิษณุ นิ่มสกุล
แย้ม หมั่นกิจ รัดเกล้า อามระดิษ
อ่ำ ชื่นศรี จินตหรา สุขพัฒน์
ประเทือง หมั่นกิจ นึกคิด บุญทอง
ขัน ชื่นศรี อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
โกตา สุทธิพงษ์ วัฒนจัง
นกเล็ก ไปรมา รัชตะ
สำลี วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง
นาก ธนา สินประสาธน์
แสนรัก (พ.ศ. 2534)
ร้อยตำรวจตรีทวี ทวีวัฒนะ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
อัมพร ทวีวัฒนะ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
อุไร ชื่นศรี (ไร) พรชิตา ณ สงขลา
ลือพงษ์ (พงษ์) วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
พะยอม หมั่นกิจ (ยอม) กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์
สุดารัตน์ หมั่นกิจ (สุดา) รฐา โพธิ์งาม
ประยูร หมั่นกิจ (ยูร) พิษณุ นิ่มสกุล
แย้ม หมั่นกิจ รัดเกล้า อามระดิษ
อ่ำ ชื่นศรี จินตหรา สุขพัฒน์
ยงยุทธ หมั่นกิจ (ยุทธ) จักริน ภูริพัฒน์
หทัยรัตน์ บุญญาวนิช (รัตน์) นิคิต้า กรรณเกตุ
ธนา ทวีวัฒนะ วิชยุตม์ ลิ่มรัตนะมงคล
มยุรีย์ ทวีวัฒนะ (ยุรีย์) พรสรวง รวยรื่น
ระพีพรรณ ชื่นศรี (ระพี) สรัลชนา อภิสมัยมงคล
ลือชัย (ชัย) รวีโรจน์ รัตนตระกูลชัย
ปวริศ หมั่นกิจ (ริศ) พิสิฐพงศ์ ช่างหล่อ
ลลดา หมั่นกิจ (ลดา) ครองขวัญ มงคล
สุดแค้นแสนรัก (พ.ศ. 2544)
พันตำรวจเอกทวี ทวีวัฒนะ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
อัมพร ทวีวัฒนะ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
อุไร ชื่นศรี พรชิตา ณ สงขลา
ลือพงษ์ (พงษ์) วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
พะยอม หมั่นกิจ (ยอม) กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์
สุดารัตน์ หมั่นกิจ (สุดา) รฐา โพธิ์งาม
ดาบตำรวจประยูร หมั่นกิจ (ดาบยูร) พิษณุ นิ่มสกุล
แย้ม หมั่นกิจ รัดเกล้า อามระดิษ
อ่ำ ชื่นศรี จินตหรา สุขพัฒน์
ยงยุทธ หมั่นกิจ (ยุทธ) คณิน ชอบประดิถ
พ.ญ.หทัยรัตน์ บุญญาวนิช (รัตน์) ศิรินทร์ ปรีดียานนท์
ธนา ทวีวัฒนะ ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์
อ.มยุรีย์ ทวีวัฒนะ (ยุรีย์) พรรณปพร ศรีดุรงคธรรมพ์
พ.ญ.ระพีพรรณ ชื่นศรี อนุธิดา อิ่มทรัพย์
ร้อยตำรวจเอกปวริศ หมั่นกิจ เศรษฐพงศ์ เพียงพอ
ลือชัย (ชัย) อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์
ลลดา หมั่นกิจ (ลดา) ชุติมณฑน์ สกุลไทย

