บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อิ้นที | |||||
---|---|---|---|---|---|
ซฺหวินจวิ้นหวัง | |||||
ดำรงพระยศ | ค.ศ. 1748-1756 | ||||
ประสูติ | 16 มกราคม ค.ศ. 1688 | ||||
สิ้นพระชนม์ | 13 มกราคม ค.ศ. 1756 (ชันษา 67 ปี 362 วัน) | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ชิง | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิคังซี | ||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน |
ซฺหวินจวิ้นหวัง พระนามเดิมอิ้นที (胤禵) (16 มกราคม ค.ศ. 1688 – 13 มกราคม ค.ศ. 1756) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ของจักรพรรดิคังซีที่ประสูติจากจักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน อีกทั้งเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดากับจักรพรรดิยงเจิ้ง เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ได้ทรงให้พระเชษฐาและพระอนุชาเปลี่ยนพระนาม เจ้าชายอิ้นถีจึงเปลี่ยนพระนามเป็นยฺหวิ่นที (允禵)
อิ้นถีเมื่อแรกประสูติมีพระนามว่าอิ้นเจิ้ง (胤祯) เนื่องจากออกเสียงใกล้เคียงกับพระเชษฐาอิ้นเจิน จึงได้เปลี่ยนพระนามเป็นอิ้นที (胤禵) และเมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งได้ครองราชย์ก็ทรงต้องเปลี่ยนพระนามเป็นยฺหวิ่นที (允禵) ถึงแม้พระองค์จะมีพระราชมารดาเดียวกับจักรพรรดิยงเจิ้ง แต่ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ค่อยถูกกันนัก อีกทั้งอิ้นถียังอยู่ฝ่ายเดียวกับเจ้าชาย อิ้นซื่อ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจักรพรรดิยงเจิ้ง ทำให้พี่น้องคู่นี้มีเรื่องให้บาดหมางกันอยู่เสมอ
ในปี ค.ศ. 1718 หลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิชิงในสงครามที่ทิเบต อิ้นทีได้รับแต่งตั้งจากจักรพรรดิคังซีเป็นแม่ทัพนำกำลังทหาร 300,000 คน เข้าสู่ทิเบต ทรงประสบความสำเร็จในการทำสงครามเป็นอย่างมาก จึงเกิดกระแสที่ว่าจักรพรรดิคังซีจะทรงแต่งตั้งอิ้นถีเป็นรัชทายาท แต่ในปี ค.ศ. 1722 จักรพรรดิคังซีสวรรคต ได้ทรงเขียนพระราชพินัยกรรมแต่งตั้งเจ้าชายสี่อิ้นเจินเป็นรัชทายาท เมื่ออิ้นทีได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระราชบิดา ก็ได้รีบเดินทางกลับปักกิ่ง อิ้นทีเมื่อถึงปักกิ่งได้แสดงอาการขัดขืนต่อจักรพรรดิยงเจิ้งและองค์จักรพรรดิเองก็ทรงไม่วางใจต่ออิ้นที จึงมีรับสั่งให้กักตัวอิ้นถีไว้แต่ในวัง พร้อมทั้งปลดจากตำแหน่งแม่ทัพและตำแหน่งอ๋องด้วย จนจักรพรรดิยงเจิ้งสวรรคตในปี ค.ศ. 1735 จักรพรรดิเฉียนหลงได้มีรับสั่งปล่อยตัวอิ้นทีพร้อมคืนตำแหน่งอ๋อง อิ้นทีก็ทรงอยู่ในตำแหน่งซฺหวินจวิ้นหวังจนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1756