ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | กอและพิฆาต (ทีม), กอและมาเนีย (แฟนคลับ) | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2553 | ||
สนาม | สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส | ||
ความจุ | 2,000 ที่นั่ง | ||
ประธาน | วัชระ ยาวอหะซัน | ||
ผู้จัดการ | กูวาเอล ยาวอหะซัน | ||
ผู้ฝึกสอน | นิรุณตร์ อัศวภักดี | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 7 | ||
|
สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเล่นในไทยลีก 3 โซนภาคใต้
หากพูดถึงทีมฟุตบอล นราธิวาส แฟนบอลอาวุโสหลายคนในยุคนั้น อาจจะเฉยๆ น้อยคนนักที่จะประหวั่นพรั่นพรึงถึงพิษสงและความน่ากลัวของทีมชายแดนใต้ทีมนี้ แม้กระทั่งในภาคใต้เอง ทีมนี้...ก็อยู่ภายใต้ร่มของยักษ์ใหญ่ในอดีต อย่าง นครศรี, ตรัง, กระบี่, สตูล,สุราษฏร์ธานี, พังงา และสงขลา แม้กระทั่งปัตตานี ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียน ขึ้นมาครองความยิ่งใหญ่ โดยตลอดในยุคที่กีฬาแห่งชาติ ได้ชื่อว่าเป็นกีฬาเขต จะเห็นได้ว่าในยุค 60-70 นราธิวาส ไม่เคยเฉียดสัมผัสตำแหน่งแชมป์บอลโล่พระราชทานฯ เลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นเครื่องตอกย้ำความจริงข้อนี้ได้เป็นอย่างดี มีบ้างที่หักปากกาเซียน ในยุคของผู้บริหารทีมจากยี่งอ เป๊าะนิอาแซ ที่นำนรา ไปแข่งกีฬาเขต และยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ รอบสุดท้ายที่กทม.ในยุค 80 โดยได้โค้ชอดีตทีมชาติ คุณ แก้ว โตอติเทพ จากสโมสรราชวิถี เข้ามาช่วยให้นักเตะนรามีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ต่อมาในยุค 90 เมื่อขั้วอำนาจถูกย้ายฝั่งไปที่ อ.สุไหงโก-ลก ฟุตบอลนราก็วงเวียนอยู่แค่ระดับภาคใต้ตอนล่างและรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเท่านั้น กระทั่งจุดเปลี่ยน ทำให้นราธิวาส เริ่มเห็นแสงสว่างรำไรที่ปลายอุโมงค์แห่งความฝัน นั่นก็คือ ในระหว่างปี 97-99 ทีมฟุตบอลของโรงเรียนนราสิกขาลัย ในนามทีม มาโซบาติก โดยการนำของ อ.นิมิตร ลิ่วตระกูล ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่คับจังหวัด ด้วยการคว้าถ้วยรางวัลมาทั่วหล้า และนักเตะยุคนั้น ได้กระจายไปเล่นในสโมสรต่างๆทั่วภาคใต้ อีกทั้งยังมีโอกาสเป็นตัวแทนเขต เข้าร่วมแข่งกีฬาเยาวชนแห่งชาติรอบสุดท้าย ก่อนสร้างผลงานได้อย่างน่าพอใจ
จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ 2 สหายจากมะนังตายอ สส.วัชระ ยาวอฮะซัน และ โค้ชอ๊อด พิทยา พิมานแมน เข้ามาทำทีมฟุตบอลอย่างจริงจังในเวลาต่อมา ในช่วงปี 2000 โดยมีนักเตะเยาวชนจาก ร.ร.นราสิกขาลัย เป็นฟันเฟืองหลักในความสำเร็จ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ยังเวทีน้อยใหญ่มากมายทั่วภาคใต้ ก่อนจะประสบความสำเร็จระดับภาคเป็นครั้งแรกในศึก ไทคัพ และไพรม์มินิสเตอร์ คัพ ปี 2002 ช่วงที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพบอลโลก ร่วมกัน จากนั้น 2 ปีต่อมา ได้ประสบความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการผ่านเข้ารอบสุดท้าย กีฬาแห่งชาติที่ ราชบุรี ในปี 2004 และสามารถฝ่าด่านมหากาฬของรอบแรก สำเร็จในประวัติศาสตร์จังหวัด
แม้ว่าปีนั้นจะเป็นฝ่ายปราชัยให้กับทีมสุพรรณบุรี ระดับโปรลีก ในรอบแปดทีมสุดท้ายก็ตาม แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นแรงโหมสำคัญทำให้เรือกอและแห่งบางนรา ทะยานไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโปรวินเชียลลีก ดิวิชั่น 2 ในปี 2005 ก่อนจะได้สิทธ์ขึ้นชั้นสำเร็จในปีต่อมา ทันที่ได้ขึ้นไปเล่น โปรเฟสชั่นแนลลีก เป็นครั้งแรกในระบบลีกอาชีพ ปี 2006 ทีมนราก็ได้สร้างปรากฏการสำคัญให้กับวงการฟุตบอลไทย ซึ่งถือว่าเป็นคุณูปการให้กับสมาคมฟุตบอลไทยและแฟนบอลท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเป็นทีมแรกที่มีการกล่าวขวัญถึงจำนวนแฟนบอลที่ล้นสนาม จนเกิดเป็นอาฟเตอร์ช๊อกให้ทีมต่างๆ โดยเฉพาะชลบุรี เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ จนเป็นเรื่องปกติธรรมดาในปัจจุบัน ที่แฟนบอลเข้ามาชมเกมทะลักความจุของสนาม
