หลาวชะโอนทุ่ง

หลาวชะโอนทุ่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Oncosperma
สปีชีส์: O.  tigillarium
ชื่อทวินาม
Oncosperma tigillarium
(Jack.) Ridl.

หลาวชะโอนทุ่ง หรือ หลาโอน หรือ นิบง เป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งในวงศ์ปาล์ม โดยทั่วไป เมื่อพูดถึงหลาวชะโอน จะหมายถึงหลาวชะโอนทุ่ง ส่วนอีกชนิดพันธุ์จะเรียกว่าหลาวชะโอนเขา ชื่อหลาวชะโอน เป็นชื่อเรียกในภาษาไทยกลาง ขณะที่ไทยถิ่นใต้มักจะย่อเหลือ หลาโอน และในภาษามลายู เรียกว่า นิบง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

หลาวชะโอนทุ่ง เป็นปาล์มขนาดใหญ่ แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร สูงได้ถึง 25 เมตร ขนาดของกอมักจะใหญ่กว่าหลาวชะโอนเขา มีหนามสีดำปกคลุมทั่ว ลำต้น กาบใบ ก้านใบ และก้านช่อดอก ใบประกอบแบบขนนก ทางใบและใบย่อยอ่อนลู่ลง คอยอดสีเขียวเข้มเด่นชัด ทางใบยาว 3.5 - 4 เมตร ใบย่อยรูปรางน้ำคว่ำ เรียงตัวสม่ำเสมอ ใบย่อยขนาด 60 x 3 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นช่อแยกแนง 2 ชั้น ออกใต้คอยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ก้านแขนงช่อห้อยลง และมีจำนวนมากกว่าหลาวชะโอนเขา ออกดอกประมาณเดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ ผล กลม ขนาด 0.7-1 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วง มี 1 เมล็ดต่อผล ผลติดเรียงเวียนรอบก้านช่อ

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ลำต้น

[แก้]

ลำต้นของหลาวชะโอน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำเสาค้ำยัน และ รอ ได้ และเนื้อไม้เมื่อแปรรูปแล้ว สามารถนำไปประดับตกแต่งอาคารได้เช่นกัน

กาบ

[แก้]

กาบของหลาวชะโอน สามารถนำมาพับ ตัด เย็บ ผูก หรือมัด เพื่อทำเป็นภาชนะที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ อาจเคลือบด้วยสารเคลือบเงาและอาจประกอบด้วยวัสดุอื่น เช่น ไม้ ลวด หวาย เชือก เป็น ผลิตภัณฑ์กาบหลาวชะโอน ได้ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]