สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
สุพัฒนพงษ์ ใน พ.ศ. 2560
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ถัดไปภูมิธรรม เวชยชัย
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ปานปรีย์ พหิทธานุกร
อนุทิน ชาญวีรกูล
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ถัดไปพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 163 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566–2567)
คู่สมรสฐิติมา พันธุ์มีเชาว์ (สมรส 2529)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ จากการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2566

ประวัติ

[แก้]

สุพัฒนพงษ์ เป็นบุตรนายสง่า นางนิภา พันธุ์มีเชาว์ จบการศึกษาปริญญาตรี จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจาก ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรต่างๆมากมาย อาทิเช่น ปริญญาบัตร วปอ. 50 และปริญญาบัตร ปรอ. 20 จาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 4 (วพน. 4) จาก สถาบันวิทยาการพลังงาน หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 23/2559 จาก สถาบันวิทยาการตลาดทุน หลักสูตร Oxford Energy Seminar 2013, สหราชอาณาจักร และ Advance Management Program, INSEAD University, ประเทศฝรั่งเศส[1]

การทำงาน

[แก้]

สุพัฒนพงษ์ เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของพีทีที โกลบอล เคมิคอล ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง กันยายน พ.ศ. 2562 อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ​อดีตประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) อดีตนายกสมาคมสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองประธาน​สภาอุตสาหกรรม​แห่งประเทศไทย อดีตอุปนายกสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย อดีตรองประธานมูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้ อดีตกรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยสิริเมธี

ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562 เขาได้รับตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบริหารธุรกิจ) ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2] และพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเขาคือ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์

เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้สุพัฒนพงษ์เป็นหนึ่งใน 6 ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โดยเข้ามาช่วยดูเรื่องเศรษฐกิจ การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐาน[3]

เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สุพัฒนพงษ์ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล พร้อมทั้งลาออกจากตำแหน่งกรรมการและกรรมการความเสี่ยงองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)​ ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยมีการคาดหมายว่าเขาเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[4] กระทั่งเมื่อ 6 สิงหาคม ในปีเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[5] ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 สุพัฒนพงษ์ได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พร้อมกับทำหน้าที่เป็นทีมเศรษฐกิจของพรรค[6] ต่อมาเขาสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อสังกัด รทสช. ลำดับที่ 2[7] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก แต่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคและเป็นประธานยุทธศาสตร์ของพรรค โดยระบุสาเหตุที่ลาออกเพราะต้องการช่วยงานพรรคอย่างเต็มที่[8]

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กรรมการ / กรรมการกำกับดูแลกิจการ". บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 27 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "นายกฯ เซ็นตั้ง 6 กุนซือ ช่วยขับเคลื่อนนโยบาย เพิ่มประสิทธิภาพงาน รบ". thairath.co.th. กรุงเทพฯ: ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""สุพัฒนพงษ์"ลาออกบอร์ดปตท.สผ". dailynews.co.th. กรุงเทพฯ: เดลินิวส์. 24 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 6 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สุพัฒนพงษ์" รับลงปาร์ตี้ลิสต์รวมไทยสร้างชาติ เป็นไปได้ ทำ "คนละครึ่ง" ต่อ
  7. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
  8. 'สุพัฒนพงษ์' ไขก๊อกสส.รทสช. 'แม่เลี้ยงติ๊ก' ขยับนั่งแทน
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ถัดไป
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี (ครม.62)
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค