ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /əˈlɛktɪnɪb/ ə-lek-ti-nib |
ชื่อทางการค้า | Alecensa |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a616007 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | รับประทาน (แคปซูล) |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 37% (ภายใต้สภาวะให้อาหาร) |
การจับกับโปรตีน | >99% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ส่วนใหญ่โดย CYP3A4 |
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา | M4 (สารออกฤทธิ์) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 33 ชั่วโมง (อเล็กทีนิบ), 31 ชั่วโมง (M4) |
การขับออก | อุจจาระ (98%)[1] |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ECHA InfoCard | 100.256.083 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C30H34N4O2 |
มวลต่อโมล | 482.628 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
อเล็กทีนิบ[2] (INN: Alectinib[3] และชื่อทางการค้า Alecensa) เป็นยารับประทานที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์อะนาพลาสติกลิมโฟมาไคเนส (anaplastic lymphoma kinase, ALK)[4][5] และใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer, NSCLC) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทชูไก ฟาร์มาซูติคอล (Chugai Pharmaceutical) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทฮอฟฟ์แมน-ลา โรช
อเล็กทีนิบ ได้รับการอนุมัติในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557[6] สำหรับการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (NSCLC) ซึ่งตรวจพบยีนลูกผสม ALK, ไม่สามารถผ่าตัดได้, ระยะลุกลาม หรือกลับเป็นซ้ำ[5]
ยาได้รับการอนุมัติเร่งด่วนจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิด NSCLC ที่ตรวจพบ ALK-positive ซึ่งมีอาการรุนแรง โดยโรคแย่ลงภายหลังรักษาด้วยยาไครโซทีนิบ (Crizotinib, Xalkori) หรือผู้ที่ไม่สามารถทนต่อการรักษาดังกล่าว[4] (สิ่งนี้ถูกแปลงเป็นการอนุมัติเต็มรูปแบบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560)[7]
ได้รับการอนุมัติแบบมีเงื่อนไขจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สำหรับข้อบ่งชี้เดียวกัน ซึ่งหมายความว่ากำลังรอการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันอัตราส่วนผลประโยชน์-ความเสี่ยง ในเชิงบวก[8]
การอนุมัติมีพื้นฐานมาจากการทดลองสองฉบับ: ในการทดลองระยะที่ I–II ของประเทศญี่ปุ่น หลังจากผ่านไปประมาณ 2 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 19.6 มีผลการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ โดยอัตราการรอดชีวิตที่มะเร็งไม่มีการลุกลามสองปีอยู่ที่ร้อยละ 76[5] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 การศึกษา J-ALEX ระยะที่ 3 ที่เปรียบเทียบอเล็กทีนิบ กับไครโซทีนิบ ถูกยกเลิกก่อนกำหนด เนื่องจากการวิเคราะห์ระหว่างกาลแสดงให้เห็นว่าผู้ได้รับอเล็กทีนิบมีการรอดชีวิตที่ปราศจากการลุกลามยาวนานกว่า[9]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติอเล็กทีนิบเป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กซึ่งมี ALK-positive ในระยะแพร่กระจาย[7] โดยอิงจากผลของการทดลอง ALEX ระยะที่ 3 เปรียบเทียบกับยาไครโซทีนิบ[7]
ไม่มีข้อห้ามใช้ภายใต้การอนุมัติของสหรัฐ[10] สำหรับข้อห้ามใช้ในการอนุมัติของยุโรปมีเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะภูมิไวเกิน[11]
นอกเหนือจากผลกระทบต่อทางเดินอาหารที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการท้องผูก (ในผู้ป่วยร้อยละ 34) และคลื่นไส้ (ร้อยละ 22) ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในการทดลองได้แก่ อาการบวมน้ำ (ร้อยละ 34) ปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 31) ภาวะโลหิตจาง (ตรวจวัดมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ) ความผิดปกติของการมองเห็น อาการไวแสง และผื่น (ทั้งหมดต่ำกว่าร้อยละ 20)[12] ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงเกิดขึ้นผู้ป่วยร้อยละ 19 โดยเสียชีวิตร้อยละ 2.8[10]
อเล็กทีนิบมีศักยภาพในการเกิดปฏิกริยาต่ำ ในขณะที่มันถูกเผาผลาญโดยเอนไซม์ตับ CYP3A4 ผลที่ตามมาตัวยับยั้งของเอนไซม์จะมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นในร่างกาย พวกมันจะลดความเข้มข้นของสารเมแทบอไลต์ M4 ในรูปออกฤทธิ์ ส่งผลให้มีประสิทธิผลโดยรวมเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน ตัวกระตุ้น CYP3A4 จะลดความเข้มข้นของอเล็กทีนิบ และเพิ่มความเข้มข้นของ M4 ปฏิกริยาผ่านเอนไซม์ CYP อื่นและโปรตีนขนส่งไม่สามารถแยกออกได้ แต่ไม่น่าจะมีความสำคัญทางคลินิก[11][12]
สารนี้สกัดกั้นตัวรับเอนไซม์ไทโรซีนไคเนสอย่างมีศักยภาพและเจาะจงสองตัวได้แก่ อะนาพลาสติกลิมโฟมาไคเนส (ALK) และโปรโต-ออนโคยีน RET สารออกฤทธิ์ M4 มีฤทธิ์คล้ายต่อต้านกับ ALK ซึ่งการยับยั้ง ALK จะตามด้วยการขัดขวางเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์ รวมถึงเส้นทาง STAT3 และ PI3K/AKT/mTOR และทำให้เกิดการตายของเซลล์เนื้องอก (apoptosis)[11][12]
มีอัตราการดูดซึมยาได้อย่างสมบูรณ์เมื่อรับประทานพร้อมอาหารที่ร้อยละ 37 ความเข้มข้นในพลาสมาจะสูงสุดหลังจากผ่านไปสี่ถึงหกชั่วโมง และเข้าสู่สภาวะคงตัวภายในเจ็ดวัน การจับโปรตีนในพลาสมาของอเล็กทีนิบและ M4 มีค่ามากกว่าร้อยละ 99 เอนไซม์ที่มีหน้าที่หลักในการเผาผลาญอเล็กทีนิบคือ CYP3A4 ส่วนเอนไซม์ CYP อื่น ๆ และแอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส (aldehyde dehydrogenases) มีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อเล็กทีนิบ และ M4 คิดเป็นร้อยละ 76 ของสารในระบบไหลเวียน ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นสารเมแทโบไลต์รอง[12][13]
ครึ่งชีวิตในพลาสมาของอเล็กทีนิบคือ 32.5 ชั่วโมง และของ M4 คือ 30.7 ชั่วโมง ถูกขับออกทางอุจจาระร้อยละ 98 โดยร้อยละ 84 เป็นอเล็กทีนิบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 6 เป็น M4 ส่วนการขับออกทางปัสสาวะพบน้อยกว่าร้อยละ 1[12][13]
อเล็กทีนิบมีค่า pKa เท่ากับ 7.05 การใช้งานอยู่ในรูปของไฮโดรคลอไรด์ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาวถึงขาวเหลือง[10]