บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ (พฤษภาคม 2024) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (จีน: 車裏[1]) คือ อาณาจักรที่เคยตั้งอยู่ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1703–พ.ศ. 2493 | |||||||||
แผนที่ในศตวรรษที่ 19 | |||||||||
เมืองหลวง | เชียงรุ่ง | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้ง | พ.ศ. 1703 | ||||||||
• ผนวกโดยประเทศจีน | พ.ศ. 2493 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | จีน |
อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง หรือ อาณาจักรเชียงรุ่ง เป็นอาณาจักรที่เคยทรงอำนาจมากในเขตประเทศจีนตอนใต้ ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเอาเมืองใกล้เคียง เช่น
มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของพม่า ล้านนา สยาม ลาว และ เวียดนาม โดยแบ่งระบบการปกครองเป็น 12 พันนา 12000 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละเมือง จะมีเมืองเล็ก ๆ หลาย ๆ เมือง มารวมกันอยู่เมืองใหญ่ หรือ พันนา พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การปกครองแบบ สหพันธรัฐ และมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองเชียงรุ่ง การแบ่งเช่นนี้ก็เพราะว่า ความสะดวกในการปกครองและการเก็บส่วยอากร เก็บเครื่องบรรณาการส่งไปยังเชียงรุ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง
ที่จริงการแบ่งเขตแบบพันนานี้ นิยมใช้ในภูมิภาคแถว ๆ นั้น ลงมาจนถึงดินแดนล้านนา อีกอาณาจักรหนึ่งที่เป็นที่รู้จักก็คือ แคว้นสิบสองจุไทย ของชาวไทดำ ในอาณาจักรล้านนานั้นก็เช่นเดียว โดยจะเห็นได้จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งกล่าวถึงเขตแดนของเมืองเชียงแสนที่สร้างขึ้น บริเวณเมืองเงินยางเดิมโดยพญาแสนภู พระราชนัดดาของ พระยามังรายมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 1871 ตอนหนึ่งว่า "ดังมักแคว้นเขตแดนเมืองเชียงแสนทั้งเมือง มี 32 พันนาแล"
หลังจากนั้น อาณาจักรนี้ก็ถูกโจมตี จนอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งล่มสลาย กลายเป็นแคว้นสิบสองปันนา
พระนาม | เริ่ม (พ.ศ.) | สิ้นสุด (พ.ศ.) | หมายเหตุ |
พญาเจือง | 1703 | 1723 | |
สามไค้เนือง | 1723 | 1744 | พระโอรสในพญาเจือง |
อ้ายพูง | 1744 | 1767 | พระโอรสในสามไค้เนือง |
ท้าวรุ่งแก่นชาย | 1768 | 1789 | พระโอรสในอ้ายพูง, พระอัยกา (ตา) ในพญามังราย[3] |
ท้าวแรงหลวง | 1789 | 1814 | พระโอรสในท้าวรุ่งแก่นชาย |
ท้าวพูวาก | 1815 | 1828 | พระโอรสในท้าวแรงหลวง |
ยี่เพียงลากซาย | 1828 | 1829 | พระอนุชาในท้าวพูวาก |
เจ้าไอ่ | 1829 | 1888 | พระโอรสในยี่เพียงลากซาย |
เจ้าคานเมือง | 1889 | 1933 | พระโอรสในเจ้าไอ่ |
ท้าวสิดาคำ | 1934 | 1956 | พระโอรสในเจ้าคานเมือง |
ท้าวกุมมาร | 1956 | 1957 | พระอนุชาในท้าวสิดาคำ |
ท้าวกือเมือง | 1957 | 1958 | พระโอรสในท้าวสิดาคำ |
ท้าวบากอง | 1958 | 1959 | พระโอรสในท้าวกือเมือง |
ท้าวสองเมือง | 1959 | 1977 | พระอนุชาในท้าวบากอง |
เสือล่วงฟ้า | 1960 | 1974 | พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในท้าวสิดาคำ, ปกครองร่วมกับท้าวสองเมือง |
ท้าวปราแสง | 1975 | 2000 | พระโอรสในเสือล่วงฟ้า |
ท้าวสามพ่อลือไท | 2001 | 2033 | พระอนุชาในท้าวสองเมือง |
สามไค้เนือง | 2033 | 2047 | พระโอรสในท้าวสามพ่อลือไท |
เจ้าคานเมือง | 2047 | 2081 | พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในสามไค้เนือง |
เจ้าศรีสมภาร | 2081 | 2104 | พระโอรสในเจ้าคานเมือง |
เจ้าอุ่นเมือง | 2104 | 2121 | พระโอรสในเจ้าศรีสมภาร |
เจ้าศรีสุนันทา | 2121 | 2122 | พระโอรสในเจ้าอุ่นเมือง |
เจ้าอิ่นเมือง | 2122 | 2126 | พระอนุชาในเจ้าศรีสุนันทา |
เจ้าหน่อเมือง | 2126 | 2171 | พระโอรสในเจ้าอิ่นเมือง |
เจ้าศรีสุธรรมา | 2171 | 2187 | พระโอรสในเจ้าหน่อเมือง |
เจ้าหม่อมคำลือ | 2188 | 2201 | พระโอรสในเจ้าศรีสุธรรมา |
เจ้าหม่อมท้าว | 2201 | 2209 | พระอนุชาในเจ้าหม่อมท้าว |
เจ้าหน่อเมือง | 2208 | 2215 | พระโอรสในเจ้าหม่อมคำลือ |
เจ้าเมืองท้าว | 2215 | 2229 | พระโอรสในเจ้าหม่อมท้าว |
เจ้าแพงเมือง | 2229 | 2269 | พระโอรสในเจ้าเมืองท้าว |
เท่าชิ่นเพา | 2269 | 2272 | พระโอรสในเจ้าแพงเมือง |
เท่าเส่าวิ้น | 2272 | 2310 | พระอนุชาในเท่าชิ่นเพา |
เท่าวุ้ยภิ้น | 2315 | 2316 | พระโอรสในเท่าเส่าวิ้น |
เท่าวุ้ยภิ้นหลบหนีไปพม่า จีนจึงตั้งข้าหลวงมาควบคุมเชียงรุ่ง (2316 - 2320) | |||
เจ้าหม่อมสุวรรณ | 2320 | 2340 | พระอนุชาในเท่าวุ้ยภิ้น |
เจ้าหม่อมมหาวงศ์ | 2340 | 2345 | พระโอรสในเจ้าหม่อมสุวรรณ |
เจ้ามหาน้อย | 2346 | 2377 | พระโอรสในเจ้าหม่อมมหาวงศ์ |
เจ้าหม่อมสุชาวรรณราชบุตร | 2377 | 2407 | พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมมหาวงศ์ |
เจ้าหม่อมส้อ | 2407 | 2419 | พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมสุชาวรรณราชบุตร |
เจ้าหม่อมคำลือ | 2421 | 2468 | พระโอรสในเจ้าหม่อมส้อ |
เจ้าหม่อมสุวรรณปราคราง | 2468 | 2486 | พระโอรสในเจ้าหม่อมคำลือ |
เจ้าหม่อมคำลือ | 2487 | 2493 | พระภาติยะ (ลูกของน้องชาย) ในเจ้าหม่อมสุวรรณปราคราง |
ยกเลิกตำแหน่งเจ้าฟ้า (2493) |