ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ (Samut Prakan City Football Club) | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | เขี้ยวสมุทร | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2561 | |||
ยุบ | พ.ศ. 2568 | |||
สนาม | สนามกีฬาลาดกระบัง 54 | |||
ความจุ | 5,100 ที่นั่ง | |||
ประธาน | สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา | |||
ผู้ฝึกสอน | ว่าง | |||
ลีก | ไทยลีก 2 | |||
2566–67 | อันดับ 15 | |||
|
สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ (อังกฤษ: Samut Prakan City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลของไทยที่ยุบทีมแล้ว ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ สโมสรแห่งนี้ลงเล่นครั้งสุดท้ายในไทยลีก 2[1] สโมสรเปลี่ยนชื่อจากพัทยายูไนเต็ด หลังจากที่เจ้าของสโมสรตัดสินใจเปลี่ยนชื่อสโมสรและย้ายไปที่สมุทรปราการ[2][3]
สโมสรก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายฤดูกาล 2561 หลังจากที่ ธเนศ พานิชชีวะ เจ้าของทีมพัทยา ยูไนเต็ด ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นสมุทรปราการซิตี และย้ายไปที่จังหวัดสมุทรปราการ[4][5] ในฤดูกาลแรก สโมสรได้แข่งขันในไทยลีก ฤดูกาล 2562[6]
ก่อนเริ่มฤดูกาล 2562 สโมสรได้แต่งตั้งเท็ตสึยะ มูรายามะเป็นผู้อำนวยการสโมสร[7] โดยเขาจะได้ทำงานร่วมกับหัวหน้าผู้ฝึกสอนอย่างสุรพงษ์ คงเทพในฤดูกาลแรกในไทยลีก ซึ่งในฤดูกาลนั้น สโมสรทำผลงานได้ดีจนจบอันดับที่ 6 ของตาราง[8]
สโมสรได้แต่งตั้งมาซาตาดะ อิชิอิ[9] เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนสำหรับการคุมทีมในฤดูกาล 2563–64 โดยก่อนเปิดฤดูกาล สโมสรได้ปล่อยตัวผู้เล่นหลายราย อาทิ อิบซง แมลู, คิม พย็อง-แร, บวร ตาปลา, ภูมินทร์ แก้วตา และวรนาถ ทองเครือ และได้ซื้อตัวผู้เล่นใหม่ อาทิ ทัตสึยะ ซากาอิ จากมอนเตดิโอ ยามางาตะ, ยูโตะ โอโนะ จากกิฟุ และเปดรู ฌูนีโยร์ ผู้เล่นชาวบราซิล[10][11]
สโมสรประเดิมไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 ด้วยการเสมอกับแชมป์เก่าอย่างสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด 1–1 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[12] แต่หลังจากนั้น พวกเขาแพ้ติดต่อกันถึง 3 นัด ก่อนที่จะชนะนัดแรกในลีกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดที่ 5 ที่ทีมเปิดบ้านเอาชนะระยองไปได้ 1–0[13] หลังจบการแข่งขันนัดที่ 10 ทีมอยู่ในอันดับที่ 12 ของตาราง
หลังจากช่วงเวลาอันย่ำแย่ ทีมกลับมาชนะรวดอีก 3 นัด ประกอบด้วย การบุกชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดที่ช้างอารีนา 1–3[14] และเอาชนะชลบุรีและตราด ทำให้ทีมกระโดดขึ้นไปอยู่อันดับที่ 6 ของตารางหลังจบเลกแรก[15] และในเกมแรกของเลกที่สอง ทีมสามารถเอาชนะทีมยักษ์ใหญ่ของไทยลีกอย่างการท่าเรือไปได้ 6–3 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563[16][17]
สมุทรปราการ ซิตี้ สามารถเข้าถึงรอบที่สามของการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 ก่อนที่จะตกรอบด้วยการพ่ายแพ้ต่อเมืองทอง ยูไนเต็ด 1–0 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[18] ต่อมาในไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 สโมสรทำผลงานได้อย่างย่ำแย่เนื่องจากเสียผู้เล่นตัวหลักหลายราย โดยหลังจบเลกแรก อิชิอิได้แยกทางกับทีมและย้ายไปคุมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สโมสรสมุทรปราการ ซิตี้ จึงได้แต่งตั้งยาซูชิ โยชิดะ อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติญี่ปุ่นรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีและทีมหญิงของอูราวะ เรดไดมอนส์ เข้ามาคุมทีมต่อ แต่สุดท้าย ทีมจบอันดับที่ 15 ต้องตกชั้นลงไปเล่นไทยลีก 2