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ภาคสุดแค้น พ.ศ. 2515

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2515 ที่หมู่บ้านหนองนมวัว จังหวัดนครสวรรค์ หมู่บ้านที่มีบรรยากาศท้องทุ่ง ชาวบ้านช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีสองครอบครัว คือ ครอบครัว "แย้ม" (รัดเกล้า อามระดิษ) กับ "เทือง" (นึกคิด บุญทอง) ที่มีลูกชายคือ "ประยงค์" (พัชฏะ นามปาน) ได้แต่งงานกับ "อัมพร" (มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) ลูกสาวของ "ขัน" (อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) กับ "อ่ำ" (จินตหรา สุขพัฒน์) ชาวบ้านหมู่บ้านเดียวกัน แต่แย้มไม่ถูกใจลูกสะใภ้สักเท่าไร เมื่ออัมพรตั้งท้องลูกอยู่ เกิดเหตุการณ์เทือง สามีแย้มตายเนื่องจากทะเลาะวิวาทกับขัน พ่อของอัมพร เนื่องจากปล่อยน้ำเข้านา ทำให้แย้มโกรธแค้นเป็นอย่างมากสาปแช่งขันให้ถูกฟ้าผ่า และคำสาปแช่งดูเหมือนจะได้ผล เพราะคืนนั้นเองขันก็ถูกฟ้าผ่าตายตามเทืองไป

แย้มยังคงโกรธแค้นครอบครัวของอัมพร ขัดขวางไม่ให้ประยงค์ไปดูแลอัมพรและลูกที่โรงพยาบาล แย้มยังไม่ยอมให้ศพของขันสวดและเผาวัดเดียวกับเทือง "อุไร" (พรชิตา ณ สงขลา) น้องสาวของอัมพร ทนไม่ได้ด่าแย้มถึงศาลาสวดศพเทือง "ลือพงษ์" (วรฤทธิ์ เฟื่องอารมณ์) เจ้าของคิวรถประจำทางและกิจการห้องเช่าประจำหมู่บ้าน ได้คบหากับอุไร แต่พ่อของลือพงษ์ "โกตา" (สุทธิพงษ์ วัฒนจัง) และแม่ลือพงษ์ "นกเล็ก" (ไปรมา รัชตะ) ถูกแย้มยุยงให้เกลียดชังอุไร พร้อมทั้งหมายตาลือพงษ์ไว้ให้ "พะยอม" (น้ำฝน กุลณัฐ) ลูกสาวคนเล็กที่แอบชอบลือพงษ์

หลังจากอัมพรคลอดลูกชาย แย้มตั้งชื่อให้ว่า "ยงยุทธ" อัมพรย้ายมาอยู่ที่บ้านประยงค์ เหตุเพราะทน คำเหน็บแนม ด่าทอไม่ได้ แย้มพยายามจับคู่ประยงค์กับ "สุดา" (รฐา โพธิ์งาม) ลูกสาวของเพื่อนรัก เมื่ออัมพรรู้เรื่องจึงเกิดความหึงหวง และทะเลาะวิวาทอย่างหนัก เป็นเหตุให้แย้มถือโอกาสไล่อัมพรกลับบ้านและไม่ให้กลับมาอีก โดยลูกอยู่กับแย้ม

อุไรก็เผลอใจแอบได้เสียกับลือพงษ์ อุไรร้องขอให้ลือพงษ์รีบบอกพ่อแม่มาสู่ขอโดยเร็ว ลือพงษ์รับปากไปทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่าพ่อแม่ไม่ยอม เพราะทั้งคู่ไม่ชอบอุไร ด้านประยงค์ดื่มเหล้าย้อมใจเพราะคิดถึงภรรยา จนอัมพรไปเจอ และได้ปรับความเข้าใจกัน อัมพรขอลูกคืน แต่ประยงค์ขอลูกไว้เพื่อเป็นตัวแทนรักของอัมพร และสัญญาว่าจะไม่แต่งงานใหม่ หากวันใดเขาแต่งงาน อัมพรจะได้ลูกคืน อัมพรจึงยกลูกให้อยู่กับประยงค์และให้รักษาสัญญาให้ดี แย้มไม่หยุดความแค้นวางแผนให้ "ประยูร" (พิษณุ นิ่มสกุล) ลูกชายคนกลาง ทำให้อุไรกับลือพงษ์เข้าใจผิดและทะเลาะกันรุนแรง เวลาผ่านไปอัมพรแอบเอาข้าวไปส่งให้ประยงค์ทุกกลางวัน อัมพรยังแอบหายงยุทธ โดยได้พะยอมช่วย แต่แย้มก็จับได้ในที่สุด มีเรื่องตบตีกันจนขึ้นโรงพัก เป็นจุดที่อุไรและอัมพรได้พบกับ "ร้อยตำรวจตรีทวี" (ปฏิภาณ ปฐวีกานต์) ร้อยเวรบันทึกการแจ้งความ ทวีถูกชะตาสองพี่น้องมาก อาสาไปส่งถึงบ้าน ลือพงษ์เองเผลอไผลได้เสียกับพะยอม ทำให้ลือพงษ์ต้องแต่งงานกับพะยอมอย่างไม่เต็มใจ ขณะที่อุไรก็รู้ว่าตัวเองท้อง

