หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
กองเรือยุทธการ
เครื่องหมายนักทำลายใต้น้ำจู่โจม
ประจำการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (2551–ปัจจุบัน)
หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (2534–2551)
พ.ศ. 2499–ปัจจุบัน
ประเทศ ไทย
เหล่าNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
รูปแบบหน่วยรบพิเศษ
บทบาทการสงครามนอกแบบ
การต่อต้านการก่อการร้าย
การปฏิบัติการพิเศษ
การลาดตระเวน
การรวบรวมข่าวกรอง
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง
การรับกลับกำลังพล
การค้นหาและกู้ภัยในการรบ
กำลังรบ2 กรม
ขึ้นกับกองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย
ทางยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย
กองบัญชาการ2011 หมู่ 2 ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
สมญาซีล, มนุษย์กบ
วันสถาปนา17 เมษายน
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเย็น
 • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
 • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย
 • เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
 • ยูนิคอม
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
 • การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556
โออีเอฟ – จะงอยแอฟริกา
 • ปฏิบัติการต่อต้านโจรสลัดในอ่าวเอเดน
ปฏิบัติการต่อต้านโจรสลัดในช่องแคบมะละกา
การจี้เรือบรรทุกน้ำมันเอ็มที ออร์คิม ฮาร์โมนี
ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือตรี[1] อนันท์ สุราวรรณ์
เครื่องหมายสังกัด
ธงราชนาวี
เครื่องหมายแสดงความสามารถ
ซีลกองทัพเรือไทยเตรียมพร้อมที่จะกระโดดร่มจากเอ็มซี-130เอช คอมแบตเทลอน II ของกองทัพอากาศสหรัฐ ที่อู่ตะเภา
ซีลกองทัพเรือสหรัฐและไทย ดำเนินการฝึกการจัดชุดตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (ย่อ: นสร.กร.; อังกฤษ: Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet) ทั่วไปเรียก ซีล (SEAL) หรือ มนุษย์กบ เป็นหน่วยรบพิเศษ สังกัดกองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย ซึ่งฝึกหนักที่สุดในบรรดาหน่วยรบพิเศษของทุกเหล่าทัพไทย[2][3][4][5] มีผู้บังคับบัญชาคนปัจจุบันคือ พลเรือตรี[6] อนันท์ สุราวรรณ์[7]รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก บรรพต นิธิณัฐอาภาศิริ และ นาวาเอก สุริยัน สำราญใจ

ประวัติ

[แก้]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่น ๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG (Military Assistance Advisory Group) การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก

เมื่อเร็ว ๆ นี้[เมื่อไร?] หน่วยซีลได้กรีธาพลไปกับเรือรบของกองทัพเรือไทยเพื่อปฏิบัติการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดในโซมาเลียในอ่าวเอเดนนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังเฉพาะกิจผสมทางเรือที่ 151[8][9]

พ.ศ. 2558 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นผู้ให้การฝึกแก่นักกีฬาสโมสรฟุตบอลราชนาวี ก่อนเข้าร่วมการแข่งไทยลีกคัพ[10] และในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561 หน่วยนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[11]

โครงสร้าง

[แก้]
  • กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
  • กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
  • โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
  • กองสนับสนุน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

ภารกิจ

[แก้]
  1. จัดเตรียมกำลังพลสำหรับปฏิบัติการ การสงครามพิเศษทางเรือและปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบ รวมทั้งการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหน่วยกำลังรบขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการ โดยมี ผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ผบ.นสร.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  2. กองรบพิเศษ ปฏิบัติการการสงครามพิเศษทางเรือ และปฏิบัติกิจพิเศษอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
  3. โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ ฝึกและศึกษาอบรมทดสอบ ประเมินผล เกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ และปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกและศึกษาของ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.)
  4. กองสนับสนุนหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ สนับสนุนการส่งกำลังบำรุง การบริการให้แก่หน่วยในความรับผิดชอบของ นสร.