เพียงแค่ฤดูกาลแรกที่เล่นระบบลีก พวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทีมในระดับนี้ ด้วยการคว้าอันดับ 5 ไปครองอย่างน่าประหลาดใจ รวมทั้งในรายการกีฬาแห่งชาติ ที่จ.สุพรรณบุรี พวกเขาก็ได้สร้างชื่อให้กับจังหวัดเล็กๆอีกครั้ง เมื่อเป็นฝ่ายหักปากกาเซียน เข้าชิงเป็นครั้งแรกกับทีมกาญจนบุรี ก่อนจะคว้าเหรียญเงินประวัติศาสตร์มาครองได้ แบบพลิกความคาดหมาย โดยโค้ชคู่บารมี อ.นริศ สุทธิกลัด และ อ.วิเชียร ภู่พงไพบูลย์ จาก รร.นราธิวาส และ อ.นิมิตร จากนราสิกขาลัย ต่อมาในปี 2007 เมื่อลีกอาชีพถูกรวมเข้าด้วยกันระหว่าง ลีกภูธรของ กกท.และกทม.ลีกของสมาคมฯ นราธิวาส เอฟซี ด้วยความที่ยังใหม่ในระบบลีกอาชีพ และพรรษาน้อย จึงส่งผลทำให้ต้องร่วงตกชั้น จากดิวิชั่น 1 ไปสู่ ลีกรองลงมา อย่างน่าเจ็บใจ ทั้งๆที่มีโอกาสจะอยู่รอดแบบเฉียดฉิว
ปีต่อมา 2008 ในระดับดิวิชั่น 2 พวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่อยากจะขึ้นไปเล่นในลีกที่สูงกว่า เพียงแต่โชคไม่เป็นใจ ทำให้พลาดไปในนัดสุดท้าย แต่ก็ได้รับรางวัลทีมที่พัฒนายอดเยี่ยมประจำปีนั้นไปครองแบบไร้คู่แข่ง
ในฤดูกาล 2011 เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น ท่าน ธนน เวชกรกานนท์ ได้มอบหมายให้ทีมสโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด เป็นตัวแทนของจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขัน ลีกดิวิชั่น 2 ได้เปลี่ยนสถานะเป็น เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ทำให้ นราธิวาส มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อผู้บริหารชุดเก่า สส.วัชระ ยาวอฮะซัน และพิทยา พิมานแมน เข้ามาทำชุดใหญ่อีกครั้ง โดยหวังสร้างทีมสโมสรฟุตบอลจากจังหวัดนราธิวาส กลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งในปีนี้เอง [1]
ทีมสโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด ตัวแทนของจังหวัดนราธิวาส ในปัจจุบัน แต่เดิมเป็น ทีมชมรมฟุตบอลของสมาคมกีฬาจังหวัดนราธิวาส และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกในรายการกีฬาแห่งชาติ ราชบุรีเกมส์ ปี 2004 ต่อมาได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลในรายการโปรเฟสชั่นแนลลีก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นโต้โผใหญ่ของรายการ โดยใช้ชื่อ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส ได้เข้าแข่งขันใน โปรเฟสชั่นแนลลีก ในฤดูกาล 2006
ต่อมาใน ปี 2011 สโมสรของชมรมฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส ได้กลับมาเล่นในระดับ ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ อีกครั้ง ในชื่อใหม่ว่า สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด ในปี 2010 ทีมกอและพิฆาต ร่วมลงแข่งขันรายการ ฟุตบอลซุปเปอร์แชมป์ ครั้งที่ 1 ในนามของ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 39 ชลบุรีเกมส์ และได้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ จนสามารถคว้าเหรียญทองแดงได้สำเร็จ หลังพลาดท่าพ่าย สโมสรฟุตบอลชลบุรี ไปด้วยสกอร์ 1-2 จบเส้นทางการป้องกันแชมป์ เพียงแค่รอบนี้
ในปี 2009 ชมรมฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส ภายใต้การนำของหัวหน้าผู้ฝึกสอน นิมิตร ลิ่วตระกูล สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ในการแข่งขันฟุตบอล กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ตรังเกมส์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการชนะ จังหวัดราชบุรี 1-0 ในนัดชิงชนะเลิศ และยังได้สิทธิเป็นตัวแทนภาคใต้ ร่วมกับสตูลเข้าแข่งขันฟุตบอลรายการ ฟุตบอลซุปเปอร์แชมป์ ครั้งที่ 1 ในปี 2010 อีกด้วย[2]