ประยงค์เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าระยะสุดท้าย อัมพรทันมาดูใจในนาทีสุดท้าย หลังประยงค์ตาย อัมพรแน่ใจว่าคงไม่ได้ลูกชายคืนอย่างแน่ จึงพาครอบครัวทั้งหมดย้ายไปทำมาหากินในเมือง ตั้งหลักชีวิตใหม่

ภาคแสนรัก พ.ศ. 2532-2534

[แก้]
นักแสดงรุ่นลูก (แสนรัก) (พ.ศ. 2532)

เมื่อย้ายมาอยู่ในเมือง อุไรเปิดร้านขายข้าวแกง ส่วนทวีพลาดรักจากอุไร จึงได้ตกลงปลงใจแต่งงานกับอัมพร มีลูกสองคน คือ "ธนา" (วิชยุตม์ ลิ่มรัตนะมงคล) กับ "มยุรีย์" (พรสรวง รวยรื่น) ส่วนอุไรก็คลอดลูกสาว ชื่อ "ระพีพรรณ" (สรัลชนา อภิสมัยมงคล) และฝ่ายครอบครัวของลือพงษ์กับพะยอม มีลูกชายชื่อ "ลือชัย" (รวีโรจน์ รัตนตระกูลชัย) ส่วนประยูรลูกชายคนเล็ก แย้มก็ให้แต่งงานกับสุดามีลูกด้วยกันสองคน คือ "ปวริศ" (พิสิฐพงศ์ ช่างหล่อ) และ "ลลดา" (ครองขวัญ มงคล)

ส่วนยงยุทธ (จักริน ภูริพัฒน์) ถูกแย้มเสี้ยมสอนให้เกลียดแม่ โดยบอกว่าอัมพรมีคนมาติดพันจนทิ้งสามี แล้วพ่อก็ตรอมใจตาย เมื่อเวลาผ่านไป ทุกชีวิตได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเดียวกัน เมื่ออัมพรรู้ว่ายงยุทธอยู่โรงเรียนกับลูกของตน แต่ถูกยงยุทธหลบหนีหน้า เมินเฉยเพราะคำเสี้ยมสอนจากแย้ม

สำหรับธนากับมยุรีย์ ก็ไม่เคยนับถือยงยุทธเป็นพี่ชายเพราะเห็นการกระทำที่ยงยุทธแสดงกับอัมพรและไม่เคยเห็นเขากับมยุรีย์อยู่ในสายตาว่าเป็นพี่เป็นน้องด้วย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเป็นพี่น้องกัน ยงยุทธนั้นมีโรคประจำตัวคือหอบหืด ทำให้เขากลายเป็นคนอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ยงยุทธได้คบหากับ "หทัยรัตน์" (นิคิต้า กรรณเกตุ) ลูกสาวเจ้าของกิจการร้านทอง แต่ธนานั้นหลงรักหทัยรัตน์อย่างหัวปักหัวปำ ตามตื้อจนฝ่ายหญิงรำคาญใจ หทัยรัตน์ไม่เคยรู้ความสัมพันธ์ของยงยุทธกับธนา ส่วนปวริศลูกชายประยูรก็มาตามจีบระพีพรรณ โดยที่อุไรไม่เคยชอบใจสักนิด ทำให้ระพีพรรณคิดเรื่องของตนเองไม่ตก

