สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด

ขอนแก่น ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด
ฉายาจงอางผยอง
ก่อตั้ง5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 (10 ปี)
สนามสนามกีฬาองค์การบริหารบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ความจุ12,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สโมสรขอนแก่นยูไนเต็ด จำกัด
ประธานพิทักษ์ชน ช่างเหลา
ผู้ฝึกสอนปฎิภัทร รอบรู้ ประเทศไทย
ลีกไทยลีก 2
2567–68ไทยลีก, อันดับที่ 16 (ตกชั้น) ลดลง
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 2

ประวัติสโมสร

[แก้]
สนามกีฬา อบจ.ขอนแก่น สนามเหย้าของสโมสร

สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 (โดยได้สิทธิ์จากสโมสรฟุตบอลปากช่อง ยูไนเต็ด) โดยขณะนั้นได้เข้าร่วม ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น2 โซนตะวันออก และย้ายเข้าร่วม ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาล 2558 ในนามทีมขอนแก่น ยูไนเต็ด และสามารถคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำเร็จพร้อมกับได้สิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่ ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2559

แต่ในที่สุดขอนแก่น ยูไนเต็ดก็ถูก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสิทธิ์ซึ่งเทียบเท่ากับการพักทีมห้ามลงทำการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 นัดที่เหลือและให้ลบคะแนนของขอนแก่นทั้งหมดเสมือนว่าขอนแก่นไม่เคยลงแข่งขันดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2559 จากกรณีการ์ดของสโมสรไปลอบทำร้ายผู้ตัดสินหลังจากที่ขอนแก่นเปิดบ้านแพ้อ่างทอง

ใน พ.ศ. 2561 ขอนแก่นได้กลับเข้าร่วมฟุตบอลลีกอีกครั้งหลังจากได้รับการอุทธรณ์โทษจากสมาคมกีฬาฟุตบอลให้เข้าร่วม ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใน พ.ศ. 2564 ขอนแก่น ยูไนเต็ดสามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร หลังจากที่พวกเขาเอาชนะการยิงลูกโทษต่อนครปฐม ยูไนเต็ด ในนัดชิงชนะเลิศเพลย์ออฟของไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64

เกียรติประวัติ

[แก้]

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2558 ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34 26 4 4 69 28 82 ชนะเลิศ รอบสอง รอบก่อนรองชนะเลิศ Samuel Kwawu 13
2559 ดิวิชั่น 1
(สั่งห้ามการแข่งขัน)
รอบแรก
2560 สั่งห้ามการแข่งขันและห้ามส่งสโมสรเข้าร่วม
2561 ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 17 5 4 65 24 41 รองชนะเลิศ รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกรอบแรก Jardel Capistrano 15
2562 ไทยลีก 3 โซนตอนบน 24 18 5 1 57 19 59 ชนะเลิศ รอบคัดเลือก รอบสอง Natan Oliveira 18
2563–64 ไทยลีก 2 34 18 6 10 56 37 60 อันดับ 4 รอบคัดเลือก งดจัดการแข่งขัน เปาโล คอนราโด้ 25
2564–65 ไทยลีก 30 10 7 13 30 43 37 อันดับ 10 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย อิบซง แมลู 17
2565–66 ไทยลีก 30 7 12 11 24 42 33 อันดับ 13 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย อลงกรณ์ จรนาทอง
อิบซง แมลู
ลิดอร์ โคเฮน
4
2566–67 ไทยลีก 30 8 11 11 44 58 35 อันดับ 8 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ เบรนเนร์ 9
2567–68 ไทยลีก 30 4 6 20 21 68 18 อันดับ 16 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม เลื่อนชั้น ตกชั้น/ถูกสั่งห้ามแข่งขัน

