อิลยา แกร็ด

อิลยา แกร็ด
เกิด (1987-06-22) 22 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (37 ปี)
สัญชาติ อิสราเอล

อิลยา แกร็ด (อังกฤษ: Ilya Grad) เป็นแชมป์มวยไทยชาวอิสราเอล สถิติปัจจุบันของเขาอยู่ที่ ชนะ 29 ครั้ง ชนะน็อค 14 ครั้ง แพ้ 9 ครั้ง และไม่เคยเสมอ[1] เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในแปดนักมวยไทยสมัครเล่นที่ดีที่สุดในโลก[2] แกร็ดได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในฐานะนักมวยอิสราเอลที่เข้าประเทศมาเลเซียโดยใช้พาสปอร์ตอิสราเอลของเขา[1]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

แกร็ดมีคุณสมบัติของผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านศิลปะการต่อสู้เป็นอย่างมาก มีการอ้างว่ากีฬานี้ได้นำเขาหันเหจากเส้นทางการต่อสู้ที่บาร์ในกรุงเยรูซาเล็ม แกร็ดเข้าสู่วงการต่อสู้โดยใช้ชื่อ "อคิลลีส" เนื่องด้วยความชื่นชอบของเขาที่มีต่อเทพนิยายกรีก[3]

การถกเถียง

[แก้]

ช่วง ค.ศ. 2009 ในการแข่งขันมวยไทยในเอเชี่ยนมาร์เชี่ยลอาร์ทเกมส์ที่กรุงเทพฯ แกร็ดได้พบกับเพื่อนที่เป็นนักมวยไทยและกัปตันทีมมวยไทยของอิหร่าน มุสตาฟา อับดุลลาฮี แม้จะมีวาทกรรมทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองต่างก็กลายมาเป็นเพื่อนกันอย่างรวดเร็ว และเริ่มฝึกฝนด้วยกัน ตลอดจนทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงประจำมุมสำหรับรายการอื่นๆ เว็บไซต์ของสมาพันธ์มวยไทยยังได้เผยแพร่เรื่องดังกล่าว แต่ก็ได้ลบออกภายหลังจากการประท้วงของอิหร่าน[2]

ใน ค.ศ. 2011 แกร็ดกลายเป็นนักมวยชาวอิสราเอลคนแรกที่เข้าสู่ประเทศมาเลเซียอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายหลังจากการได้รับเชิญเข้าร่วมรายการเรียลลิตีของเอเอ็กซ์เอ็นเอเชียในชุด "เดอะชาเลนเจอร์มวยไทย" ที่นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของนักมวยไทยจากนานาประเทศ มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ได้ทำการห้ามชาวอิสราเอลเข้าประเทศอย่างเป็นทางการ เมื่อเขามาถึงที่สนามบินกัวลาลัมเปอร์ แกร็ดได้ถูกกักตัวเป็นระยะเวลา 25 ชั่วโมง แต่ในท้ายที่สุดก็ได้รับอนุญาตเข้าประเทศจากการแทรกแซงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬามาเลเซีย[1] ในระหว่างการแข่งขันครั้งแรกของเขา ทางโปรดิวเซอร์ได้ร้องขอให้เขาถือธงรัสเซียซึ่งเป็นถิ่นที่เขาเกิด แต่เขาไม่ยินยอมและเขาบอกว่าต้องการที่จะกลับบ้านหากต้องการเช่นนั้น ทางโปรดิวเซอร์จึงอนุญาตให้เขาใช้ธงชาติอิสราเอล เมื่อเขาเข้าสู่สังเวียน ผู้ชมในท้องถิ่นได้โห่ใส่เขา แกร็ดได้พบกับนักสู้ชาวฝรั่งเศสซึ่งมีนามว่าอันทวน เซ้งบ๊อกซิ่ง แต่แล้วเขาก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน โดยกรรมการชาวมาเลเซียสองคนได้โหวตให้ฝ่ายตรงข้าม ส่วนกรรมการชาวไทยทำการโหวตให้แก่เขาเนื่องด้วยเห็นชอบ ซึ่งแกร็ดเชื่อว่าเขาควรเป็นผู้ชนะจากการสู้ครั้งนี้เช่นเดียวกับพี่เลี้ยงของเขา และเชื่อว่าเกมการเมืองมีผลต่อการตัดสินในครั้งนี้[1]

ผมฟันศอกใส่เขาที่เข้าหาและเฉือนคิ้วของเขาได้ เมื่อผมเห็นเลือดไหลบนใบหน้าของเขา ผมก็ได้รุกไปข้างหน้า และในช่วงการกอดคอผมได้ใช้ศอกชุดใหญ่ และเห็นการบวมปูดขึ้นที่หน้าผากของเขาอย่างช้าๆ แต่ละยกทั้งหมดล้วนมาจากฝีมือของผมและผมสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้สร้างผลงานไว้ สำหรับส่วนที่เหลือของการต่อสู้ผมบอกได้เลยว่าผมเป็นผู้อยู่กลางสังเวียนและอันทวนเป็นฝ่ายพิงเชือกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผมเป็นฝ่ายเตะเข้ากลางลำตัวอยู่บ่อยครั้ง เมื่อการต่อสู้ยุติลง ซึ่งดูเหมือนไม่เป็นเรื่องง่าย ผมไม่ได้มีอาการบาดเจ็บทางกาย ไม่เคยสูญเสียเรี่ยวแรง และไม่เคยเป็นฝ่ายพิงเชือกเพื่อตั้งรับ ผมรู้สึกเป็นฝ่ายคุมเกมตลอดการแข่งขันด้วยซ้ำ[4]

หลังจากการต่อสู้ แกร็ดได้เดินเข้าหาบรรดาผู้เข้าชมซึ่งได้ขอโทษที่ทำการเยาะเย้ยเขา และกล่าวถึงแกร็ดโดยพวกเขาคิดว่าแกร็ดน่าจะเป็นฝ่ายชนะจากการแข่งขัน[1]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • แชมป์อิสราเอล ค.ศ. 2006/2007/2008/2009 [5]
  • บอลติคแชมเปี้ยน 2007 [5]
  • ผู้ชนะอันดับ 3 รายการชิงแชมป์โลกของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ[5]
  • แชมป์เอเชีย ค.ศ. 2010 ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ[5]
  • รองชนะเลิศไอ-วัน แกรนด์สแลม 2011
  • แชมป์นานาชาติมวยไทยชิงแชมป์โลก 2012
  • ผู้เข้ารอบรองชนะเลิศ รายการชิงถ้วยพระราชทาน 2012
  • ผู้เข้ารอบรองชนะเลิศ โตโยต้าคัพ 2012

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Itamar Eichner (October 26, 2011). "Israeli boxer a reality star in Malaysia". Ynet News.
  2. 2.0 2.1 Itamar Eichner (October 12, 2010). "Thai Boxing fosters Iran-Israel Friendship". Ynet News.
  3. "Lite - Malaysia - Israeli kickboxer a hit in pro-Palestine Malaysia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-31. สืบค้นเมื่อ 2012-12-23.
  4. "Muay Thai Authority". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ 2012-12-23.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Muay Thai Challenge Fighters, Ilya Grad". FBT Sports Online.[ลิงก์เสีย]