ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด Young Singh Hatyai United Football Club |
---|---|
ฉายา | สิงห์หนุ่ม สองทะเล Young lion, two seas |
ก่อตั้ง | 2017 2021 (ในชื่อ ยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด) | (ในชื่อ หาดใหญ่ ซิตี้)
สนาม | สนามกีฬาจิระนคร |
ความจุ | 25,000 ที่นั่ง |
ลีก | เซมิโปรลีก |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 3 |
สโมสรฟุตบอลยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยเป็นสโมสรตัวแทนจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันเล่นในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคใต้
สโมสรฟุตบอลยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด เดิมใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลหาดใหญ่ ซิตี้ ก่อตั้งเมื่อปี 2560 และได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2560[1] หาดใหญ่ ซิตี้ ได้ตำแหน่งชนะเลิศโซนภาคใต้ตอนล่าง หลังจากที่สามารถเอาชนะโกลก ยูไนเต็ด ด้วยการดวลลูกโทษ 1–4 และเข้าชิงชนะเลิศโซนภาคใต้กับศรีวิชัย เอฟซี โดยสามารถเอาชนะได้ 3–1 ทำให้หาดใหญ่ ซิตี้ ได้ตำแหน่งชนะเลิศโซนภาคใต้ และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2561[2]
ต่อมาในปี 2563 หาดใหญ่ ซิตี้ ได้ขอแจ้งพักทีม เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และปัญหาเรื่องงบประมาณในการทำสโมสร[3] และในปี 2564 หาดใหญ่ ซิตี้ ได้ยุบรวมกับยังสิงห์ ยูไนเต็ด สโมสรจากไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก เปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด และได้กลับมาส่งทีมอีกครั้งในฤดูกาล 2564–65[4][5]
ในการแข่งขัน ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ ฤดูกาล 2565-66 สโมสรจบอันดับที่ 3 ต่อมาทางบริษัท ไทยลีก จำกัดได้แจ้งว่าสโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง ทำให้ต้องลงแข่งเซมิโปรลีกในฤดูกาลต่อมา[6]
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปี |
---|---|---|---|---|
7°01′13″N 100°28′18″E / 7.020194°N 100.471528°E | อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา | สนามกีฬาจิระนคร | 25,000 | 2560–2561, 2565– |
6°55′05″N 100°27′26″E / 6.918019°N 100.457330°E | อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา | สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้ (พรุค้างคาว) | 3,000 | 2562–2565 |
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
หาดใหญ่ ซิตี้ | |||||||||||||
2560 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคใต้ | ชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่สามารถเข้าร่วม | พิเชษฐ์ วารินทร์ ปัญญา ขุนเพ็ชร์ ฑิฆัมพร เรืองกูล |
1 | |||||||
2561 | ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ | 21 | 6 | 7 | 8 | 24 | 27 | 25 | อันดับที่ 5 | รอบคัดเลือก | รอบคัดเลือกรอบสอง | ธีรวัฒน์ ดุนี | 6 |
2562 | ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ | 24 | 8 | 4 | 12 | 31 | 34 | 28 | อันดับที่ 4 | รอบคัดเลือก | รอบคัดเลือกรอบสอง | อับดุสสาลาม สาม่าน | 8 |
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | แจ้งขอพักทีมในฤดูกาลนี้ | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบสอง | – | – | |||||||
ยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด | |||||||||||||
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 24 | 7 | 6 | 11 | 18 | 23 | 27 | อันดับที่ 9 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบสอง | นัฐกร ขุนเจริญ | 4 |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 10 | 6 | 6 | 40 | 22 | 36 | อันดับที่ 3 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | บูร์เนล อ็อกานา-ซตาซี | 9 |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ชื่อ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|
หาดใหญ่ ซิตี้ | ||
อัมรินทร์ หมัดหลำ | 2560–2561 | ชนะเลิศ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2560 โซนภาคใต้ตอนล่าง ชนะเลิศ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2560 โซนภาคใต้ |
สาธิต เบ็ญโส๊ะ | 2561–2562 | |
อนุสรณ์ กลับกลาย | 2562–2563 | |
ยังสิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด | ||
สาธิต เบ็ญโส๊ะ | 2564 | |
ณรงค์ฤทธิ์ ขุนทิพย์ | 2564–2565 | |
ธีรธาดา จำรัส | 2565 | |
ชวภณ กมลสินธุ์ | 2565–2566 | |
ดามีอาน เบลล็อน | 2566 |