อาฒยา ฐิติกุล

อาฒยา ฐิติกุล
อาฒยาใน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนตัว
ฉายาจีน, จีโน่
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (21 ปี)
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
สัญชาติ ไทย
การเล่นอาชีพ
เริ่มเล่นอาชีพ2563
ทัวร์ล่าสุดเลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (เข้าร่วม พ.ศ. 2563)
แอลพีจีเอ ทัวร์ (เข้าร่วม พ.ศ. 2565)
ชนะเลิศอาชีพ16
ชนะเลิศแยกตามการแข่งขัน
LPGA Tour4
เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์4
Ladies Asian Golf Tour1
อื่น ๆ7
ผลงานที่ดีที่สุดในเอลพีจีเอเมเจอร์แชมเปียนชิป
(ชนะ: 0)
เชฟรอน แชมเปียนชิปที่ 4 ร่วม : 2023
วีเมนส์ พีจีเอ แชมเปียนชิปที่ 4 : 2022
ยูเอส วีเมนส์ โอเพนที่ 6 : 2024
วีเมนส บริติช โอเพนที่ 7 ร่วม : 2022
ดิ เอวิยอง แชมเปียนชิปที่ 5 : 2021
ผลงานและรางวัล
LPGA ทำสกอร์เฉลี่ยต่ำสุด2023
LPGA ผู้เล่นหน้าใหม่2022
Ladies European Tour
Player of the Year
2021
Ladies European Tour
Order of Merit
2021
Ladies European Tour
Rookie of the Year
2021
Thai LPGA Tour Order of Merit2020
อาฒยา ฐิติกุล

อาฒยา ฐิติกุล ชื่อเล่น จีน, จีโน่ เป็นนักกอล์ฟชาวไทย ปัจจุบันเล่นอยู่ใน แอลพีจีเอ ทัวร์ และ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ อาฒยาเป็นนักกอล์ฟที่อายุน้อยที่สุดในโลกที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ โดยเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในขณะที่เป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น และมีอายุเพียง 14 ปี 4 เดือน 19 วัน[1] นอกจากนี้ อาฒยายังคว้าเหรียญทอง ประเภททีมผสมในกีฬากอล์ฟในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 ที่ประเทศอาร์เจนตินา

อาฒยา คว้าแชมป์ในแอลพีจีเอ ทัวร์เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันเจทีบีซี คลาสสิก ที่เมืองคาร์ลสแบด รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565[2]

นับจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 อาฒยา คว้าแชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ ไปแล้ว 2 รายการ และคว้าแชมป์ในเลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ไปอีก 4 รายการ

ประวัติ

[แก้]

อาฒยา เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของคุณพ่อมนตรี และคุณแม่ศิริวรรณ ฐิติกุล อาฒยาในวัยเด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ครอบครัวจึงหาทางเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการให้หัดเล่นกีฬาสักอย่างหนึ่ง โดยคุณปู่ ณัฐพงศ์ ฐิติกุล ให้เลือกระหว่างกอล์ฟกับเทนนิส ซึ่งทั้งคู่เป็นกีฬาที่สามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต อาฒยาซึ่งเคยดูการแข่งขันเทนนิสทางโทรทัศน์บ่อย ๆ คิดกับตัวเองว่า หากเล่นเทนนิสจะต้องวิ่งไปมาตลอดเวลาคงเหนื่อยเกินไป จึงตัดสินใจเลือกกอล์ฟซึ่งเป็นกีฬาที่ดูเหนื่อยน้อยกว่าแทน เธอจึงได้หัดเล่นกอล์ฟเมื่ออายุ 6 ขวบ[1][3]

นักกอล์ฟสมัครเล่น

[แก้]
อาฒยา (คนที่ 4 จากซ้าย) ในการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018

อาฒยา เริ่มเป็นที่จับตามองของวงการกอล์ฟทั่วโลก เมื่อเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ 2017 ซึ่งเป็นรายการใน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ทำให้เธอเป็นนักกอล์ฟที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ ในวัยเพียง 14 ปี 4 เดือน 19 วัน[4]

อาฒยา ได้เหรียญทอง 2 เหรียญ จากการแข่งขันกอล์ฟ ประเภทบุคคลหญิง และทีมหญิง ในกีฬาซีเกมส์ 2017 ที่ประเทศมาเลเซีย[5] และได้เหรียญทอง จากการแข่งขันกอล์ฟประเภททีมผสมในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 ที่ประเทศอาร์เจนตินา[6][7]

