หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ประสูติ20 มกราคม พ.ศ. 2465
ประเทศสยาม
สิ้นชีพิตักษัย23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (100 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
หม่อมหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา รัชนี
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ดัจฉราพิมล รัชนี
หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ
หม่อมราชวงศ์ธีรเดช รัชนี
ราชสกุลรัชนี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระมารดาหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (20 มกราคม พ.ศ. 2465 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) เป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี[1] อดีตองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงและมีผลงานนิพนธ์โดยทรงใช้นามปากกาว่า ภ. ณ ประมวญมารค

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี มีพระนามลำลองว่า ท่านชายภี เป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (ราชสกุลเดิม วรวรรณ) ประสูติเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2464 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2465) เป็นพระราชนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (กรมพระราชวังบวรพระองค์สุดท้าย) มีโสทรเชษฐภคินีพระองค์เดียว คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

วิทยาลัยดัลลิช ประเทศอังกฤษ

หม่อมเจ้าภีศเดชทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ในวิทยาลัยดัลลิช (Dulwich College) โรงเรียนเอกชนในประเทศอังกฤษ ทรงจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านประวัติศาสตร์ กฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงสมัครเป็นทหาร และเป็นสายลับของกองทัพอังกฤษ ระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2489 หลังสงครามได้เสด็จกลับประเทศไทย จากนั้นทรงงานในบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการด้านโฆษณาจนถึงปี พ.ศ. 2505 จึงทรงลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนองค์และช่วยพระราชกิจพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ยังเป็นหนึ่งในพระอนุวงศ์ผู้ใหญ่ที่ ครั้นถึงเทศกาลสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชสำนักผู้ใหญ่ เชิญเครื่องสรงน้ำสงกรานต์ไปพระราชทาน เป็นการแสดงพระราชกตัญญุตาธรรมตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องสรงน้ำสงกรานต์ไปพระราชทาน[2]

การทรงงาน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2512 ประเทศไทยประสบปัญหายาเสพติด เนื่องจากชาวเขาในภาคเหนือนิยมปลูกฝิ่นเพื่อยังชีพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ มีพระบรมราโชบายให้ชาวเขาร่วมมือกันกำจัดฝิ่นโดยสันติวิธี ทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้ชาวเขาหันมาปลูกพืชที่มีประโยชน์ และมีรายได้ดี เช่น ท้อ พลัม สตรอเบอรี่ รวมทั้งผักและดอกไม้เมืองหนาว โดยหม่อมเจ้าภีศเดชเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงธรรม แสดงภาพการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

หม่อมเจ้าภีศเดชเป็นผู้ติดตามใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช และเคยดำรงตำแหน่งองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง

นอกจากนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ยังดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ชีวิตส่วนองค์

[แก้]
ตำหนักใหญ่ วังประมวญ

หม่อมเจ้าภีศเดชเสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัช[3] หรือหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา[4] (ราชสกุลเดิม วรวรรณ) ธิดาหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ พระอนุชาร่วมหม่อมมารดากับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี และเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีโอรสและธิดารวม 3 คน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์ดัจฉราพิมล รัชนี หรือ คุณหญิงนาว สมรสกับนาวาตรี ฉัตรชัย ตุงคนาค (1 พฤษภาคม 2486 – 29 พฤษภาคม 2564) มีบุตรด้วยกันสามคน[5][6]
  2. หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ หรือ คุณหญิงหนิง สมรสกับกฤษฎา สุชีวะ มีบุตรด้วยกันสามคน[7]
  3. หม่อมราชวงศ์ธีรเดช รัชนี ต.จ. หรือ คุณชายธี

หม่อมเจ้าภีศเดชเป็นเจ้านายสายบวรราชสกุลที่มีชันษาสูงที่สุดและมีชนม์ชีพอยู่เป็นองค์สุดท้าย ก่อนถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 สิริชันษา 100 ปี

สิ้นชีพิตักษัย

[แก้]

หม่อมเจ้าภีศเดชสิ้นชีพิตักษัยเมื่อเวลา 03.00 น. โดยประมาณ ของวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่โรงพยาบาลศิริราช แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สิริชันษา 100 ปี[8] วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565  เวลา 17.26 น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[9] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.17 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร[10]

ผลงานด้านพระนิพนธ์

[แก้]

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี มีผลงานนิพนธ์โดยทรงใช้นามปากกาว่า ภ. ณ ประมวญมารค

  • ชีวิตเสี่ยงๆ[11]
  • ชีวิตชั้นๆ

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

[แก้]

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากหลายสถาบัน ได้แก่

นอกจากนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ยังได้รับการถวายรางวัล ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ปี 2554 จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากทรงมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ และมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย โดยส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง ทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งส่งผลให้ลดการทำลายธรรมชาติลง และเป็นการรักษาผืนดิน

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ม.ร.ว.ศุภวัฒน์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8
  2. ในหลวง ทรงน้อมพระวรกายพระราชปฏิสันถารกับ ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ พระอนุวงศ์ผู้ใหญ่
  3. ชีวิตเสี่ยง ๆ, หน้า 3
  4. "ม.ร.ว. ดัชนีรัชนา (วรวรรณ) รัชนี ถึงแก่อนิจกรรม". เดลินิวส์. 29 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""น.ต.ฉัตรชัย ตุงคนาค" บุตรเขย "ม.จ.ภีศเดช รัชนี" ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา". ผู้จัดการออนไลน์. 31 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""น.ต.ฉัตรชัย ตุงคนาค" บุตรเขย "ม.จ.ภีศเดช รัชนี" ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา". เซเลบออนไลน์. 31 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "เรียกคืนเครื่องราชฯ 'หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ' เหตุมีพฤติการณ์ใช้โครงการหลวงแสวงหาผลประโยชน์". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 24 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "สิ้น "หม่อมเจ้าภีศเดช" ผู้ถวายงานรับใช้ในหลวง ร.9 สิริพระชันษา 100 ปี". พีพีทีวี. 23 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. https://www.royaloffice.th/2022/07/25/พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ-4/[ลิงก์เสีย]
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-28. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
  11. ชีวิตเสี่ยงๆ ภ.ณ.ประมวญมารค
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๗๕, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 2 ข หน้า 3, 8 กุมภาพันธ์ 2544