สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1998–99

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1998–99
ประธานสโมสรมาร์ติน เอ็ดเวิดส์
ผู้จัดการทีมอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
กัปตันทีมรอย คีน
พรีเมียร์ลีกชนะเลิศ
เอฟเอคัพชนะเลิศ
ลีกคัพรอบก่อนรองชนะเลิศ
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนะเลิศ
แชริตีชีลด์รองชนะเลิศ
ผู้ทำประตูสูงสุดลีก: ดไวต์ ยอร์ก (18)
ทั้งหมด: ดไวต์ ยอร์ก (29)
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย55,188 คน
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน
สีชุดที่ 3

ฤดูกาล 1998–99 เป็นฤดูกาลที่ 7 ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีกและเป็นฤดูกาลที่ 24 ติดต่อกันในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ หลังจากจบฤดูกาลที่แล้วโดยไม่ได้แชมป์ใด ๆ เลย ในฤดูกาลนี้ยูไนเต็ดคว้าเทรเบิลแชมป์คือพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นทีมแรกในฟุตบอลอังกฤษที่ทำได้ ในระหว่างฤดูกาล ยูไนเต็ดแพ้เพียง 5 นัดในแชริตีชีลด์ที่พบกับอาร์เซนอล ในรอบที่ 5 ของลีกคัพที่พบกับแชมป์ฤดูกาลนั้นอย่างทอตนัมฮอตสเปอร์ และ 3 นัดในลีก รวมถึงแพ้ในบ้านเพียง36ตลอดฤดูกาลที่พบกับมิดเดิลส์เบรอในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 สถิติไม่แพ้ใครติดต่อกัน 2 นัดในทุกรายการเริ่มในวันที่ 26 ธันวาคม ในวันบ็อกซิ่งเดย์ในบ้านที่พบกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ซึ่งพวกเขาก็ยังเอาชนะฟอเรสต์ 8–1 ในเกมเยือนที่ซิตีกราวด์ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นสถิติการยิงเกมเยือนในลีกมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฤดูกาลนี้โดดเด่นด้วยการคัมแบ็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอฟเอ คัพ รอบที่ 4 กับลิเวอร์พูล และรอบรองชนะเลิศของแชมเปี้ยนส์ลีกกับยูเวนตุส แต่ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นไปกว่านัดชิงชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกที่กัมนอว์ เมื่อเทดดี เชริงงัม และอูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ ทำประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บพลิกกลับมาชนะบาเยิร์นมิวนิกที่นำไปก่อนจากฟรีคิกของมาริโอ บาสเลอร์ 2–1

2 ผู้เล่นตัวเก๋าทั้งแกรี พัลลิสเตอร์ และไบรอัน แมคแคลร์ ที่รับใช้สโมสรมานานนับทศวรรษได้อำลาสโมสรก่อนเปิดฤดูกาลใหม่ โดยมียาป สตัม ปราการหลังทีมชาติเนเธอร์แลนด์จากเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน และดไวต์ ยอร์ก กองหน้าทีมชาติตรินิแดด จากแอสตันวิลลาเข้ามาแทน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 รองกัปตันทีมและผู้รักษาประตูมือหนึ่ง พีเตอร์ สไมเกิล ได้ประกาศความตั้งใจที่จะออกจากสโมสรหลังจากรับใช้มา 8 ปี เพื่อย้ายไปสปอร์ติงลิสบอน เมื่อจบฤดูกาล สโมสรได้รับข้อเสนอซื้อกิจการมากกว่า 600 ล้านปอนด์จาก BSkyB ในช่วงต้นฤดูกาล แต่ถูกบล็อกโดย Monopolies and Merger Commission ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1999

แฟน ๆ และคอลัมนิสต์มองว่าคว้าเทรเบิลแชมป์เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อเป็นการรับรู้ถึงความสำเร็จของเขา เฟอร์กูสันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวินในฐานะเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และได้รับตำแหน่งพลเมืองกิตติมศักดิ์ของกลาสโกว์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 เดวิด เบ็คแคมได้รับเลือกให้เป็น UEFA Club Footballer of the Year ในฤดูกาล 1998–99 และเป็นรองริวัลโดสำหรับรางวัลบาลงดอร์ ในปี ค.ศ. 1999 และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี

กระชับมิตร

[แก้]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดลงเล่นพรีซีซัน 4 นัดก่อนเปิดฤดูกาล 1998–99 โดยเริ่มด้วยแพ้ 3–4 ต่อเบอร์มิงแฮมซิตี จากนั้นพวกเขาก็ออกทัวร์สแกนดิเนเวีย 3 นัด โดยเริ่มด้วยการเสมอกับวาเลเรนกา 2–2 ก่อนที่จะเอาชนะบรอนด์บี สโมสรเก่าของสไมเกิล (6–0) และบรานน์ (4–0) หลังจากเปิดฤดูกาล พวกเขายังได้เล่นกระชับมิตรกับ Europe XI ซึ่งเลือกโดยอดีตกองหน้าและกัปตันทีม เอริก ก็องโตนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิกซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีก่อน ก็องโตนาลงเล่นให้ทั้งสองทีมระหว่างการแข่งขัน ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 8–4 Testimonial Match ให้กับ Teddy Scott โดยมีกำหนดพบกับแอเบอร์ดีนที่ Pittodrie ในเดือนมกราคม ยูไนเต็ดแพ้ 6–7 จากการดวลจุดโทษหลังจากเสมอ 1–1 ใน 90 นาที[1]

เอฟเอ แชริตีชีลด์

[แก้]

การแข่งขันนัดแรกของฤดูกาลคือแชริตีชีลด์ ในวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1998 ที่สนามเวมบลีย์ต่อหน้าผู้ชม 67,342 คน ซึ่งยูไนเต็ดแพ้ 0–3 ให้กับอาร์เซนอลที่เป็นดับเบิลแชมป์เมื่อฤดูกาลที่แล้ว[2] รอย คีนกลับมาหลังจากบาดเจ็บเกือบปี และยาป สตัมลงประเดิมสนามในตำแหน่งปราการหลังตัวกลาง

เอฟเอ พรีเมียร์ลีก

[แก้]

สิงหาคม

[แก้]

ในช่วงสุดสัปดาห์เปิดฤดูกาล เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เผชิญหน้ากับเลสเตอร์ซิตี ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด และเสียประตูภายใน 7 นาที เมื่อเอมีล เฮสกีย์ยิงประตูจากลูกครอสของมุซซี อิซเซ็ต โทนี่ คอตตี – ผู้ทำประตูในฤดูกาลที่แล้ว – ทำประตูที่ 2 จากลูกโหม่งในนาทีที่ 75 จากลูกยิงไกลของเดวิด เบ็คแคม เทดดี เชริงงัมโหม่งเข้าประตูในอีก 3 นาทีต่อมา ก่อนที่เบ็คแคมจะยิงฟรีคิกให้ยูไนเต็ดเสมอกับเลสเตอร์[3] เกมเยือนนัดแรกของทีมที่บุลินกราวนด์ของเวสต์แฮมยูไนเต็ด เป็นนัดเปิดตัวของดไวต์ ยอร์ก ที่ย้ายมาจากแอสตันวิลลา ยูไนเต็ดเสมอกันแบบไร้สกอร์ เบ็คแคมซึ่งกลายเป็นบุคคลที่ถูกเกลียดชังระดับชาติหลังจากได้รับใบแดงในฟุตบอลโลกเนื่องจากย่ำใส่ดิเอโก ซิเมโอเน ได้รับการต้อนรับอย่างร้อนระอุจากกองเชียร์เจ้าบ้าน ทุกครั้งที่เขาสัมผัสบอล มีการขว้างปาขวดและก้อนหินใส่รถบัสของทีมก่อนเริ่มการแข่งขัน[4] หลังจบการแข่งขัน เฟอร์กูสัน นักเตะของเขา และทีมงานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหรือโทรทัศน์[5]

