อีเจี้ย

อีเจี้ย (อี จี๋)
伊籍
ขุนพลวรรณกรรมรุ่งโรจน์
(昭文將軍 เจาเหวินเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 221 (221) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน
เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยมหาดเล็ก
(從事中郎 ฉงชื่อจงหลาง)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. 221 (221)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้ /
เล่าปี่ (ตั้งแต่ ค.ศ. 219)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอจฺวี้เย่ มณฑลชานตง
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพนักการทูต, ขุนนาง, นักเขียน
ชื่อรองจีปั๋ว (機伯)

อีเจี้ย (จีน: 伊籍) ชื่อรองว่า จีปั๋ว เป็นนักการฑูต ขุนนาง และนักเขียนชาวจีนที่รับใช้รัฐ จ๊กก๊ก ใน สมัยสามก๊ก ของจีน ก่อนหน้านี้เขารับใช้ภายใต้ขุนศึก เล่าเปียว ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ก่อนที่จะมารับใช้ เล่าปี่ จักรพรรดิผู้ก่อตั้ง จ๊กก๊ก อีเจี้ย เป็นที่รู้จักในฐานะนักโต้วาทีที่ยอดเยี่ยมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ เล่าปี่ ผ่านวรรณกรรมและบทความ อีเจี้ย ยังช่วยเขียน ฉู่ เก๋อ (蜀科) ประมวลกฎหมายของจ๊กก๊กพร้อมด้วย จูกัดเหลียง, หวดเจ้ง, ลิเงียม และ เล่าป๋า

อีเจี้ยเกิดที่เมืองซันหยงมีความสามารถในการปุจฉาวิสัชนาและมีความช่ำชองในกฎหมายเคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว มีบทบาทในการมาบอก เล่าปี่ ในงานพืชมงคลให้ระวังตัวเรื่อง ชัวมอ ขุนนางและน้องเมียของเล่าเปียววางแผนลอบสังหารเล่าปี่จนเล่าปี่สามารถหนีรอดกลับไปยัง ซินเอี๋ย อันเป็นเมืองที่มั่นของเล่าปี่จนกระทั่งเล่าเปียวถึงแก่กรรมและ เล่าจ๋อง บุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วใน ค.ศ. 208 อีเจี้ยจึงได้มารับใช้เล่าปี่

และกลับมามีบทบาทอีกครั้งใน ค.ศ. 215 เมื่อเล่าปี่และ จูกัดเหลียง ได้ส่งอีเจี้ยเป็นทูตไปยัง ง่อก๊ก เพื่อเจรจากับ ซุนกวน ในการไปโจมตีเมืองหับป๋าของ โจโฉ โดยก่อนการเจรจาซุนกวนซึ่งทราบถึงกิตติศัพท์ในการปุจฉาวิสัชนาของอีเจี้ยจึงได้จัดการโต้วาทีกับอีเจี้ยและหลังจากนั้นอีเจี้ยก็ไม่มีบทบาทอีกเลย

ดูเพิ่ม

[แก้]