เมื่ออยู่ในช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัย แย้มซึ่งหมายมั่นให้ยงยุทธสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ แต่ยงยุทธอยากเรียนวิศวกรรมศาสตร์มากกว่า ผลออกมายงยุทธสอบไม่ติดคณะแพทย์สร้างความเสียใจให้แย้ม ส่วนระพีพรรณและหทัยรัตน์สามารถสอบติดแพทย์ได้เหมือนกัน จนในที่สุด ยงยุทธสอบติดที่เชียงใหม่ ส่วนปวริศ สอบติดนายร้อยทำให้นางแย้มปลื้มนักหนา และธนาก็ได้โควตาด้านกีฬาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ด้านลือชัย ที่เรียนวิทยาลัยเทคนิค คบเพื่อนไม่ดี ไม่สนใจการเรียน ไปพัวพันกับยาเสพติด จนถูกตำรวจจับติดคุก สร้างความเสียใจให้กับพะยอมและลือพงษ์มาก ลือพงษ์เองก็ทำตัวเป็นเสี่ยยุ่งกับสาวๆ มากหน้าหลายตา ด้านระพีพรรณซึ่งรู้ความว่าลือพงษ์เป็นพ่อของตน เมื่ออุไรจับได้สั่งห้ามลือพงษ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับลูก อุไรยังขอให้ระพีพรรณแกล้งไปทำดีกับปวริศแล้วตีจากเพื่อให้ปวริศเจ็บช้ำ

ภาคสุดแค้นแสนรัก พ.ศ. 2544

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2544 ธนา (ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์) เป็นนักร้อง นักแสดงที่มีชื่อเสียง ลลดา (ชุติมณฑน์ สกุลไทย) ซึ่งมีอาชีพเป็นนักแสดง หลงชอบธนา แต่ธนาไม่เคยสนใจ แต่ยังคงรักมั่นคงในหทัยรัตน์ (ศิรินทร์ ปรีดียานนท์) ส่วนมยุรีย์ (พรรณปพร ศรีดุรงคธรรมพ์) มีอาชีพเป็นครู ยงยุทธ (คณิน ชอบประดิถ) เป็นผู้จัดการธนาคาร หทัยรัตน์กับระพีพรรณที่เรียนจบแพทย์ทำงานที่โรงพยาบาลแห่งเดียวกัน

ด้านความสัมพันธ์ หทัยรัตน์กับยงยุทธดูห่างเหินกันไป ปวริศ (เศรษฐพงศ์ เพียงพอ) และรพีพรรณ (อนุธิดา อิ่มทรัพย์) ยังคงคบกันอยู่ ด้านลือชัย (อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์) หลังออกจากคุกก็ติดยาบ้า ระพีพรรณผู้เป็นน้องต่างมารดา ได้พาลือชัยไปบำบัด ทำให้พะยอมซาบซึ้งใจระพีพรรณมาก

อัมพรตรอมใจเรื่องยงยุทธหนักขึ้น จนล้มป่วยหนัก ทุกคนพยายามพายงยุทธมาเยี่ยมอัมพร ทำให้หทัยรัตน์รู้ความจริงว่า ธนาและยงยุทธมีแม่เป็นคนเดียวกัน ระพีพรรณขอให้หทัยรัตน์พายงยุทธมาหาอัมพร สุดท้ายยงยุทธก็ใจอ่อนยอมมาเยี่ยมอัมพรจนได้ก่อนอัมพรสิ้นใจ ก่อนตายอัมพรสั่งเสียว่า เป็นพี่น้องอย่าทอดทิ้งกัน ช่วยเหลือกันเวลามีเรื่องเดือดร้อน ให้รักย่าให้มากๆ และขอร้องอุไรไม่ให้ขัดขวางความรักของปวริศกับระพีพรรณ อุไรจำใจตอบตกลงเห็นแก่พี่สาวที่กำลังจะจากโลกนี้ไป

