อาการปวดเข่า คือการเจ็บ หรือปวดรอบ ๆ เข่า
ข้อเข่าเป็นข้อต่อระหว่างกระดูก 4 ชิ้น คือ กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง กระดูกน่อง และกระดูกสะบ้า
เข่ามีช่อง 4 ช่อง
คือ
(1–2) ช่องทั้งด้านใน (medial tibiofemoral) และด้านนอก (lateral tibiofemoral) ของข้อต่อกระดูกต้นขา-กระดูกแข้ง (3) ช่องข้อต่อกระดูกสะบ้า-กระดูกต้นขา (patellofemoral) และ (4) ข้อต่อกระดูกหน้าแข้ง-กระดูกน่องส่วนบน (superior tibiofibular joint)
ช่องแต่ละช่องอาจมีการบาดเจ็บทางกล้ามเนื้อเส้นเอ็นจากการใช้งานซ้ำ ๆ, การบาดเจ็บอื่น ๆ หรือโรค
การวิ่งระยะไกลอาจก่ออาการปวดที่ข้อเข่า เพราะถูกแรงกระแทกสูง[ต้องการอ้างอิง ]
ตำแหน่งและความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา
อาการที่อาจเกิดร่วมได้แก่
อาการบวมและข้อฝืด
ผิวหนังแดงและอุ่นเมื่อสัมผัส
อาการอ่อนแรงหรือไม่มั่นคง
เสียงดังป๊อกแป๊กหรือเสียงลั่น
ไม่สามารถเหยียดเข่าได้อย่างเต็มที่
การบาดเจ็บที่มักพบตามตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่[ 1]
อาการเคล็ด (การแพลงของเอ็น ยึดกระดูก)
Medial collateral ligament (เอ็นยึดข้อด้านใน)
Lateral collateral ligament (เอ็นยึดข้อด้านนอก)
Anterior cruciate ligament (เอ็นไขว้หน้า)
Posterior cruciate ligament (เอ็นไขว้หลัง)
หมอนรองเข่าฉีก (tear of meniscus)[ 2]
Medial meniscus (หมอนรองเข่าด้านใน)
Lateral meniscus (หมอนรองเข่าด้านนอก)
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส
Hamstring muscles (กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง)
Popliteal muscle (กล้ามเนื้อขาพับ)
Patellar tendon (เอ็นกระดูกสะบ้า)
Hamstring tendon (เอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง)
Popliteal tendon (เอ็นกล้ามเนื้อขาพับ)
Hemarthrosis (ภาวะเลือดออกในข้อ) - มักจะเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วหลังการบาดเจ็บ ตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมง[ 3]
โรคบางอย่างที่ทำให้เข่าเจ็บรวมทั้ง
เบอร์ไซติส ที่เข่า เป็นการอักเสบของถุงน้ำเข่า
Prepatellar bursitis เบอร์ไซติส ของถุงน้ำด้านหน้ากระดูกสะบ้า หรือเรียกว่า เข่าแม่บ้าน ซึ่งพบบ่อยที่สุด
Infrapatellar bursitis เบอร์ไซติส ของถุงน้ำใต้กระดูกสะบ้า - เข่านักบวช (การอักเสบของถุงน้ำใต้กระดูกสะบ้าแบบตื้นและแบบลึก)
Tendinitis เอ็นอักเสบ[ 2]
Patellar tendinitis เอ็นกล้ามเนื้อที่กระดูกสะบ้าอักเสบ หรือเรียกว่า เข่านักกระโดด
Hamstring tendinitis เอ็นกล้ามเนื้อที่ต้นขาด้านหลังอักเสบ
Popliteal tendinitis เอ็นกล้ามเนื้อขาพับอักเสบ
Synovitis of the knee เยื่อบุข้อเข่าอักเสบ
ความผิดปกติของรูปร่างเข่าที่พบบ่อย ได้แก่:
กระดูกสะบ้าสองส่วน
Genu varum ขาโก่ง
Genu valgum ขาฉิ่ง คือเมื่อยืดขาตรง เข่าจะเฉียงมาชนกัน
Genu recurvatum เข่าแอ่น คือเข่างอกลับด้าน
Knee flexion deformity การงอเข่าผิดปกติ
Patellofemoral pain syndrome กลุ่มอาการปวดระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา[ 2]
Plica syndrome กลุ่มอาการพลิกา[ 2] เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อพลิกา (ส่วนขยายที่หลงเหลือของเยื่อหุ้มเข่า) เกิดการระคายเคือง บวม หรืออักเสบ