กันยายน

[แก้]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะนัดแรกของฤดูกาลเมื่อวันที่ 9 กันยายน โดยเอาชนะชาร์ลตันแอทเลติกที่เพิ่งเลื่อนชั้น 4–1[6] ยอร์กและซูลชาร์ต่างทำคนละ 2 ประตูเพื่อคว่ำทีมผู้มาเยือนที่ยิงนำไปก่อน การแข่งขันถูกปั่นป่วนด้วยการประท้วงทั้งในและรอบ ๆ โอลด์แทรฟฟอร์ดเพื่อต่อต้านการเสนอซื้อสโมสรโดยบีสกายบี[7] กระแสโจมตีจากแฟนบอลพุ่งไปที่ประธานสโมสร มาร์ติน เอ็ดเวิดส์[6] การชนะคอเวนทรีซิตี 2–0 ในสัปดาห์ต่อมา โดยได้ประตูจากยอร์คและรอนนี ยอห์นเซน ทำให้ยูไนเต็ดมีความมั่นใจก่อนเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่เปิดโอลด์แทรฟฟอร์ดเจอกับบาร์เซโลนา[8] แต่ความพ่ายแพ้ในเกมเยือนต่อแชมป์เก่าอย่างอาร์เซนอล 0–3 ทำให้ทีมอยู่ในอันดับที่ 10 หลังจากแข่งไปแล้ว 5 นัด[9] นี่เป็นชัยชนะนัดที่ 3 ในลีกติดต่อกันของอาร์แซน แวงแกร์เหนือเฟอร์กูสัน ประตูจากโทนี แอดัมส์, นีกอลา อาแนลกา และเฟรียดริก ยุงแบร์ย เป็นความพ่ายแพ้ในเกมเยือนที่หนักที่สุดในรอบกว่า 2 ปีของพวกเขา นอกจากนี้ นิคกี บัตต์ มิดฟิลด์ตัวรับซึ่งโดนใบแดงในเกมแชมเปียนส์ลีกเมื่อต้นสัปดาห์ ยังโดนใบแดงใบที่ 2 ในช่วงเวลา 4 วันจากการทำฟาวล์ใส่ปาทริก วีเยรา มิดฟิลด์ทีมชาติฝรั่งเศส[9] ยูไนเต็ดจบเดือนด้วยชัยชนะเหนือคู่ปรับสำคัญอย่างลิเวอร์พูล 2–0 ในศึกแดงเดือด ขยับเข้าสู่อันดับที่ 5[10]

ตุลาคม

[แก้]

การเดินทางไปพบกับเซาแทมป์ตันที่เดอะเดลล์ในวันที่ 3 ตุลาคม พวกเขามีสถิติที่ไม่ดีนักคือไร้ชัยชนะในสนามแห่งนี้ ยูไนเต็ดแพ้เซาแทมป์ตันในนัดเยือน 3 นัดล่าสุด รวมถึงแพ้ 3–6 ในปี ค.ศ. 1996[11] แอนดี โคล จับคู่กับยอร์ก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลเมื่อทั้งคู่ทำประตูได้ จอร์ดี ไกรฟฟ์ ตัวสำรองยิงประตูที่ 3 ในนาทีที่ 75 ให้ยูไนเต็ดขึ้นเป็นรองจ่าฝูงของตาราง โดยมีแต้มตามหลังแอสตันวิลลา จ่าฝูง 4 แต้มในช่วงพักเบรกทีมชาติ[12] ไรมอนด์ ฟาน เดอร์ โกว ผู้รักษาประตูมือ 2 ที่ลงเล่นแทนปีเตอร์ สไมเกิล ผู้รักษาประตูมือ 1 ที่บาดเจ็บ ในเกมกับเซาแทมป์ตันได้เป็นผู้รักษาประตูมือ 1 อีกครั้งในเกมเหย้าที่พบกับวิมเบิลดัน นัดที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 5–1 ซึ่งเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฤดูกาล[13] ไรอัน กิ๊กส์, เบ็คแคม, ยอร์ค และโคล (สองประตู); โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์กูสันยกย่องฟอร์มของเวส บราวน์ กองหลังดาวรุ่งวัย 19 ปี[13] ยูไนเต็ดเสมอกับดาร์บีเคาน์ตี 1–1 ที่ไพรด์พาร์กเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม[14] และเอาชนะเอฟเวอร์ตัน 4–1 ที่กูดิสันพาร์กในวันฮัลโลวีนเพื่อลดช่องว่างของจ่าฝูงเหลือเพียงแต้มเดียว[15]