สุดาเล่าเรื่องความขัดแย้งระหว่างย่าแย้มกับอัมพรให้ยงยุทธ เมื่อยงยุทธรู้ก็รับไม่ได้กับการกระทำของย่า กลับบ้านเก็บข้าวของและทะเลาะกับย่า หนีออกจากบ้านมา มุ่งหน้าสู่เชียงใหม่ แย้มมาตามหายงยุทธที่งานศพอัมพร แต่ไม่พบ ปวริศขอแต่งงานกับระพีพรรณกับอุไร แต่อุไรบอกเงื่อนไข ว่าแต่งงานได้หากแย้มตายเสียก่อน ด้านลือพงษ์ประสบอุบัติเหตุขับรถลงข้างทาง ทำให้เป็นอัมพาต

ยงยุทธหลังออกจากบ้านและลาออกจากงานไป ก็เป็นผู้จัดการรีสอร์ตที่ลำปาง ซึ่งเป็นของวสันต์ (เตชินท์ ปิ่นชาตรี) เพื่อนสนิทสมัยเรียนมหาวิทยาลัย โดยยงยุทธไม่สนใจครอบครัวอีกเลย โดยเฉพาะแย้มที่มีปัญหากับลูกหนี้ มีเรื่องกันจนมีเรื่องถึงตำรวจ

ธนาอยากพาหทัยรัตน์ไปพักผ่อนต่างจังหวัด ได้ชวนปวริศ ระพีพรรณ ไปด้วยกัน ซึ่งบังเอิญมาพัก รีสอร์ตที่ยงยุทธทำงานอยู่ ทำให้ยงยุทธรู้ว่าธนากับหทัยรัตน์สนิทสนมกัน ยงยุทธจึงถามว่า ความสัมพันธ์ของพวกเขายังเหมือนเดิมหรือไม่ หทัยรัตน์รู้ใจตัวเองว่าไขว้เขวมาทางธนา จบตอบอย่างถนอมน้ำใจว่า ยังคงเหมือนเดิม ด้านลลดาขับรถชนมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ได้ขอความช่วยเหลือกับก้องภพ ทำให้ลลดามีความรู้สึกดีกับก้องภพ ธนาเห็นว่าหทัยรัตน์ยังคงตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกยงยุทธหรือธนา เขาจึงขอเป็นฝ่ายไป โดยบอกว่าไปเรียนต่อต่างประเทศ หทัยรัตน์ใจหาย จึงเผยความรู้สึกที่แท้จริงในใจ โดยเธอบอกกว่า เธอรักธนาไม่ใช่ยงยุทธอีกต่อไป ธนาดีใจมากและไม่ไปเรียนต่อ ยอมทำตามใจหทัยรัตน์ทุกอย่าง

แย้มที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อาการไม่ดีขึ้นและยังคงคิดถึงหลาน ในที่สุดยงยุทธติดต่อกลับมาที่หทัยรัตน์และคิดจะกลับมาเยี่ยมย่า แต่เกิดอาการหอดหืบกระทันหัน ระพีพรรณกับลลดาจึงมาตามเขา พาเขากลับมาหาย่าจนได้ แต่เมื่อมาถึงยงยุทธกลับตัดพ้อเรื่องในอดีต และบอกว่าเกลียดย่า ทำให้แย้มเสียใจ สุดาเห็นว่าเป็นโอกาสดี จึงเป่าหูให้เขียนพินัยกรรมใหม่ จนแย้มได้เปลี่ยนพินัยกรรม