ปี 2010 สโมสรฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอล ซุปเปอร์แชมป์ ครั้งที่ 1 มาครองอย่างยิ่งใหญ่ได้ ด้วยการปราบทั้ง พิษณุโลก เอฟซี, อยุธยา เอฟซี และ เกษมบัณฑิต เอฟซี รวมทั้ง "กว่างซ้งมหาภัย" สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด ด้วยสกอร์ รวม 3-0 ในรอบชิงชนะเลิศนัดที่ 2 หลังจากที่นัดแรก เสมอในเวลา 0-0
ปี 2011 สโมสรฟุตบอลจังหวัดนราธิวาส มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อทางผู้ว่าราชการในสมัยนั้น ท่าน ธนน เวชกรกานนท์ ได้ให้สิทธิ์แก่ทีม สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ เป็นครั้งแรกของสโมสร โดยได้ผู้จัดการทีม วัชระ ยาวอหะซัน กลับมาคุมทีมอีกครั้ง หลังจากที่วางมือไปเมื่อ 2 ปีก่อน จนส่งผลทำให้ ทีมกอและพิฆาต จบเลกแรกของฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 ในปีนี้
ในปี 2011 สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ดได้ โค้ชพิทยา พิมานแมน และนักเตะชุดประวัติศาสตร์ในปี 2009 กลับมาร่วมทัพอีกครั้ง พร้อมกับย้ายสนามเหย้าจากสนาม บางนรา อารีน่า สเตเดี้ยม หรือ สนาม เทศบาลเมือง จังหวัดนราธิวาส มาที่สนามนราธิวาส ฟอเรสต์ ไซด์ สเตเดี้ยม หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัด นราธิวาส ในฤดูกาลนี้ สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด ทำได้เพียงอันดับที่ 7 ในการแข่งขันฟุตบอล เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ เลกแรก แต่ก็ยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในรายการ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯ สุไหงโก-ลก คัพ มาครองได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังชนะเลิศรายการถ้วยโล่ห์พระราชทาน ภาคใต้ ที่จังหวัดพังงา มาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจังหวัดเช่นกัน ทำให้ได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพ ในครั้งถัดไปโดยอัตโนมัติ
ในอนาคตปี 2013 สโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด เตรียมจะทำการย้ายสนามเหย้าอีกครั้ง จากเดิม สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัด นราธิวาส มาใช้สนามกีฬากลาง จังหวัดนราธิวาส สเตเดียม แทน ซึ่งถือเป็นสนามใหม่ล่าสุด และเป็นสนามที่มีอัฒจันทร์ล้อมรอบเป็นแห่งแรกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลนรา ยูไนเต็ด ได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมที่มีสไตล์การเล่นอันเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับทรงบอล แซมบ้าเมอนารอ อันลือลั่น บราซิลแดนใต้ขนานแท้และดั้งเดิม มีความมุ่งมั่นไปสู่ความเป็นมืออาชีพต่อไป และมีกลุ่มกองเชียร์ Kolak Mania ที่เหนียวแน่น และเลื่องชื่อลือชาในเรื่องของสีสันในการเชียร์ เป็นจุดแข็งของสโมสรอีกด้วย[3]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | ||||
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 24 | 12 | 6 | 6 | 38 | 26 | 42 | อันดับที่ 4 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | สุกรี อีแต | 8 |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 9 | 6 | 7 | 30 | 27 | 33 | อันดับที่ 5 | รอบแรก | ไม่ได้เข้าร่วม | – | สมนึก แก้วอาภรณ์ | 5 |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 9 | 4 | 9 | 25 | 25 | 31 | อันดับที่ 7 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | มันโซ อุสมัน ไฟโรส เจ๊ะแม สมนึก แก้วอาภรณ์ |
3 |
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |