สุรียานี อับดุลเลาะห์

สุรียานี อับดุลเลาะห์
ชื่อท้องถิ่น
Suriani Abdullah
เกิดเอ็ง หมิงจิง (Eng Ming Ching)
23 มกราคม พ.ศ. 2468
ซีเตียวัน อำเภอมันจุง รัฐเปรัก บริติชมาลายา
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2556 (88 ปี)
อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย
อาชีพนักเขียน
คู่สมรสเจ๊ะดะห์ อันยัง อับดุลเลาะห์ (สมรส 2498–2556)
บุตรบุตรสาวหนึ่งคน

สุรียานี อับดุลเลาะห์[1] (มลายู: Suriani Abdullah) นามเดิม เอ็ง หมิงจิง (Eng Ming Ching; 23 มกราคม พ.ศ. 2468 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2556) เป็นอดีตสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา[2][3]

ประวัติ

[แก้]

สุรียานีเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2468 ที่เมืองซีเตียวัน รัฐเปรัก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของบริติชมาลายา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนหนานหฺวา ณ ที่นั่นเธอได้รู้จักกับ Tu Lung Shan และอ๋อง บุ๋นหัว หรือเป็นที่รู้จักในนาม จีนเป็ง นักการเมืองผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์[4] กระทั่งสุรียานีเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดินมาลายาเมื่อ ค.ศ. 1940 เธอมีส่วนร่วมในการระดมคนและจัดตั้งกลุ่มแรงงานสตรีในหุบเขากินตา[5] ต่อมาสุรียานีก็ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลางใน ค.ศ. 1975[5]

สุรียานีสมรสกับเจ๊ะดะห์ อันยัง อับดุลเลาะห์ (Cik Dat bin Anjang Abdullah) หรือเป็นที่รู้จักในนาม อับดุลเลาะห์ ซีดี (Abdullah CD) ซึ่งเป็นอดีตนักการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาเมื่อ พ.ศ. 2498 เธอจึงเปลี่ยนชื่อและเข้ารีตศาสนาอิสลามตามความเชื่อของสามี หลังการกวาดล้างคอมมิวนิสต์โดยทางการสหราชอาณาจักร สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาหลายคนต้องหนีเข้าป่าและจับอาวุธขึ้นต่อสู้ จัดตั้งเป็นกรมกองกระจายตัวตามพื้นที่ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 10 กอง ซึ่งอับดุลเลาะห์ ซีดี เป็นผู้นำทหารกองร้อยที่ 10 (หรือเรียกว่า กรมสิบ) ที่เข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่ประเทศไทย[6] ดังพบการเคลื่อนไหวที่ตำบลดุซงญอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในช่วง พ.ศ. 2491[7] ก่อนเคลื่อนตัวมายังอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ในเวลาต่อมา[6]

กระทั่งเกิดการลงนามเพื่อสันติภาพระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์มาลายากับประเทศไทยและมาเลเซียเมื่อ พ.ศ. 2532 พรรคคอมมิวนิสต์มาลายาประกาศวางอาวุธและสลายตัวออกจากป่า ทางรัฐบาลไทยได้จัดสรรที่ดินทำกิน และสถานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยแก่อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาด้วยการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านหลายแห่ง[8] ซึ่งสุรียานีและสามีได้ลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส[6] โดยสุรียานีอาศัยอยู่ร่วมกับสามีและบุตรสาวจนกระทั่งเธอเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2556[9] อย่างไรก็ตาม ทางการมาเลเซียปฏิเสธที่จะรับอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กลับไปเป็นพลเมืองของมาเลเซียอีก และยังสงวนท่าทีดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน[10]

งานเขียน

[แก้]

สุรียานีเป็นผู้เขียนหนังสือ Rejimen Ke-10 dan Kemerdekaan ("กองร้อยที่ 10 และอิสรภาพ") บอกเล่าเรื่องราวของกองร้อยที่ 10 ของกองทัพปลดปล่อยชาติมาลายา[5] และหนังสือ Memoir Suriani Abdullah: Setengah Abad Perjuangan ("ความทรงจำของสุรียานี อับดุลเลาะห์: การต่อสู้ครึ่งศตวรรษ")[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สุขสันต์วันรายอไอดิลอัดฮา Selamat Hari Raya Aidiladha". บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา12. 26 พฤศจิกายน 2552. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Suriani Abdullah (1924-2013) - Seorang pejuang kemerdekaan dan anti-imperialis". partisosialis.org/. Socialist party of Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
  3. Vengadesan, Martin (29 November 2009). "At peace in their village". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2012.
  4. Wong, James Wing-on. Suriani, the Resistance Heroine. Malaysiakini. 29 March 2005. Retrieved 15 March 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 Wong, James Wing-on. "Makcik Suriani's Memoirs are Out" Clare Street. 28 March 2006. Retrieved 15 March 2013.
  6. 6.0 6.1 6.2 tmrtoolate. "หนีเมืองมาเข้าป่า ที่นี่…สุคิริน จ.นราธิวาส". เที่ยวรอบโลก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-03. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ทำไมเรียกกบฏดุซงญอ". ดุซงญอ. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "อดีต'จคม.'กลับใจ น้อมนำโครงการ ร.9 ร่วมพัฒนาชาติไทย". มติชนสุดสัปดาห์. 5 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Characters and 'I Love Malaya' Lyrics" I Love Malaya (2006). Dirs. Ho Choon Hiong, Chan Kah Mei, Christopher Len, Wang Eng Eng, Eunice Lau. Objectif Films.
  10. "25 ปี สนธิสัญญาหาดใหญ่ อดีตคอมมิวนิสต์มลายาผิดหวัง มาเลเซียยังไม่ทำตามสัญญา". ประชาไท. 3 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. Abdullah, Suriani. Memoir Suriani Abdullah.