อาฒยา ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพรายการที่ 2 ในขณะที่ยังเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น เมื่อเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ 2019 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นการชนะการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี โดยในขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 16 ปี[8]

นักกอล์ฟอาชีพ

[แก้]

อาฒยา เริ่มเป็นนักกอล์ฟอาชีพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เธอเริ่มแข่งขันใน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์

ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อาฒยา ชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เป็นครั้งที่ 3 เมื่อเธอชนะการแข่งขัน ทิปสปอร์ต เช็ก เลดีส์ โอเพ่น ที่ประเทศเช็กเกีย และได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรายการกอล์ฟเมเจอร์ 2 รายการ ได้แก่ เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ และ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น[9][10] อาฒยาคว้าแชมป์ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ รายการที่ 4 ของเธอ และเป็นรายการที่ 2 ของปี ในการแข่งขัน วีพี แบงค์ สวิส เลดีส์ โอเพ่น เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[11]

อาฒยา จบฤดูกาลด้วยผลงานแชมป์ 2 รายการ, รองแชมป์ 3 รายการ และอยู่ใน 10 อันดับแรก อีก 9 รายการ ทำให้เธอคว้ารางวัลคะแนนรวมสูงสุด ตลอดฤดูกาลของ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ และรางวัลรุกกี้ ออฟ เดอะ เยียร์ (รางวัลสำหรับผู้เล่นใหม่ที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุด) ทำให้เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลคะแนนรวมสูงสุด ตลอดฤดูกาลของ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์[12]

รายการที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ (16)

[แก้]

แอลพีจีเอ ทัวร์ (3)

[แก้]
ลำดับ วันที่ การแข่งขัน คะแนน พาร์ ระยะห่าง รองชนะเลิศ เงินรางวัลที่ได้รับ (USD)
1 27 มีนาคม 2565 เจทีบีซี คลาสสิก 69-70-69-64=272 −16 เพลย์ออฟ เดนมาร์ก นันนา เคิร์สต์ แมดเซ่น 225,000
2 25 กันยายน 2565 วอลมาร์ท อาร์คันซอ แชมเปี้ยนชิพ 67-61-68=196 −17 เพลย์ออฟ สหรัฐ แดเนี่ยลล์ คัง 345,000
3 30 มิถุนายน 2567 Dow Championship
(ร่วมกับ จีน Yin Ruoning)
64-66-66-62=258 −22 1 สโตรก สหรัฐ Ally Ewing และ
สหรัฐ Jennifer Kupcho
366,082
(ต่อคน)
4 24 พฤศจิกายน 2567 CME Group Tour Championship 71-67-63-65=266 −22 1 สโตรก สหรัฐ Angel Yin 4,000,000

เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (4)

[แก้]
ลำดับ วันที่ การแข่งขัน คะแนน พาร์ ระยะห่าง รองชนะเลิศ
1 9 ก.ค. 2560 เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ[1] 70-71-70-72=283 −5 2 สโตรก เม็กซิโก อานา เมเนนเดซ
2 23 ก.ค. 2562 เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ (2)[1] 69-67-63-67=266 −22 5 สโตรก เยอรมนี เอสเธอร์ เฮนเซเลท
3 27 มิ.ย. 2564 ทิปสปอร์ต เช็ก เลดีส์ โอเพ่น 68-68-65=201 −15 1 สโตรก สเปน นูเรีย อิตูร์ริออซ
4 11 ก.ย. 2564 วีพี แบงค์ สวิส เลดีส์ โอเพ่น 68-66-66=200 −16 1 สโตรก นอร์เวย์ มาเรียนเน่ สคาร์ปนอร์ด

1 อาฒยา ชนะการแข่งขันในขณะเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น

สถิติเพลย์ออฟ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (0–1)

ลำดับ ปี การแข่งขัน คู่แข่ง ผล
1 2564 อรามโก้ ทีม ซีรีส์ – ลอนดอน นอร์เวย์ มาเรียนเน่ สคาร์ปนอร์ด แพ้ให้กับเบอร์ดี้ ในการเพลย์ออฟ หลุมที่ 2

สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพสตรี (Thai LPGA Tour) (5)