เมื่อยงยุทธหายป่วย ได้กลับมาที่บ้าน ได้กลับมาสำนึกบุญคุณที่ย่าเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก จึงรุดไปหาย่าที่โรงพยาบาล ย่าดีใจมาก แต่ในคืนนั้นสุดาลักลอบเพิ่มความเร็วของสายน้ำเกลือให้เร็วขึ้นจนทำให้แย้มหัวใจวายตาย ยงยุทธเสียใจมาก แต่ถูกสุดาไล่เขากลับทางอ้อม แต่เมื่อพินัยกรรมฉบับแก้ไขเปิด แย้มได้แก้ไขให้ที่ดินเป็นของยงยุทธแต่เพียงผู้เดียว สุดาเจ็บใจที่สมบัติได้กลายเป็นของยงยุทธ หทัยรัตน์ตัดสินใจบอกเลิกยงยุทธทางจดหมาย เพราะไม่กล้าที่จะบอกต่อหน้าเนื่องจากยงยุทธต้องเจอกับเรื่องสะเทือนใจมากมาย เมื่อยงยุทธอ่านจดหมายแล้วเสียใจมาก ตัดสินใจฆ่าตัวตายแต่ ลลดา ธนา และหทัยรัตน์ช่วยไว้ได้ทัน

เมื่อยงยุทธฟื้น ธนารู้สึกผิดจึงขอให้หทัยรัตน์เลือกยงยุทธ แต่ยงยุทธเป็นฝ่ายมาหาธนามาบอกให้ธนาเลือกหทัยรัตน์ ด้านพะยอมและประยูร ตัดสินใจมาขมาอ่ำและอุไร หลังจากนั้นยงยุทธตัดสินใจบวชตลอดชีวิต

การผลิต

[แก้]

ละครเรื่องนี้ เป็นละครแนวย้อนยุค ใช้เวลาถ่ายทำนาน 16 เดือน โดยเริ่มถ่ายทำในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557[2] และมีการถ่ายทำในต่างจังหวัดหลายแห่ง การคัดตัวนักแสดงนั้น นักแสดงรุ่นใหญ่เป็นนักแสดงที่วางตัวไว้แต่แรก ส่วนนักแสดงหน้าใหม่นั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ประวิทย์ มาลีนนท์ อยากให้ปั้นนักแสดงหน้าใหม่ ซึ่งเคยมีละครที่ประสบความสำเร็จในการปั้นนักแสดงหน้าใหม่อย่าง 4 หัวใจแห่งขุนเขา และสุภาพบุรุษจุฑาเทพ[3]

เพลงประกอบละคร

[แก้]

ก่อนที่ละครจะปิดกล้อง ผู้จัด ได้ให้หนึ่ง ณรงค์วิทย์มาแต่งเพลงละคร โดยได้นัดดา วิยะกาญจน์ มาร้องเพลง "เจ็บนี้จำจนตาย" ซึ่งถือเป็นการร้องเพลงละครครั้งแรก และถือเป็นเพลงหลักของละครเรื่องนี้[4] ส่วนเพลงอื่น ๆ ในละครได้แก่เพลง "แพ้รัก" ร้องโดย วาทิยา รวยนิรัตน์ และ "ให้ตายก็ไม่รักกัน" ร้องโดย ชาติ สุชาติ นอกจากนั้นในละครยังมีการใช้เพลงเพื่อแสดงในยุคสมัย อย่างเพลง "ยินยอม" ของอัสนี วสันต์ เพลง "สลัด…สะบัด" ของปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ซึ่งแสดงในเรื่องนี้ด้วย ในฉากที่ธนาเล่นคอนเสิร์ต ในยุคปี พ.ศ. 2544[5]

การตอบรับ

[แก้]