ก่อนเปิดฤดูกาล 2565–66 โยชิดะได้แยกทางกับสโมสร และจักรพันธ์ ปั่นปี อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนของชลบุรี ได้เข้าคุมทีมต่อ พร้อมกับเปลี่ยนเจ้าของสโมสรคนใหม่เป็นเสี่ยบิ๊ก-สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา อดีตประธานสโมสรอินทรีเพื่อนตำรวจ ที่ทุ่มงบทำทีมปีละ 24 ล้านบาท[19]
ในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2567–68 หลังจากการแข่งขันเลกที่สองกำลังจะเริ่มขึ้น มีข่าวปรากฎในสื่อต่าง ๆ ถึงสถานการณ์การทำทีมของสโมสรโดยประสบปัญหาด้านการบริหาร ทาง บริษัท ไทยลีก จำกัด จึงได้มีหนังสือขอให้สโมสรชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อมาในการแข่งขันเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568 ปรากฎว่าสโมสรไม่เดินทางไปทำการแข่งขัน ดังนั้น บริษัท ไทยลีก จำกัด จึงได้แจ้งระงับโปรแกรมการแข่งขันของสโมสรในทุกรายการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น[20]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธาน | สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ว่าง |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | ชวนันท์ แดงเจริญ |
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู | โยฮานน์ โทมัส |
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส | คิโยมาสะ โคมัตสึ |
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (2561 - ปัจจุบัน)
ชื่อ | สัญชาติ | ช่วงเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
สุรพงษ์ คงเทพ | 8 พฤศจิกายน 2561 – 29 พฤษภาคม 2562 | ||
เท็ตสึยะ มูรายามะ | 14 มิถุนายน 2562 – 23 ธันวาคม 2562 | ||
มาซาทาดะ อิชิอิ | 23 ธันวาคม 2562 – 27 พฤศจิกายน 2564 | ||
ยาซูชิ โยชิดะ | 11 ธันวาคม 2564 – พฤษภาคม 2565 | ||
จักรพันธ์ ปั่นปี | 4 กรกฎาคม 2565 – 21 มกราคม 2566 | ||
สรธร เกิดผล (รักษาการ) | 23 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 | ||
ธนา ชะนะบุตร | 15 กุมภาพันธ์ 2566 – 27 พฤศจิกายน 2566 | ||
วันทวุฒิ หวังประเสริฐ (รักษาการ) | 27 พฤศจิกายน – 13 ธันวาคม 2566 | ||
วานเดอร์เลย์ ฌูนีโยร์ | 13 ธันวาคม 2566 – 2 มีนาคม 2567 | ||
วันทวุฒิ หวังประเสริฐ | 2 มีนาคม 2567 – 21 ธันวาคม 2567 |
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2562 | ไทยลีก | 30 | 12 | 7 | 11 | 44 | 50 | 43 | อันดับ 6 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | อิบซง แมลู | 15 |
2563–64 | ไทยลีก | 30 | 14 | 5 | 11 | 58 | 51 | 47 | อันดับ 6 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | – | บาร์รอส ทาร์เดลี | 25 |
2564–65 | ไทยลีก | 30 | 6 | 10 | 14 | 29 | 42 | 28 | อันดับ 15 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | ชญาวัต ศรีนาวงษ์ | 8 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 8 | 13 | 13 | 32 | 42 | 37 | อันดับ 14 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบเพลย์ออฟ | ยศกร บูรพา ภาสกร ศรีผุดผ่อง |
7 |
2566–67 | ไทยลีก 2 | 34 | 8 | 11 | 15 | 39 | 57 | 35 | อันดับ 15 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | เฟร์นันดู เวียนา | 12 |
2567–68 | ไทยลีก 2 | รอบแรก | รอบ 32 ทีมสุดท้าย |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ตกชั้น | เลื่อนชั้น |