พฤศจิกายน

[แก้]

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทำประตูในบ้านไม่ได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของฤดูกาลในเกมที่พบนิวคาสเซิลยูไนเต็ด[16] แต่กลับมาพลิกเอาชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ทีมในโซนท้ายตาราง 3–2[17] ความอ่อนแอในแนวรับโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสไมเกิล ซึ่งได้ประกาศความตั้งใจที่จะออกจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเมื่อจบฤดูกาล[18] ทำให้ออกไปเยือนเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ทีมพลาดโอกาสขึ้นเป็นจ่าฝูงของตาราง โดยแพ้ไป 1–3[19] 2 ประตูจากนิคลาส อเล็กซานเดอร์สสัน และประตูเปิดตัวของ Wim Jonk ทำให้เฟอร์กูสันพ่ายแพ้นัดที่ 2 ในลีก; ยูไนเต็ดชนะเพียงนัดเดียวจากการเยือน 8 นัดล่าสุด[19] วันที่ 29 พฤศจิกายน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเปิดบ้านรับการมาเยือนของลีดส์ยูไนเต็ด ลีดส์ทำประตูขึ้นนำโดยใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง แต่หลังจบครึ่งแรก ยูไนเต็ดพลิกแซงนำ 2–1 ลีดส์ตีเสมอได้ในนาทีที่ 52 แต่จังหวะของบัตต์ช่วยเก็บ 3 แต้มให้ปีศาจแดงและคอยกดดันผู้ท้าชิง[20]

ธันวาคม

[แก้]

เสมอกัน 3 นัดรวดในเดือนธันวาคม เริ่มจากการออกไปเยือนจ่าฝูงของลีก แอสตันวิลลา[21] ยูไนเต็ดโชคดีที่เก็บแต้มได้จากความผิดพลาดของเจ้าบ้านในครึ่งหลัง และทอตนัมฮอตสเปอร์ที่ทำแต้มหล่นไปทั้งที่นำ 2–0[22] โซลชายิงให้ยูไนเต็ดนำไปก่อน 2 ประตู แต่ในนาทีที่ 39 แกรี เนวิลได้รับใบแดงจากการดึงเสื้อของดาวีด ฌีโนลา โซล แคมป์เบลล์ กัปตันทีมสเปอร์นำทีมของเขากลับเข้าสู่การแข่งขันโดยเหลือเวลาอีก 20 นาที และในช่วงทดเวลาเจ็บ พวกเขาได้ประตูตีเสมอจากโซล แคมป์เบลล์อีกครั้ง ซึ่งได้โหม่งลูกเตะมุมของดาร์เรน แอนเดอร์ตัน

ทีม

[แก้]

ผู้รักษาประตู

[แก้]
เลข ชื่อ สัญชาติ เซ็นจาก วันที่เซ็น ค่าตัว หมดสัญญา หมายเหตุ/อ้างอิง
1 พีเตอร์ สไมเกิล  เดนมาร์ก เดนมาร์ก บรอนด์บี 6 สิงหาคม ค.ศ. 1991 505,000 ปอนด์ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1999
17 ไรมอน ฟัน เดอ โกว  เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เอสเบเฟ ฟีเตสเซอ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1996 ฟรี

กองหลัง

[แก้]
เลข ชื่อ สัญชาติ เซ็นจาก วันที่เซ็น ค่าตัว หมดสัญญา หมายเหตุ/อ้างอิง
2 แกรี เนวิล  อังกฤษ ทีมเยาวชน
3 เดนิส เออร์วิน  ไอร์แลนด์ โอลดัมแอทเลติก 8 มิถุนายน ค.ศ. 1990 625,000 ปอนด์
4 เดวิด เมย์  อังกฤษ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 1.2 ล้านปอนด์
5 รอนนี ยอห์นเซน  นอร์เวย์ เบชิกทัช 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 1.2 ล้านปอนด์
6 ยาป สตัม  เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 10.75 ล้านปอนด์
12 ฟิล เนวิล  อังกฤษ ทีมเยาวชน
21 เฮนนิง เบิร์ก  นอร์เวย์ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1997 5 ล้านปอนด์
24 เวส บราวน์  อังกฤษ ทีมเยาวชน

กองกลาง

[แก้]
เลข ชื่อ สัญชาติ เซ็นจาก วันที่เซ็น ค่าตัว หมดสัญญา หมายเหตุ/อ้างอิง
7 เดวิด เบ็คแคม  อังกฤษ ทีมเยาวชน
8 นิคกี บัตต์ ทีมเยาวชน
11 ไรอัน กิกส์  เวลส์ ทีมเยาวชน ค.ศ. 1990
14 ยอร์ดี ไกรฟฟ์  เนเธอร์แลนด์ บาร์เซโลนา 8 สิงหาคม ค.ศ. 1996 1.4 ล้านปอนด์
15 เยสเปอร์ บลอมควีสต์  สวีเดน ปาร์มา
16 รอย คีน (c)  ไอร์แลนด์ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 3.75 ล้านปอนด์
18 พอล สโกลส์  อังกฤษ ทีมเยาวชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Buckland, Simon (18 January 1999). "Aberdeen 1 Manchester United 1 (7–6 on penalties)". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 1 October 2011.
  2. Moore, Glenn (10 August 1998). "Arsenal show United little charity". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 16 May 2011.
  3. Anderson, David (15 August 1998). "Man Utd 2 Leicester 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  4. "Beckham runs gauntlet at West Ham". BBC News. British Broadcasting Corporation. 29 August 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  5. Moore, Glenn (24 August 1998). "Beckham takes heat off Yorke". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  6. 6.0 6.1 Hodgson, Guy (10 September 1998). "Yorke steals the United Show". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  7. Hatfield, Dave (10 September 1998). "Business as usual at Old Trafford". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  8. Wilson, Paul (12 September 1998). "Hungry hit man Yorke". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  9. 9.0 9.1 Winter, Henry (21 September 1998). "Fergie shell-shocked by awesome Gunners". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  10. Winter, Henry (25 September 1998). "Irwin sparks triumph as Red Devils rediscover fire". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  11. Nakrani, Sachin (24 October 2011). "What next for Manchester United after their 6–1 defeat by City?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
  12. Bradley, Mark (3 October 1998). "Southampton 0 Manchester United 3". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  13. 13.0 13.1 Hatfield, Dave (19 October 1998). "United sound a warning to rivals". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  14. "Four goal Owen fires Liverpool to victory; Aston Villa, Manchester United held to draws". The Nation. Bangkok. 24 October 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  15. Walker, Paul (31 October 1998). "Everton 1 Manchester United 4". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  16. Winter, Henry (9 November 1998). "Dynamic Keane fails to pick up flat United". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  17. Anderson, David (14 November 1998). "Manchester United 3 Blackburn 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  18. Walker, Michael (13 November 1998). "Schmeichel announces retirement". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 3 October 2011.
  19. 19.0 19.1 Kempton, Russel (23 November 1998). "United go under due to overconfidence". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  20. Anderson, David (29 November 1998). "Manchester United 3 Leeds 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  21. Bradley, Mark (5 December 1998). "Aston Villa 1 Manchester United 1". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  22. "Villa regain pride of place; Hotshots come from behind to beat Arsenal and knock United off the top". New Straits Times. Kuala Lumpur. 13 December 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.