หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

ปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลในปี พ.ศ. 2502
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2512
ก่อนหน้ามุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปสุกิจ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ก่อนหน้าหลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล)
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2487
ก่อนหน้าประเดิม
ถัดไปสนั่น สุมิตร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าธนิต อยู่โพธิ์ (ผู้อำนวยการ)
ถัดไปหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์
อธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2499
ก่อนหน้าสาโรช บัวศรี
ถัดไปสุดใจ เหล่าสุนทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2446
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (91 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา
ลายมือชื่อ

ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักเขียน นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษา และประธานเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1]

ประวัติ

[แก้]

หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่

ปฐมวัยและการศึกษา

[แก้]

ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีก[2]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่วิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS) และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)[2]

รับราชการ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2455 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2474 ในปี พ.ศ. 2475 เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปี พ.ศ. 2477 อีกด้วย หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสหศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่านแรก 5 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2489 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2495 — พ.ศ. 2496 ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2492 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้นที่ถนนประสานมิตร ต่อมาใน พ.ศ. 2496 เลื่อนฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" ในปัจจุบัน โดยได้ดำรงตำแหน่งอธิการคนแรกระหว่าง พ.ศ. 2497-2499

ในปี พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษในวิชาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 ถึง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นเวลายาวนานถึง 12 ปีเศษ[4][5][6]

ในปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503[7] และมอบหมายให้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[8]

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[แก้]

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้มีการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ภาคการศึกษา 8 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ในการประชุมครั้งนั้นหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้บันทึกไว้ว่า "การตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ตามความเรียกร้องของประชาชน ที่ประชุมเห็นว่าน่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ ...ด้วยเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง..." [9]

ต่อมาเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 และมอบหมายให้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2506[10]

สถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์

[แก้]

ปีพ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511 คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513 และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515 ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปัจจุบันคือคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม) พ.ศ. 2535

ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรท่านแรก (ก่อนหน้านั้นมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้ตำแหน่ง "ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย" โดยตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรจะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยตำแหน่ง ต่อมาจึงแยกหน่วยงานออกจากกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเปลี่ยนชื่อตำแหน่งจาก "ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร" เป็น "อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร")

โดยศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรระหว่าง พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514[11][12]

ชีวิตสมรส

[แก้]

ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้สมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ไกรฤกษ์) ธิดาเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม:บางยี่ขัน) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

หุ่นขี้ผึ้งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จัดแสดงที่ ณ สัทธา อุทยานไทย จังหวัดราชบุรี

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน โดยได้รับพระทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งศพไว้ที่ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาเสด็จไปสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โดยความร่วมมือกันของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประดิษฐานที่บริเวณข้างสำนักงานอธิการบดี ลานหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยกราบบังคมทูลพระกรุณา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์และได้ถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยจัดให้มีการตักบาตร และจุดธูปเทียน วางพวงมาลัยสักการะรำลึกที่บริเวณลานอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งห้องเกียรติยศหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่บริเวณชั้น ๔ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยภายในจัดแสดงหนังสือที่ท่านแต่งขึ้น โต๊ะทำงาน ของสะสม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และครุยวิทยฐานะตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)". library.cmu.ac.th.
  2. 2.0 2.1 2.2 บทความ, ศาสตราจารย์ (10 ตุลาคม 2021). "100 ปี "มล.ปิ่น มาลากุล" บุรุษทรงคุณค่าด้านการศึกษาไทย". สำนักข่าวบางกอกทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2021.
  3. "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  7. "หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)". library.cmu.ac.th.
  8. "ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-17.
  9. "หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)". library.cmu.ac.th.
  10. "หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)". library.cmu.ac.th.
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒ ตอนพิเศษ ๗๐ หน้า ๒๑๙๘ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๘
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๑๘ หน้า ๓๕๕๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๗๓, ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๔, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๙, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๓, ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๙
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 95 หน้า 3036, 12 ธันวาคม 2498
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๒๑, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เว็บไซต์

[แก้]
ก่อนหน้า หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถัดไป
มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2500 — พ.ศ. 2512)
สุกิจ นิมมานเหมินท์
หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(พ.ศ. 2500 — พ.ศ. 2501)
อุไรวรรณ เทียนทอง
ธนิต อยู่โพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 5
(พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2514)
หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์
ไม่มี ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
(พ.ศ. 2480 — พ.ศ. 2487)
สนั่น สุมิตร