การฝึก

[แก้]

การฝึกในหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน นับเป็นการฝึกหลักสูตรทางทหารที่มีระยะเวลานานที่สุดของไทย แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่

  1. การแนะนำการฝึกเบื้องต้น ฝึกการออกกำลังกายและการฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  2. การฝึกจริง ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
  3. การฝึกแบบเข้มข้น หรือเรียกว่า "สัปดาห์นรก" ใช้เวลา 120 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก
  4. การฝึกสอนยุทธวิธีต่าง ๆ
  5. การฝึกยุทธวิธีในสภาพจริง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

เมื่อสำเร็จหลักสูตรจะได้ประดับตราความสามารถ ซึ่งออกแบบโดย พลเรือโท พัน รักษ์แก้ว โดยส่วนประกอบของตรามีความหมายดังนี้

  • ปลาฉลาม สีขาวหรือสีน้ำเงิน หมายถึงเจ้าแห่งท้องทะเล ดุร้าย น่าเกรงขาม สง่างาม แข็งแกร่ง
  • คลื่น หมายถึง ความน่ากลัวของทะเลที่มีเกลียวคลื่นตลอดเวลา หรืออุปสรรคของคลื่นหัวแตก แต่ฉลามก็ไม่ได้หวั่นเกรง
  • สมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ ในอดีตหลักสูตรจะรับเฉพาะทหารเรือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันทางหน่วยได้รับทหารบก ทหารอากาศ และตำรวจเพิ่มด้วย
  • ธงชาติ หมายถึง การยอมพลีเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

กฎสำคัญของนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจม คือ มีจิตใจเข้มแข็ง กล้าเผชิญหน้าต่อปัญหาต่าง ๆ ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาด รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง เอาตัวเองรอดได้โดยไม่ทิ้งเพื่อน และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ยุทโธปกรณ์

[แก้]

อาวุธ

[แก้]
ที่มา อาวุธ แบบ
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม FN Herstal SCAR SCAR-H and SCAR-L
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 36 G36KV
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch UMP UMP 9
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5 MP5SD, MP5K
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี เฮคเลอร์แอนด์คอช ยูเอสพี USP
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Heckler & Koch HK21 HK23E
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี เฮคเลอร์แอนด์คอช พีเอสจี 1 PSG-1,MSG 90
 สหรัฐอเมริกา KAC SR-25 SR25
 สหรัฐอเมริกา Barrett M82 M82
 สหรัฐอเมริกา บาร์เรตต์ เอ็ม95 M95
 สหรัฐอเมริกา Bushmaster M4 M4A3 SOPMOD
 สหราชอาณาจักร Accuracy International AW50
 สวิตเซอร์แลนด์ SIG 516 SIG-516

เรือปฏิบัติการพิเศษ

[แก้]
ชุดเรือ ผู้ผลิต ภาพ หมายเลขตัวเรือ ประจำการ หมายเหตุ
ชุดเรือ ต.241  ไทย ต.241–243 3 [12]
ชุดเรือ ต.253  ไทย ต.253–255 3 [13]
ชุดเรือ พ.51  ไทย พ.51–54 4 เรือปฏิบัติการพิเศษ[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  2. นักเตะราชนาวีร่วมฝึกซ้อม“หน่วยซีล”-เรียกความฟิตเร่งคืนฟอร์มสู้ไทยลีก[ลิงก์เสีย]
  3. ทร.เปิดหลักสูตร 'มนุษย์กบ' ประจำปี 59 มีผู้ผ่านเข้าเรียน 86 นาย - ไทยรัฐ
  4. มาดูการฝึก (มหาโหด) ของ "นักทำลายใต้น้ำจู่โจม"
  5. สัปดาห์นรกวัดใจ 37 ชีวิตสู่ "หน่วยซีล" - Thai PBS News
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 39 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  8. "Royal Thai Navy Anti-Piracy Fleet" (Press release). Royal Thai Embassy in Singapore. 15 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
  9. Panrak, Patcharapol (8 July 2011). "Thai navy returns to Somalia for 2nd anti-piracy tour". Pattaya Mail. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
  10. แข้งราชนาวีฟิตหนัก ร่วมฝึกหน่วยซีลก่อนลุยไทยลีก - ข่าวไทยรัฐ
  11. มนุษย์กบหน่วยซีล - ไทยรัฐ
  12. "Royal Thai Navy | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพเรือไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  13. "เรือ ต.253 – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Royal Thai Navy Auxiliary Ship Specification | เรือช่วยรบของกองทัพเรือไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]