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ประเทศไทย จิรวัฒน์ วังทะพันธ์
2 DF ประเทศไทย กิตติชัย ใยดี
4 DF ประเทศไทย ทินกร อสุรินทร์
5 DF ประเทศบราซิล จีเอกู ลังดิส
6 MF ประเทศไทย ปาณเดชา เงินประเสริฐ
7 FW ประเทศไทย ชิษณุพงษ์ โชติ
8 MF ประเทศเกาหลีใต้ รยู ซึง-อู
9 FW ประเทศไทย จักรกริช พาละพล
10 FW ประเทศไทย ถวิล บุตรสมบัติ
11 FW มาร์ตีนิก ซเตว็อง ล็องกี
13 GK ประเทศไทย ศิริวัฒน์ อิงแก้ว
14 MF ประเทศไทย วรฤทธิ์ มุงคุณ
15 FW ประเทศไทย ภัทรพล จันทร์สุวรรณ
17 DF ประเทศไทย ภาณุพงศ์ หาญสุริย์
18 MF ประเทศไทย นพพล พลคำ
19 MF ประเทศฝรั่งเศส โลเซมี การาบูเอ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 MF ประเทศไทย พงศภัค ตั้งทรัพย์
22 DF ประเทศไทย จิระเดช ใต้จันทร์กอง
23 DF ประเทศไทย อดิศักดิ์ ซอสูงเนิน (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
24 MF ประเทศไทย กิตติพัศ อินทวงษ์
27 DF ประเทศไทย ฉัตรชัย เจียกกลาง
28 DF ประเทศไทย วสันต์ ฮมแสน
29 GK ประเทศไทย พงศ์วรินทร์ อินทร์ธรรมมา
32 FW ประเทศบราซิล เบรนเนร์
35 MF ประเทศไทย ภานุพงศ์ พลซา
43 DF ประเทศไทย ศักดิ์สิทธิ์ จิตวิจารณ์
51 DF ประเทศญี่ปุ่น ชุนยะ ซูกานูมะ
77 MF ประเทศไทย พลากร วอกลาง
81 GK ประเทศไทย พงศนาถ ชำนาญพล
98 FW ประเทศไทย เจษฎาภรณ์ มัครมย์
99 GK ประเทศไทย ณัฐภัทร มากท้วม

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
30 FW ประเทศไทย นิพิฐพนธ์ หาดจันทร์ (ไป ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

ทีมงาน

[แก้]
ตำแหน่ง สัญชาติ ชื่อ
ประธานสโมสร ประเทศไทย พิทักษ์ชน ช่างเหลา
ที่ปรึกษาสโมสร ประเทศไทย ทรงยศ กลิ่นศรีสุข
ประธานเทคนิคสโมสร ประเทศเซอร์เบีย เซอร์ยาน เทรโลวิช
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ประเทศไทย ปฎิภัทร รอบรู้
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ประเทศไทย ว่าง
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ประเทศไทย อภิสิทธิ์ ด้วงช่วย
ฟิตเนสโค้ช ประเทศไทย สิทธิกร ลุนจันทา
แพทย์ประจำทีม ประเทศไทย จิตราภรณ์ ทองคง
นักกายภาพบำบัด ประเทศไทย เฉลิมวุฒิ ศรีอ่อนลา
ล่ามประจำสโมสร ประเทศไทย ศุภกร ศิริพรพันธ์

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]
ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลาการคุมทีม เกียรติประวัติ
ธงชัย สุขโกกี ประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2558 – มีนาคม 2559 แชมป์ ดิวิชั่น 2 โซนอีสาน ฤดูกาล 2558
อันดับที่ 3 ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2558
เดวิด บูธ ประเทศอังกฤษ มีนาคม 2559
ลูโบเมียร์ ริสตอฟสกี ประเทศเซอร์เบีย มีนาคม – ธันวาคม 2559
ศรายุทธ ชัยคำดี ประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2561 – เมษายน 2562 รองแชมป์ไทยลีก 4 ระดับประเทศ ฤดูกาล 2561
ปฏิภัทร รอบรู้ ประเทศไทย พฤษภาคม – ตุลาคม 2562 แชมป์ไทยลีก 3 โซนตอนบน ฤดูกาล 2562
แชมป์ไทยลีก 3 ระดับประเทศ ฤดูกาล 2562
ซูงาโอะ คัมเบะ ประเทศญี่ปุ่น พฤศจิกายน 2562 – มีนาคม 2564
ปฏิภัทร รอบรู้ ประเทศไทย มีนาคม – พฤษภาคม 2564 อันดับที่ 4 ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64 (ชนะเพลย์ออฟ เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก)
การ์ลุส เอดูวาร์ดู ปาร์เรย์รา ประเทศบราซิล พฤษภาคม 2564 – 29 ตุลาคม 2565
ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก ประเทศไทย 2 – 28 พฤศจิกายน 2565
ปฏิภัทร รอบรู้ ประเทศไทย 5 ธันวาคม 2565 – 23 ตุลาคม 2566
เอกลักษณ์ ทองอ่ำ
รัฐธีร์ เอื้อธนไพศาล
ประเทศไทย 23 ตุลาคม 2566 – 30 เมษายน 2567
ธนา ชะนะบุตร ประเทศไทย 30 เมษายน – 31 สิงหาคม 2567
รัฐธีร์ เอื้อธนไพศาล (รักษาการ) ประเทศไทย 31 สิงหาคม – 5 กันยายน 2567
เซอร์ดาน เทรโลวิช ประเทศเซอร์เบีย 5 กันยายน – 7 ธันวาคม 2567
ปฏิภัทร รอบรู้ ประเทศไทย 7 ธันวาคม 2567 –

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]