[แก้]
  • 2563 (5) สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 3,[13] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 6,[14] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 7,[15] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 8,[16] เมืองไทยประกันภัย ไทยแลนด์ แอลพีจีเอ มาสเตอร์ส[17]

เลดีส์ เอเชียน ทัวร์ (1)

[แก้]
No. Date Tournament Winning score Margin of
victory
Runner-up
1 23 Dec 2023 Simone Asia Pacific Cup (individual) −14 (68-65-69=202) 7 strokes เกาหลีใต้ Lee Da-yeon

รายการอื่นๆ (2)

[แก้]

อันดับโลก

[แก้]

อันดับจากการจัดอันดับโลกกอล์ฟหญิง ในแต่ละปี

ปี อันดับโลก คะแนนเฉลี่ย อ้างอิง
2017 352 0.23 [19]
2018 245 0.42 [20]
2019 229 0.46 [21]
2020 275 0.40 [22]
2021 19 3.27 [23]
2022 3 6.37 [24]
2023 9 ^ 5.51
ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รางวัล

[แก้]
  • 2021 Race to Costa Del Sol
  • 2021 Order of Merit
  • 2021 Rookie of the Year
  • 2023 LPGA Vare Trophy

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประวัติ จีน อาฒยา ฐิติกุล นักกอล์ฟสมัครเล่น หมายเลข 1 ของโลก". Golfistathai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-07-01.
  2. "โปรจีน อาฒยา ชนะเพลย์ออฟผงาดคว้าแชมป์กอล์ฟแอลพีจีเอรายการแรกในอาชีพ". ข่าวสด. 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
  3. ""อาฒยา" จารึกชื่อกอล์ฟหญิงโลกเปิดใจเป็นสาวกผีแดง". www.siamsport.co.th. 2017-07-11.
  4. ""อาฒยา" ซิวแชมป์เลดีส์ยูโรเปียนฯ สร้างประวัติศาสตร์แชมป์อายุน้อยสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  5. "สุดยอด"โคซูเกะ-อาฒยา"หยิบทองสวิงซีเกมส์". สยามสปอร์ต. 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  6. ""จีน" อาฒยา ฐิติกุล โปรกอล์ฟพลังบวก". stadiumth.com. 2021-11-08.
  7. "'อาฒยา-วันชัย' ชนะเด็กเจ้าภาพ+มะกัน คว้าทองกอล์ฟทีมผสม ยูธโอลิมปิก". มติชน. 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  8. ""อาฒยา" เบิ้ลแชมป์เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ สมัยสอง". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  9. "'อาฒยา' ยิ้มรับสิทธิสวิงกอล์ฟเมเจอร์". dailynews. 2021-06-28.
  10. "หลุดช่วงแรก "โปรจีน" เร่งเครื่องแซงชนะ 1 สโตรก คว้าแชมป์เช็ก เลดีส์ โอเพ่น". www.thairath.co.th. 2021-06-28.
  11. "แรงไม่หยุด! 'โปรจีน' แซงคว้าแชมป์สวิสเลดีส์โอเพ่น". เดลินิวส์. 2021-09-11. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  12. ""โปรจีน" อาฒยา กวาด 3 รางวัล เลดี้ส์ ยูโรเปี้ยนทัวร์ 2021". พีพีทีวี. 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  13. ""อาฒยา" จบ 17 อันเดอร์ ซิวแชมป์ไทยแอลพีจีเอ ที่กบินทร์บุรี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  14. ""อาฒยา" ซิวแชมป์ที่สอง "สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ"สนาม 6 ที่พานอราม่า". ไทยพีบีเอส. 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  15. ""อาฒยา" ซิวแชมป์ไทยแอลพีจีเอ สนาม 7 ที่ขอนแก่น". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-10-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  16. ""อาฒยา" คว้าแชมป์ไทยแอลพีจีเอสนาม 8 พร้อมครองมือ 1 เงินรางวัลสะสม". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  17. ""อาฒยา" ซิวแชมป์ ไทยแอลพีจีเอ มาสเตอร์ส ปิดท้ายปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  18. ""อาฒยา" ซิวแชมป์ ฟีนิกซ์ เลดี้ส์ คลาสสิค ประเดิมไทยดับเบิ้ลยูพีจีเอ". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  19. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2017-12-25.
  20. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-31.
  21. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-30.
  22. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-28.
  23. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-27.
  24. "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 21 November 2022.
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๘๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]