ได้รับการวิจารณ์ว่า ละครเรื่องนี้เหมือน "ม้านอกสายตา" ก่อนออกฉายดูไม่โดดเด่น เพราะพระเอกนางเอก ไม่ใช่นักแสดงในกระแส แต่เมื่อออกอากาศได้รับกระแสตอบรับอย่างมาก คือมีจุดแข็งทั้งบทและนักแสดง ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงรุ่นพ่อแม่ รุ่นลูกตอนเด็กและตอนโต ที่ใช้นักแสดงใหม่แทบทั้งหมด คมชัดลึกวิจารณ์นักแสดงรุ่นลูกว่า แสดงออกมาค่อนข้างดี คนที่น่าชื่นชมคือ อาทิตย์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ ที่รับบทลือชัย บทแสดงน้อยที่พลังมากมายมหาศาล ส่วนคณิน ในบทยงยุทธ ช่วงแรกทำได้ติดจะแข็งทื่อ แต่มาพีคทุกครั้งในฉากอารมณ์ ถือว่าทำได้ดี[6] ส่วนตัวละครที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคือ "แย้ม หมั่นกิจ" รับบทโดยรัดเกล้า อามระดิษ ที่ร้ายกาจสมบทบาท[7][8][9] ซึ่งรัดเกล้าออกมายอมรับว่า "...รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ท้าทาย ทำให้เราอยากจะลองเป็นตัวละครนี้ให้ได้ แต่พอรับมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก... "[10] จากผลสำรวจของไทยพีเพิลส์ชาร์ต (Thailand People’s Chart) ในหัวข้อ "นางร้ายที่คนไทยชื่นชอบ" เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ก็พบว่ารฐา โพธิ์งาม และรัดเกล้า อามระดิษ จากละครเรื่องนี้อยู่อันดับที่ 2 และ 4 ตามลำดับ หากจำแนกก็พบว่าคนโสดส่วนใหญ่ให้คะแนนรฐา และผู้ที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่ให้คะแนนรัดเกล้า[11]

นอกจากนี้ยังมีกระแสในโซเชียลมีเดีย เมื่อมีผู้โพสต์ลงในเฟซบุกส่วนตัวว่า แย้ม หมั่นกิจ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญนั้นมีตัวตนจริง โดยเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับลงรูปของผู้หญิงวัยกลางคนคนหนึ่ง พร้อมกับมีข้อความระบุให้เชื่อว่าผู้หญิงคนนั้นคือนางแย้ม และระบุว่านางแย้มเป็นบุคคลที่มีอารมณ์ร้าย แต่ได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 แต่ในส่วนของจุฬามณี ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์ยืนยันว่า เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องแต่ง และรูปของผู้หญิงที่ถูกอ้างว่าเป็นตัวจริงของนางแย้ม แท้จริงแล้วเป็นรูปป้าของตน[12][13]

สุดแค้นแสนรัก เป็นละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่อง 3 ในปี 2558 มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุด 11.9[14]

