หมัก กื๋ว 鄚玖 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กื๋วหง็อกเหิ่ว ออกญา | |||||||||
อนุสาวรีย์หมัก กื๋วที่ห่าเตียน ประเทศเวียดนาม | |||||||||
เจ้าเมืองพุทไธมาศ (ห่าเตียน) | |||||||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1707–18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735 | ||||||||
ก่อนหน้า | ไม่มี (สถาปนาราชวงศ์) | ||||||||
ถัดไป | ม่อซื่อหลิน | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 1655 คาบสมุทรเหลย์โจว จีน | ||||||||
สวรรคต | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735 ห่าเตียน ราชรัฐห่าเตียน | (79–80 ปี)||||||||
|
หมัก กื๋ว | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 鄚玖 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||
จื๋อโกว๊กหงือ | Mạc Cửu | ||||||||||||||
จื๋อฮ้าน | 鄚玖 |
มั่ว จิ่ว (จีน: 鄚玖; พินอิน: Mò Jiǔ, จื๋อฮ้าน: 鄚玖, เวียดนาม: Mạc Cửu; เขมร: ម៉ាក គីវ[1] หรือ ម៉ាក គូ; ค.ศ. 1655 – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1735) หรือ หมัก กื๋ว เป็นชาวจีนลี้ภัยที่สถาปนาราชรัฐห่าเตียน (เมืองพุทไธมาศ) และขึ้นครองเป็นเจ้าเมืององค์แรก เขามีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับราชสำนักเหงียนเวียดนาม[2][3]
เขาเกิดที่เหลย์โจว มณฑลกวางตุ้งที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์หมิงใต้ โดยมีชื่อเกิดว่า "หมัก กิ๊ญ กื๋ว" (เวียดนาม: Mạc Kính Cửu, จื๋อฮ้าน: 莫敬玖, พินอิน: Mò Jìngjiǔ) ซึ่งอาจสร้างความสับสนได้ง่ายกับผู้นำบางพระองค์ในราชวงศ์หมัก เช่น หมัก กิ๊ญ จี๋, หมัก กิ๊ญ กุง, หมัก กิ๊ญ ควาน และหมัก กิ๊ญ หวู ดังนั้น พระองค์จึงทรงเปลี่ยนพระนามเป็น "หมัก กื๋ว" (Mạc Cửu, 鄚玖)[4] จากนั้นหมัก กื๋วตัดสินใจอพยพไปเวียดนามเพื่อขยายธุรกิจ[5]ในช่วงประมาณระหว่าง ค.ศ. 1687 ถึง 1695[6] กษัตริย์กัมพูชาพระราชทานตำแหน่งภาษาเขมรว่า ออกญา (ឧកញ៉ា) และสนับสนุนให้อพยพไปยังบันทายมาศ ซึ่งช่วงแรกเขาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชุมชนชาวจีนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง[7] เขาสร้างกาสิโนที่นั้นและเริ่มร่ำรวย จากนั้นดึงดูดชาวจีนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ และสร้างหมู่บ้าน 7 แห่งที่เกาะฟู้โกว๊ก, หลุงกี่ (แกบ), เกิ่นบต (กำปอด), เฮืองอุ๊ก (สีหนุวิลล์ในปัจจุบัน), ซ้าเค (สักซ้า) และก่าเมา[5] ชาวจีนสถาปนาเมืองของตนที่ห่าเตียน อย่างไรก็ตาม พื้นที่นี้มีโครงสร้างการเมืองสองแบบ โดยหมัก กื๋วปกครองชาวจีนท้องถิ่นและชาวเวียดนาม ส่วนชาวเขมรยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของ ออกญาราชเศรษฐี (ឧកញ៉ារាជាសេដ្ឋី) จนกระทั่งการทัพของสยามโค่นล้มระบบท้องถิ่นใน ค.ศ. 1771[7] หมัก กื๋วถูกจับกุมและนำตัวไปกรุงเทพ เขาไม่มีโอกาสกลับไปยังห่าเตียนจนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสยาม[5]
หลังจากนั้น หมัก กื๋วหันไปสวามิภักดิ์ต่อขุนนางเหงียนแห่งเวียดนาม[8] เขาส่งบรรณาการแก่ราชสำนักเหงียนใน ค.ศ. 1708 และได้รับตำแหน่ง ต๋งบิญ แห่งห่าเตียน[9] และตำแหน่ง กื๋วหง็อกเหิ่ว (เวียดนาม: Cửu Ngọc hầu) ต่อมาใน ค.ศ. 1715 ธรรรมราชาที่ 3 หรือ หญัก อง เทิม (เวียดนาม: Nặc Ông Thâm) กษัตริย์กัมพูชา เข้ารุกรานห่าเตียนด้วยกำลังสนับสนุนจากสยาม เพื่อนำดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา หมัก กื๋วประสบความพ่ายแพ้และหลบหนีไปที่หลุงกี่ (ปัจจุบันคือเมืองแกบในประเทศกัมพูชา) ทางกัมพูชาจึงเข้าปล้นเมืองห่าเตียนและถอนทัพกลับ หมัก กื๋วกลับมาที่ห่าเตียนและสร้างปราสาทเพื่อป้องกันพื้นที่ของตนจากการโจมตี[5] เขาเสียชีวิตในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1735[10]
หมักเทียนตื๊อ ลูกชายของหมักกับสตรีจากเบียนฮหว่า เกิดใน ค.ศ. 1718 เขายังมีลูกสาวชื่อ หมัก กีม ดิ่ญ ที่แต่งงานกับลูกชายของ เจิ่น เถื่อง เซวียน นายพลชาวจีนผู้ถูกเนรเทศ[8][11] ลูกหลานของหมัก กื๋วดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองห่าเตียนจนกระทั่งตำแหน่งถูกยุบเลิกโดยราชวงศ์เหงียนของเวียดนามใน ค.ศ. 1832