ชื่อเต็ม | สโมสรวอลเลย์บอลอิกติซาดชิ บากู | ||
---|---|---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 2008 | ||
สนาม | สปอร์ตเกมส์พาเลซบากู (ความจุ: 1,000 ที่นั่ง) | ||
ประธาน | แชมซาดดิน ฮาจิเยฟ | ||
ผู้จัดการ | อาราซ อิสมาอิลอฟ | ||
ลีก | อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก | ||
เครื่องแบบ | |||
|
อิกติซาดชิ บากู (อาเซอร์ไบจาน: İqtisadçı (Bakı); อังกฤษ: Igtisadchi Baku) เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงในประเทศอาเซอร์ไบจาน[1][2] และเคยมีสมาชิกทีมเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมากถึง 7 คน ซึ่งได้แก่ วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์, ปลื้มจิตร์ ถินขาว, นุศรา ต้อมคำ, อำพร หญ้าผา, อรอุมา สิทธิรักษ์, มลิกา กันทอง และวรรณา บัวแก้ว[3] ที่ได้มีส่วนช่วยให้ทีมได้อันดับสองในการแข่งวอลเลย์บอลหญิงอาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก ฤดูกาล 2012-2013 [4][5]
อิกติซาดชิ บากู ได้รับการก่อตั้งขึ้นในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2008 และทันทีที่ได้รับสิทธิในการมีส่วนร่วมในอาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก ก็ได้ผ่านการคัดเลือกหลังจากนั้นเพียงหนึ่งฤดูกาลสู่การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชาลเลนจ์คัพ[ต้องการอ้างอิง] ส่วนในฤดูกาลถัดมาอิกติซาดชิ บากู เป็นฝ่ายถูกคัดออกในรอบที่สองของตารางจากการแข่งขันของยุโรป เนื่องด้วยการจัดวางผู้เล่นไม่เหมาะสมในการคัดเลือกของการแข่งชาลเลนจ์คัพ[ต้องการอ้างอิง]
ในฤดูกาล 2009-2010 สโมสรประสบความสำเร็จเป็นอันดับสามของการแข่งขันชิงแชมป์ โดยการเป็นฝ่ายเอาชนะทีมอาเซอร์เรล บากู และผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฤดูกาลที่สามติดต่อกันในชาลเลนจ์คัพ[ต้องการอ้างอิง]
ในฤดูกาล 2012-2013 สโมสรได้เข้าร่วมรายการซีอีวีวอลเลย์บอลคัพหญิง ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ในรอบชิงชนะเลิศที่ 8 ของการแข่งขัน[6] วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2012 นักวอลเลย์บอลหญิงทั้ง 7 ของไทย ซึ่งได้แก่วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์, ปลื้มจิตร์ ถินขาว, นุศรา ต้อมคำ, อำพร หญ้าผา, อรอุมา สิทธิรักษ์, มลิกา กันทอง และวรรณา บัวแก้ว ได้มีส่วนช่วยให้ทีมอิกติซาดชิ บากู เป็นฝ่ายชนะทีมสไลเดรซสปอร์ต 3-0 เซต ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[7][8][9] และในวันที่ 14 พฤศจิกายน พวกเธอได้มีส่วนช่วยให้ทีมอิกติซาดชิ บากู เป็นฝ่ายชนะทีมโอมิชกาโอเอ็มเอสเครีเจียน ที่ 3-1 เซต ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย[10] จากนั้น ในวันที่ 24 ธันวาคม พวกเธอได้เข้าแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงอาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก ฤดูกาล 2012-2013 โดยเป็นฝ่ายชนะโลโคโมทีฟ บาลาจารี ที่ 3-0 เซต[11] และในวันที่ 29 ธันวาคม พวกเธอได้มีส่วนช่วยให้ทีมขึ้นนำเป็นที่หนึ่งของกลุ่มในรอบแรก จากการแข่งขันใน 6 แมตช์ โดยเป็นฝ่ายชนะ 5 ครั้ง แพ้ 1 ครั้ง[12]
เดือนมกราคม ค.ศ. 2013 เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ทีมดังกล่าวอยู่ช่วงระยะหนึ่ง[13][14][15] อย่างไรก็ตาม เขาทำผลงานในช่วงดังกล่าวได้ไม่ดีเท่าใดนัก[16][17][18]
ถึงกระนั้น ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2013 ของการแข่งขันอาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก ทีมอิกติซาดชิ บากู ได้เป็นฝ่ายชนะทีมโลโคโมทีฟ บากู 3-1 เซต ซึ่งเป็นการจบฤดูกาลด้วยอันดับ 2 และได้เข้าแข่งซีอีวีวอลเลย์บอลคัพหญิงในฤดูกาลถัดไป[19][20]
หมายเลข | ผู้เล่น | ตำแหน่ง | ส่วนสูง (ม.) | วันเดือนปีเกิด | ตบ | บล็อก |
1 | วรรณา บัวแก้ว | ตัวรับอิสระ | 1.72 | 02/01/1981 | 292 | 277 |
2 | เล็นคา เดือร์ | ตัวรับอิสระ | 1.71 | 10/12/1990 | 290 | 282 |
3 | ลูเลิร์น เพาลินี | ตัวบล็อกกลาง | 1.93 | 22/08/1987 | 318 | 300 |
5 | ปลื้มจิตร์ ถินขาว | ตัวบล็อกกลาง | 1.80 | 09/11/1983 | 298 | 281 |
6 | อรอุมา สิทธิรักษ์ | ตัวตีด้านนอก | 1.75 | 13/06/1986 | 304 | 285 |
8 | เว่ย ชิวเยว่ | ตัวเซ็ต | 1.82 | 26/09/1988 | 305 | 300 |
9 | ไดย์มี รามีเรซ | ตัวตีด้านนอก | 1.76 | 08/10/1983 | 322 | 300 |
10 | วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ | ตัวตีด้านนอก | 1.74 | 06/06/1984 | 294 | 282 |
11 | คิม วิลละบี | ตัวตีด้านนอก | 1.80 | 07/11/1980 | 315 | 300 |
12 | มาโนน เฟลียร์ | ตัวบุกแดนหลัง | 1.92 | 08/02/1984 | 311 | 301 |
15 | หม่า ยุ่นเหวิน | ตัวบล็อกกลาง | 1.90 | 19/10/1986 | 315 | 307 |
17 | จาง เหล่ย | ตัวบุกแดนหลัง | 1.81 | 11/01/1985 | 316 | 310 |
18 | วาเลนตีนา เซเรนา | ตัวเซ็ต | 1.84 | 10/11/1981 | 295 | 280 |
สมัย | ชื่อ |
---|---|
ค.ศ. 2012–2013 | บือแลนท์ คาซิโลลู |
ค.ศ. 2012-2013 (2 วาระ) | เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร |
ค.ศ. 2013–2014 | บือแลนท์ คาซิโลลู |