รางวัล

[แก้]
รางวัล
ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผล
สยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2015[15] ละครยอดเยี่ยม ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์ (กฤษณ์ ศุกระมงคล และ อดุลย์ ประยันโต) ชนะ
นักแสดงดาวรุ่ง (วิชยุตม์ ลิ่มรัตนะมงคล) ชนะ
ร้ายได้ใจ (รัดเกล้า อามระดิษ) ชนะ
สีสันบันเทิงอวอร์ด 2015 ละครยอดนิยมแห่งปี ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม (กฤษณ์ ศุกระมงคล และ อดุลย์ ประยันโต) ชนะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (รัดเกล้า อามระดิษ) ชนะ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 30 ละครดีเด่น ชนะ
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น (พรชิตา ณ สงขลา) เสนอชื่อเข้าชิง
ดารานำหญิงดีเด่น (รัดเกล้า อามระดิษ) เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับละครดีเด่น (กฤษณ์ ศุกระมงคล และ อดุลย์ ประยันโต) เสนอชื่อเข้าชิง
ละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง
บทละครโทรทัศน์ดีเด่น (ยิ่งยศ ปัญญา) เสนอชื่อเข้าชิง
เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2016[16] นักแสดงหญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด (รัดเกล้า อามระดิษ) ชนะ
ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ชนะ
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 13 บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (ยิ่งยศ ปัญญา) ชนะ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์) ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (รัดเกล้า อามระดิษ) ชนะ
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ชนะ
ละครไทยยอดนิยม เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 กำกับภาพยอดเยี่ยม (อดุลย์ ประยันโต) เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงละครยอดเยี่ยม (เจ็บนี้จำจนตาย ขับร้อง นัดดา วิยกาญจน์) ชนะ
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (ยิ่งยศ ปัญญา) เสนอชื่อเข้าชิง
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พรชิตา ณ สงขลา) ชนะ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (รัดเกล้า อามระดิษ) ชนะ
ผู้กำกับยอดเยี่ยม (กฤษณ์ ศุกระมงคล และ อดุลย์ ประยันโต) ชนะ
ละครยอดเยี่ยม ชนะ
International Drama Festival in Tokyo 2016[17] ละครต่างประเทศยอดเยี่ยม ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. โดนัท มอส นำทีมเปิดกล้องบวงสรวง สุดแค้น แสนรัก : กระปุก
  2. "'ต๊งเหน่ง'เครียดคนเกลียด'แย้ม'ปลื้ม'สุดแค้นแสนรัก'กระแสดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
  3. ‘หนุ่ม’ยกบทดีส่ง‘สุดแค้นแสนรัก’เปรี้ยง[ลิงก์เสีย]
  4. นัดดา วิยะกาญจน์ ร้องเพลงประกอบละคร สุดแค้นแสนรัก[ลิงก์เสีย]
  5. “อาโป” พระเอกใหม่ไฟแรง บท “ธนา” สุดแค้นแสนรัก อ้อนเต็มกำลัง![ลิงก์เสีย]
  6. กะเทาะเปลือก‘สุดแค้นแสนรัก’ปมฟูมฟัก‘ผลผลิต’บิดเบี้ยว เก็บถาวร 2015-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คมชัดลึก
  7. ""รัดเกล้า"ผวาหนามทุเรียน-บท"อีแย้ม" ฟีดแบ็ก"สุดแค้น"ดี-มีแต่คนอยากตบ". ข่าวสดออนไลน์. 24 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "รัดเกล้า อามระดิษ : ป้าแย้มแห่ง "สุดแค้นแสนรัก", ทุเรียนที่เธอได้รับ และผลงานเพลงของเธอ". Headlight Magazine. 15 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ปิดฉาก'สุดแค้นแสนรัก' สะสางหนี้ น้ำตาท่วมจอ". ไทยรัฐ. 29 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ""รัดเกล้า" ยอมรับ ถึงกับกุมขมับ บท "แย้ม" ร้ายและแค้นโลกไม่ลืม!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 4 พฤษภาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "เรื่องนี้ต้องขยายกับพัทรวี : โพลมหาชน นางร้ายในใจประชาชน". สำนักข่าวไทย. 31 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ข่าวมั่วอ้างตัวจริง อีแย้ม สุดแค้นแสนรัก เอ็มไทยดอตคอม[ลิงก์เสีย]
  13. "ผู้แต่ง'สุดแค้นแสนรัก'ยัน 'อีแย้ม'ไม่มีตัวตนจริงๆ". เดลินิวส์. 30 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. จับทางละครปี 2015
  15. ผลรางวัลสยามดารา สตาร์ อวอร์ด 2015
  16. "สรุปผลรางวัลเอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2016". Tlcthai. 3 มีนาคม พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "ละครสุดแค้นแสนรัก รับรางวัลเวที international drama festival in Tokyo 2016". ช่อง 3. 7 พฤศจิกายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]