อั่งถ่อก้วย (จีนตัวย่อ: 红桃粿; จีนตัวเต็ม: 紅桃粿; เพ็งอิม: ang5 to5 guê2, แปลว่า "ขนมลูกท้อแดง) เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดจากภูมิภาคแต้จิ๋วของมณฑลกวางตุ้ง[1][2][3] โดยทั่วไปจะใส่ไส้เป็น กุยช่าย ข้าวเหนียว เผือกฝอย ถั่ว ฯลฯ แต่ที่นิยมที่สุดคือกุยช่าย[4]
เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ราคาในเมืองกิ๊กเอี๊ยในต้นปี 2017 จึงเพิ่มขึ้นจาก 1.8 หยวนเป็น 2.2 หยวนต่ออัน[5]
อั่งถ่อก้วยยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการบูชาในท้องถิ่นและใช้ในการอธิษฐานขอพรให้มีอายุยืนยาว[4] ขั้นแรกให้ทำเปลือกจากแป้ง ข้าวเจ้า และ น้ำ ม้วนเป็นเส้นยาว แล้วทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วกดให้เป็นแผ่นบางกลม นำมาห่อส่วนผสมต่าง ๆ (อาจเป็นข้าวเหนียว เห็ดหอม กุ้งแห้ง เครื่องในไก่ ถั่วลิสง เป็นต้น) มักย้อมด้วยสีแดงแล้วขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ แล้วนำไปนึ่งในเข่งนึ่ง[6][7]
ในไทยบางครั้งอั่งถ่อก้วยถูกเรียกผิดเป็น ขนมกุยช่าย เพราะมักขายคู่กันและมีลักษณะคล้ายกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นขนมคนละชนิด[8][9]
อั่งถ่อก้วยมักใช้สื่อความหมายและเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
กล่าวโดยรวม อั่งถ่อก้วยไม่เพียงแต่เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในด้านรสชาติที่อร่อยเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกอันลึกซึ้งของชาวจีนแต้จิ๋วในเรื่องอายุยืนยาว โชคดี ความสุข ความสงบสุข อีกด้วย