หุบเขายาร์ลุง

พระราชวังยุงบูลาคัง

หุบเขายาร์ลุง (ทิเบต: ཡར་ཀླུངས་, ไวลี: yar kLungs; Yarlung Valley) เป็นบริเวณทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากแม่น้ำยาร์ลุงชู แม่น้ำสาขาของแม่น้ำจังโป ในแคว้นชันนัน เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน โดยเฉพาะจุดที่แม่น้ำยาร์ลุงชูบรรจบกับแม่น้ำชงเย ก่อนจะขยายออกเป็นที่ราบกว้าง 2 กิโลเมตร และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำจังโป[1] ในอำเภอเนดง พื้นที่บริเวณนี้รวมถึงเซตัง หนึ่งในเมืองสำคัญของทิเบต ห่างไป 183 กิโลเมตรทางใต้ของลาซา[2] 29°12′N 91°46′E / 29.200°N 91.767°E / 29.200; 91.767 พื้นที่นี้มีป่าไม้ขึ้นปกคลุมและมีความเหมาะสมแก่การกสิกรรม โดยเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลผลิตแอปเปิลและลูกแพร์[3]

หุบเขายาร์ลุงและหุบเขาชงเยที่อยู่ติดกัน รวมกันในอดีตเป็นราชธานีของราชวงศ์ยาร์ลุงของทิเบต ซึ่งควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญระหส่างอินเดียกับภูฏาน จักรพรรดิทิเบตองค์แรก ซงเซ็น คัมโป (605 หรือ 617? - 649) ย้ายราชธานีไปยังลาซาหลังขยับขยายอาณาเขต

หุบเขายาร์ลุงมักได้สมญาเป็น "ต้นธารของอารยธรรมทิเบต" (cradle of Tibetan civilisation) มีขนาดยาวเพียง 72 กิโลเมตร แต่เต็มไปด้วยปราสาท อาราม วัด ถ้ำพุทธ และสถูปมากมาย แหล่งำลัง (power places; ne-sum) สามแห่ง ตั้งอยู่ในยาร์ลุง ได้แก่ เชลดัก (Sheldrak), ตราดรุก (Tradruk) และ ยุมบูลากัง (Yumbu Lagang; วังยุงบูลากัง) และมีสถูปสำคัญที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ (ten-sum) สามองค์ คือ Takchen Bumpa, Gontang Bumpa และ Tsechu Bumpa[4]

ไม่ไกลจากเมืองเซซังในอดีตเคยมีสะพานแขวนโลหะสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 14 ข้ามแม่น้ำยาร์ลุงจังโป/แม่น้ำพรหมบุตร ก่อสร้างโดยวิศวกรขื่อดัง ทังทง คยัลโป มีความยาว 150 ถึง 250 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงหินใหญ่ที่ในอดีตรองรับน้ำหนักสะพานห้าก้อน สะพานใหม่มีการสร้างทดแทนในยุคปัจจุบันประมาณไม่กี่กิโลเมตรทางปลายน้ำที่งาโก (Nyago)[5] สะพานนี้พังทลายมานานแล้ว แม้แต่เมื่อครั้นสรัตทาสเดินทางมาที่นี่ในปี 1879 ยังต้องใช้เรือข้ามฟากข้ามเนื่องจากสะพานอยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้อย่างหนัก[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dowman (1988), p. 173.
  2. Dorje (2009), pp. 219, 940.
  3. Stein (1972), pp. 20, 24.
  4. Dorje (1999), p. 190.
  5. Dorje (1999), p. 186.
  6. Das (1902), p. 228.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Buckley, Michael and Strauss, Robert. Tibet: a travel survival kit. (1986) Lonely Planet Publications, Victoria, Australia. ISBN 0-908086-88-1.
  • Das, Sarat Chandra. (1902). Lhasa and Central Tibet. Reprint: (1988). Mehra Offset Press, Delhi.
  • Dorje, Gyurme (1999). Footprint Tibet Handbook with Bhutan. Footprint Handbooks, Bath, England. ISBN 0-8442-2190-2.
  • Dorje, Gyurme (2009). Tibet Handbook. Footprint Handbooks, Bath, England. ISBN 978-1-906098-32-2.
  • Dowman, Keith. (1988) The Power-Paces of Central Tibet: The Pilgrim's Guide. Routledge & Kegan Paul, London & New York. ISBN 0-7102-1370-0.
  • Dudom Rinpoche and Dorje, Jikdrel Yeshe (1991). The Nyingmapa School of Tibetan Buddhism Its Fundamentals and History. 2 Vols. Translated and edited by Gyurme Dorje with Matthew Kapstein. Wisdom Publications. Boston. ISBN 978-0-86171-087-4.
  • Hilton, Isabel. (1999). The Search for the Panchen Lama. Viking. Reprint: Penguin Books. (2000). ISBN 0-14-024670-3.
  • Mayhew, Bradley and Kohn, Michael. (2005) Tibet. 6th Edition. ISBN 1-74059-523-8.
  • Stein, R. A. (1972) Tibetan Civilization. Stanford University Press. ISBN 0-8047-0806-1 (cloth); ISBN 0-8047-0901-7 (ppk).