หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติของเอฟบีไอ

หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติของเอฟบีไอ
ประเทศสหรัฐ สหรัฐอเมริกา
เหล่าฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงาน, กลุ่มรับมือเหตุฉุกเฉิน
รูปแบบทีมเจรจา
บทบาทการต่อต้านการก่อการร้าย และการเจรจาต่อรอง
กำลังรบ340 นาย
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันแตกต่างกันไป

หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติของเอฟบีไอ (อังกฤษ: Crisis Negotiation Unit; อักษรย่อ: CNU) เป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มรับมือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งรับผิดชอบแผนงานเจรจาต่อรอง (ตัวประกัน) ในภาวะวิกฤตของเอฟบีไอ ภารกิจของหน่วยเจรจาต่อรองในภาวะวิกฤตนั้นมีสี่ส่วน ประกอบด้วย การปฏิบัติการ, การฝึก, การสืบเสาะ และการจัดการแผนงาน

ลักษณะการดำเนินการ

[แก้]

หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติรักษาความสามารถในการตอบสนองการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ เพื่อดำเนินการ และจัดการการเจรจาต่อรอง ณ ที่เกิดเหตุในช่วงวิกฤตที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเอฟบีไอ โดยเอฟบีไอมีส่วนร่วมในระดับสากลเมื่อผู้เสียหายเป็นพลเมืองของสหรัฐ หรือมีข้อเรียกร้องต่อต้านรัฐบาลสหรัฐ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจนี้ ผู้เจรจาต่อรองได้กรีฑาพลสู่ต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์การลักพาตัวที่เกี่ยวข้องกับพลเมืองชาวสหรัฐ

เอฟบีไอถือเป็นหน่วยงานเจรจาต่อรองของรัฐบาลสหรัฐสำหรับอุบัติการณ์ระหว่างประเทศ โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1990 หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติได้มีส่วนร่วมในอุบัติการณ์ดังกล่าวมากกว่า 300 เหตุการณ์ทั่วโลก ผู้เจรจาของหน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติยังให้ความช่วยเหลือทางโทรศัพท์แก่ทั้งผู้เจรจาภาคสนามของเอฟบีไอ และผู้เจรจาของตำรวจในประเทศเป็นประจำในระหว่างสถานการณ์วิกฤตในประเทศ

ทั้งนี้ เอฟบีไอมีเจ้าหน้าที่เจรจาวิกฤตประมาณ 340 คนในสำนักงานภาคสนาม 56 แห่ง ซึ่งหน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรเหล่านี้ รวมถึงให้การฝึกและอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่จำเป็นสำหรับผู้เจรจาในสำนักงานภาคสนามเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤติให้สำเร็จ

นักศึกษาเก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shaw, Kerry (Aug 25, 2016). "I Was a Crisis Negotiator for 23 Years. Here's What It's Like to Talk Down an Armed Hostage Taker". The Trace. สืบค้นเมื่อ Dec 13, 2016.
  2. Staff writer. "Chris Voss - Faculty Profile". USC. USC. สืบค้นเมื่อ Dec 13, 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]