Iliotibial band syndrome[ 2] กลุ่มอาการแผ่นเอ็นด้านข้างต้นขา เป็นการบาดเจ็บที่เข่าที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง เกิดจากการอักเสบที่บริเวณด้านข้างของเข่า สาเหตุมาจากการเสียดสีระหว่างแผ่นเอ็นด้านข้างต้นขา (iliotibial band ) และปุ่มกระดูกด้านข้างของกระดูกต้นขา (lateral epicondyle of the femur)
Hoffa's syndrome[ 2]
Joint hypermobility syndrome เป็นโรคทางพันธุกรรมเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระเกินไป
Patella dislocation กระดูกสะบ้าเคลื่อน
ข้อเข่าเคลื่อน (Tibiofemoral joint dislocation ) เป็นการเคลื่อนของข้อต่อระหว่างกระดูกหน้าแข้งกับกระดูกต้นขา
สำหรับผู้ทำงานในที่เย็น อาการปวดเข่ามักจะสามัญกว่าของผู้อยู่ในอุณหภูมิปกติ[ 15]
อาการปวดเข่าจากความเย็นอาจเกิดเพราะการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อ (tenosynovitis) รอบ ๆ เข่า ซึ่งความเย็นอาจเป็นเหตุหรือเป็นปัจจัยเสริม[ 15]
มีเด็กที่เกิดข้ออักเสบเพราะถูกความเย็นจัดกัดซึ่งทำให้เซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte) บาดเจ็บ[ 16]
ยังมีโรคทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า familial cold autoinflammatory syndrome (กลุ่มอาการอักเสบจากภูมิคุ้มกันเพราะความเย็นแบบครอบครัว, FCAS)
ซึ่งมักมีอาการปวดเข่าร่วมกับลมพิษ ไข้ และปวดตามข้อต่าง ๆ หลังจากสัมผัสกับความเย็นทั่ว ๆ ไป[ 17]
อาการปวดเข่าจากการเคลื่อนไหวน้อยลง[ แก้ ]
การออกกำลังกายน้อยลง และการทำงานที่ต้องนั่งตลอดทั้งวันเป็นเหตุหนึ่งของการปวดข้อเข่า
เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงมักทำให้กล้ามเนื้อเข่าอ่อนแอลง
หลอดเลือดก็อาจได้รับผลกระทบด้วย แล้วก่อภาวะที่ทำให้เจ็บปวด
การออกกำลังให้ขยับแขนขาได้อย่างเต็มช่วงเต็มรูปแบบเป็นเรื่องสำคัญในการฟื้นความแข็งแรงของร่างกายแล้วกำจัดอาการปวดเข่า[ต้องการอ้างอิง ]
เมื่ออายุมากขึ้น การเคลื่อนไหวข้อเข่าอาจจะเสียดสีกับเนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนติด ๆ กันมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง ]
อาการปวดต่างที่ เป็นความเจ็บปวดในบริเวณซึ่งต่างกับจุดที่เป็นเหตุ โดยทั้งสองบริเวณได้เส้นประสาทจากปล้องเดียวกันของไขสันหลัง[ 18]
บางครั้งอาการปวดเข่าอาจเกี่ยวข้องกับส่วนอื่นของร่างกาย
ตัวอย่างเช่น อาการปวดเข่าอาจมาจากข้อเท้า เท้า ข้อสะโพก หรือกระดูกสันหลังส่วนเอว
ควรหลีกเลี่ยงการตรวจเข่าด้วยเอ็มอาร์ไอ สำหรับอาการปวดเข่าที่ไม่มีอาการหรือไร้น้ำซึมซ่านสะสม เว้นแต่การรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพเข่าจะไม่ได้ผล[ 19]
สำหรับวินิจฉัยบางอย่าง เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม การตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอยังไม่พบว่าช่วยระบุโรคได้อย่างชัดเจน[ 20]
แม้การผ่าตัดจะช่วยการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและกระดูกหัก แต่ในเรื่องความเจ็บปวดหรือการใช้งานสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเพราะเข่าเสื่อม
การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ซึ่งเป็นการผ่าตัดทางกระดูกและกล้ามเนื้อที่สามัญที่สุดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน และดังนั้นจึงไม่ได้แนะนำให้ทำในเกือบทุกกรณี[ 21] [ 22] [ 23]
อาการปวดเข่าเกิดจากการสึกหรอ เช่น โรคข้อเสื่อม หรือหมอนรองเข่าฉีก
การรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการปวดเข่ารวมถึงกายภาพบำบัด [ 24]
ยาแก้ปวดเช่นไอบิวพรอเฟน การยืดข้อ[ 25] [ 26]
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน[ 21]
ทั่วไปแล้ว การผสมผสานวิธีการรักษาหลายอย่างดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การรักษาเช่นการออกกำลังกายที่บริหารทั้งเข่าและสะโพก การใส่อุปกรณ์พยุงเท้า และการติดเทปที่สะบ้า ล้วนแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า[ 27]
หลักฐานจนถึงปี 2017 ชี้ว่า มีปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่ปวดบริเวณกระดูกสะบ้าและต้นขา (patellofemoral pain)[ 28]
ปัจจัยรวมทั้งความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความกลัวการเคลื่อนไหว และการคิดในแง่ร้ายที่สุด
ซึ่งเชื่อว่ามีสหสัมพันธ์ เชิงเส้นกับการเจ็บขึ้นและการใช้งานร่ายกายได้ลดลง[ 28]
การคิดในแง่ร้ายที่สุดนิยามว่า เป็นจินตนาการถึงผลลัพธ์ซึ่งเลวร้ายที่สุดของสิ่งที่ทำหรือเหตุการณ์[ 29]
ปัจจัยทางจิตสังคมอาจส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อคนไข้ในการทำตามคำแนะนำแพทย์เพื่อฟื้นฟูสภาพและจัดการความเจ็บปวดเข่า[ 28]
อนึ่ง งานศึกษาพบว่า อาการปวดเข่าสัมพันธ์ในเชิงลบกับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
อาการปวดเข่าที่เพิ่มขึ้น ๆ ยังสัมพันธ์กับการลดคุณภาพชีวิตที่ผู้ป่วยรายงาน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ปวดเข่าหรือมีอาการปวดคงที่ แม้แต่ในประชากรวัยกลางคนที่อายุน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบ[ 30]
ประมาณ 25% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีประสบกับอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม[ 21]
ในสหรัฐอเมริกา มีการใช้จ่ายมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 120,000 ล้านบาท ) สำหรับการผ่าตัดเข่าด้วยกล้องส่อง แม้จะรู้แล้วว่าไม่มีประสิทธิผลสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าจากการเสื่อมสภาพ[ 21]
↑ Green, Shelby (2022-11-24). "Knee Pain Location Chart" . Feel Good Life . feelgoodlife. สืบค้นเมื่อ 2022-12-17 .
↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 van der Heijden, RA; Lankhorst, NE; van Linschoten, R; Bierma-Zeinstra, SM; van Middelkoop, M (January 2015). "Exercise for treating patellofemoral pain syndrome" . The Cochrane Database of Systematic Reviews . 1 : CD010387. doi :10.1002/14651858.CD010387.pub2 . PMC 10898323 . PMID 25603546 .
↑ Hertling, Darlene; Kessler, Randolph M. (1996). Management of Common Musculoskeletal Disorders (3rd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-397-55150-7 .
↑ "Osteochondritis Dissecans" . The Lecturio Medical Concept Library . สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ WC, Shiel Jr. "Definition of Osteochondritis dissecans" . MedicineNet, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 2009-02-20 .
↑ "Synovial chondromatosis". Soft Tissue and Bone Tumours: WHO Classification of Tumours . International Agency for Research on Cancer. 2020. pp. 368–369. ISBN 978-92-832-4502-5 .
↑ "Neoplasm" . Lexico . Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-09-26.
↑ "Ankylosing Spondylitis" . The Lecturio Medical Concept Library . สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ "Reactive Arthritis" . The Lecturio Medical Concept Library . สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ "Tuberculosis (TB)" . www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-08 .
↑ "Septic Arthritis" . The Lecturio Medical Concept Library . สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ "Osteomyelitis" . The Lecturio Medical Concept Library . สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ "What Is Hemophilia?" . cdc.gov . U.S. Centers for Disease Control. 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03 .
↑ "Gout" . The Lecturio Medical Concept Library . 2020-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22 .
↑ 15.0 15.1 Pienimäki, T (May 2002). "Cold exposure and musculoskeletal disorders and diseases. A review". International Journal of Circumpolar Health . 61 (2): 173–82. doi :10.3402/ijch.v61i2.17450 . PMID 12078965 .
↑ Carrera, GF; Kozin, F; McCarty, DJ (October 1979). "Arthritis after frostbite injury in children". Arthritis and Rheumatism . 22 (10): 1082–7. doi :10.1002/art.1780221006 . PMID 486219 .
↑ การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT00887939 เรื่อง "Pathogenesis of Physical Induced Urticarial Syndromes" ที่ ClinicalTrials.gov
↑ Porth, Carol (2011). Essentials of Pathophysiology: Concepts of Altered Health States . Lippincott Williams & Wilkins. p. 853. ISBN 978-1-58255-724-3 .
↑ American Medical Society for Sports Medicine (2014-04-24), "Five Things Physicians and Patients Should Question" , Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation , American Medical Society for Sports Medicine, สืบค้นเมื่อ 2014-07-29
Dixit, S; DiFiori, JP; Burton, M; Mines, B (January 2007). "Management of patellofemoral pain syndrome". American Family Physician . 75 (2): 194–202. PMID 17263214 .
Atanda, A; Ruiz, D; Dodson, CC; Frederick, RW (February 2012). "Approach to the active patient with chronic anterior knee pain". The Physician and Sportsmedicine . 40 (1): 41–50. doi :10.3810/psm.2012.02.1950 . PMID 22508250 . S2CID 25791476 .
Pappas, E; Wong-Tom, WM (March 2012). "Prospective Predictors of Patellofemoral Pain Syndrome: A Systematic Review With Meta-analysis" . Sports Health . 4 (2): 115–20. doi :10.1177/1941738111432097 . PMC 3435911 . PMID 23016077 .
Rixe, JA; Glick, JE; Brady, J; Olympia, RP (September 2013). "A review of the management of patellofemoral pain syndrome". The Physician and Sportsmedicine . 41 (3): 19–28. doi :10.3810/psm.2013.09.2023 . PMID 24113699 . S2CID 24177847 .
Roush, MB; Sevier, TL; Wilson, JK; Jenkinson, DM; Helfst, RH; Gehlsen, GM; Basey, AL (January 2000). "Anterior knee pain: a clinical comparison of rehabilitation methods". Clinical Journal of Sport Medicine . 10 (1): 22–8. doi :10.1097/00042752-200001000-00005 . PMID 10695846 . S2CID 25418309 .
↑ Culvenor, AG; Øiestad, BE; Hart, HF; Stefanik, JJ; Guermazi, A; Crossley, KM (June 2018). "Prevalence of knee osteoarthritis features on magnetic resonance imaging in asymptomatic uninjured adults: a systematic review and meta-analysis" . British Journal of Sports Medicine . 53 (20): bjsports–2018–099257. doi :10.1136/bjsports-2018-099257 . PMC 6837253 . PMID 29886437 .
↑ 21.0 21.1 21.2 21.3
Siemieniuk, RA; Harris, IA; Agoritsas, T; Poolman, RW; Brignardello-Petersen, R; Van de Velde, S; Buchbinder, R; Englund, M; Lytvyn, L; Quinlan, C; Helsingen, L; Knutsen, G; Olsen, NR; Macdonald, H; Hailey, L; Wilson, HM; Lydiatt, A; Kristiansen, A (May 2017). "Arthroscopic surgery for degenerative knee arthritis and meniscal tears: a clinical practice guideline" . BMJ . 357 : j1982. doi :10.1136/bmj.j1982 . PMC 5426368 . PMID 28490431 .
↑
Brignardello-Petersen, Romina; Guyatt, Gordon H; Buchbinder, Rachelle; Poolman, Rudolf W; Schandelmaier, Stefan; Chang, Yaping; Sadeghirad, Behnam; Evaniew, Nathan; Vandvik, Per O (2017). "Knee arthroscopy versus conservative management in patients with degenerative knee disease: a systematic review" . BMJ Open . 7 (5): e016114. doi :10.1136/bmjopen-2017-016114 . ISSN 2044-6055 . PMC 5541494 . PMID 28495819 .
↑
Kise, Nina Jullum; Risberg, May Arna; Stensrud, Silje; Ranstam, Jonas; Engebretsen, Lars; Roos, Ewa M (2016-07-20). "Exercise therapy versus arthroscopic partial meniscectomy for degenerative meniscal tear in middle aged patients: randomised controlled trial with two year follow-up" . BMJ : i3740. doi :10.1136/bmj.i3740 . ISSN 1756-1833 . PMC 4957588 . PMID 27440192 .
↑ Lack, S; Neal, B; De Oliveira Silva, D; Barton, C (July 2018). "How to manage patellofemoral pain - Understanding the multifactorial nature and treatment options". Physical Therapy in Sport . 32 : 155–166. doi :10.1016/j.ptsp.2018.04.010 . hdl :11449/171014 . PMID 29793124 . S2CID 46921956 .
↑ "Knee Reviver, innovatief product voor gewrichtsparende behandeling bij knieartrose" . NWO . 2024-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 2024-09-22 .
↑ "Kniedistractie - UMC Utrecht" . www.umcutrecht.nl . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-18.
↑ Crossley, KM; van Middelkoop, M; Callaghan, MJ; Collins, NJ; Rathleff, MS; Barton, CJ (July 2016). "2016 Patellofemoral pain consensus statement from the 4th International Patellofemoral Pain Research Retreat, Manchester. Part 2: recommended physical interventions (exercise, taping, bracing, foot orthoses and combined interventions)" . British Journal of Sports Medicine . 50 (14): 844–52. doi :10.1136/bjsports-2016-096268 . PMC 4975825 . PMID 27247098 .
↑ 28.0 28.1 28.2 Maclachlan, LR; Collins, NJ; Matthews, ML; Hodges, PW; Vicenzino, B (May 2017). "The psychological features of patellofemoral pain: a systematic review". British Journal of Sports Medicine . 51 (9): 732–742. doi :10.1136/bjsports-2016-096705 . PMID 28320733 .
↑ "Definition of CATASTROPHIZE" . www.merriam-webster.com . สืบค้นเมื่อ 2019-03-12 .
↑ Singh, Ambrish; Campbell, Julie A.; Venn, Alison; Jones, Graeme; Blizzard, Leigh; Palmer, Andrew J.; Dwyer, Terence; Cicuttini, Flavia; Ding, Changhai; Antony, Benny (September 2021). "Association between knee symptoms, change in knee symptoms over 6-9 years, and SF-6D health state utility among middle-aged Australians" . Quality of Life Research . 30 (9): 2601–2613. doi :10.1007/s11136-021-02859-5 . PMID 33942204 . S2CID 233487528 .
การจำแนกโรค ทรัพยากรภายนอก